นายสาธิต ปิตุเตชะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวที่พรรคฯ เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 50 ว่า จากการที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ติดตามปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลภาวะเป็นพิษในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งแม้ว่าขณะนี้รัฐบาลโดยการดำเนินการของ นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรองนายกรัฐมนตรี มีมติให้เข้าไปดำเนินการกับปัญหานี้ แต่ทางพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายสาธิต เห็นว่า แม้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องขับเคลื่อนแต่ที่สำคัญไปกว่านั้นคือปัญหามลภาวะของประชาชนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ในจังหวัดระยองและชลบุรี ก็จะต้องดำเนินการแก้ไขควบคู่กันโดยรัฐควรแสดงความจริงใจ และรอบคอบในการควบคุมมลพิษอย่างเคร่งครัด และปฏิบัติกับผู้ประกอบการอย่างเข้มงวดตามกรอบของกฎหมาย
นายสาธิตกล่าวว่า นโยบายที่รัฐได้ดำเนินการไปแล้วมี 2 มาตรการ ประกอบด้วยการจูงใจภาคเอกชนในการลดภาษีให้กับผู้ประกอบการที่ควบคุมสารที่เกิดจากการผลิตที่จะออกมาสู่บรรยากาศให้น้อยลงตามกฎหมายกำหนด มาตรการที่ 2 คือการจัดสรรเงินกองทุน “โครงการระยองแข็งแรง” โดยมอบให้จังหวัดไปบริหารจัดการ เป็นจำนวนเงินเพียง 40 ล้านบาท ขณะนี้ได้ถูกนำไปใช้แล้ว แต่ไม่ทราบว่าถูกประเภทหรือไม่
นายสาธิตกล่าวต่อไปว่า แม้รัฐจะมีมาตรการออกมาแล้ว แต่ยังถือว่าไม่สมบูรณ์ที่สุดในระยะยาว และที่สำคัญข้อเรียกของประชาชนยังไม่ได้ถูกตอบสนอง กล่าวคือ ข้อเรียกร้องที่ให้รัฐบาลประกาศให้เขตอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นเขตควบคุมมลพิษ
“การประกาศให้เขตอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นเขตควบคุมมลพิษ จะทำให้เกิดประโยชน์ทุกฝ่าย อันจะทำให้เราได้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงงานชนิดใด ปล่อยสารอะไร ปล่อยมากแค่ไหน และเป็นสาเหตุที่ทำให้คนในพื้นที่เป็นมะเร็งจริงหรือไม่ เป็นโรคทางเดินหายใจจริงหรือไม่ เป็นโรคผิวหนังจริงหรือไม่ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้มีการดำเนินการในข้อเรียกร้องของภาคประชาชน” นายสาธิตกล่าว
ส่วนข้อเรียกร้องที่ 2 ของภาคประชาชนคือ ให้รัฐบาลยุติการขยายโรงงานในโครงการใหม่ ๆ ทั้งหมดไว้ก่อนและให้ศึกษาว่าโรงงานเดิมมีการปล่อยสารพิษประเภทไหนออกมาอย่างไร และให้กรมควบคุมมลพิษเข้าไปดำเนินการ นายสาธิตเปิดเผยว่า ข้อเรียกร้องนี้ก็ยังไม่ถูกปฏิบัติเช่นกัน แต่เข้าใจได้ว่าการยุติการขยายการลงทุนจะมีผลกระทบในภาพรวมของเศรษฐกิจ อันเป็นข้อจำกัดของรัฐบาลประการหนึ่ง
ดังนั้นรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ จึงขอเสนอแนะทางออกให้กับรัฐบาลว่า แทนที่จะให้เงินกองทุนระยะสั้น นอกจากไม่ช่วยแก้ปัญหา แต่กลับจะไปสร้างปัญหาแล้ว ควรหาทางออกกฎหมายให้ชัดเจนว่ารัฐจะจัดเก็บภาษีตามชนิดและประเภทของโรงงานที่ปล่อยสารพิษ หรือสร้างมลภาวะชนิดใด ที่ไปสร้างความเจ็บป่วยให้กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำไปตั้งเป็นกองทุนสำหรับช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือเตรียมแผนบรรเทาสาธารณภัย และให้ผู้บริหารเงินกองทุนนี้ควรมาจากภาคประชาชนในสัดส่วน 1 ใน 3 พร้อมทั้งเสนอให้รัฐออกข้อบังคับเพื่อควบคุมโรงงานให้ดำเนินการด้านการควบคุมสารพิษเสียก่อนที่จะอนุญาตให้เปิดประกอบกิจการ เพราะหากเป็นอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันปัญหาต่าง ๆ ทีเกิดขึ้นก็จะซ้ำรอยเดิม
ในขณะที่ปัญหาดังกล่าวกำลังพยายามแก้ไขอยู่นั้นนายสาธิต กล่าวว่า ขณะนี้มีบริษัท IRPC ประกาศลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าซึ่งอยู่ในพื้นที่ของ IRPC เป็นเหตุให้กระแสชาวบ้านลุกฮือขึ้นต่อต้านทันที เพราะโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จะสร้างใหม่นี้อยู่ห่างจาก อ.เมือง ระยอง เพียง 1 กม. ดังนั้น ตนจึงอยากเรียกร้องให้ผู้บริหาร IRPC ซึ่งก็คือบริษัท ปตท. และรัฐบาลยุติโครงการนี้โดยทันที ก่อนที่จะเกิดวิกฤตปัญหาให้รัฐบาลแก้ไขเพิ่มอีก
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 พ.ค. 2550--จบ--
นายสาธิตกล่าวว่า นโยบายที่รัฐได้ดำเนินการไปแล้วมี 2 มาตรการ ประกอบด้วยการจูงใจภาคเอกชนในการลดภาษีให้กับผู้ประกอบการที่ควบคุมสารที่เกิดจากการผลิตที่จะออกมาสู่บรรยากาศให้น้อยลงตามกฎหมายกำหนด มาตรการที่ 2 คือการจัดสรรเงินกองทุน “โครงการระยองแข็งแรง” โดยมอบให้จังหวัดไปบริหารจัดการ เป็นจำนวนเงินเพียง 40 ล้านบาท ขณะนี้ได้ถูกนำไปใช้แล้ว แต่ไม่ทราบว่าถูกประเภทหรือไม่
นายสาธิตกล่าวต่อไปว่า แม้รัฐจะมีมาตรการออกมาแล้ว แต่ยังถือว่าไม่สมบูรณ์ที่สุดในระยะยาว และที่สำคัญข้อเรียกของประชาชนยังไม่ได้ถูกตอบสนอง กล่าวคือ ข้อเรียกร้องที่ให้รัฐบาลประกาศให้เขตอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นเขตควบคุมมลพิษ
“การประกาศให้เขตอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นเขตควบคุมมลพิษ จะทำให้เกิดประโยชน์ทุกฝ่าย อันจะทำให้เราได้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงงานชนิดใด ปล่อยสารอะไร ปล่อยมากแค่ไหน และเป็นสาเหตุที่ทำให้คนในพื้นที่เป็นมะเร็งจริงหรือไม่ เป็นโรคทางเดินหายใจจริงหรือไม่ เป็นโรคผิวหนังจริงหรือไม่ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้มีการดำเนินการในข้อเรียกร้องของภาคประชาชน” นายสาธิตกล่าว
ส่วนข้อเรียกร้องที่ 2 ของภาคประชาชนคือ ให้รัฐบาลยุติการขยายโรงงานในโครงการใหม่ ๆ ทั้งหมดไว้ก่อนและให้ศึกษาว่าโรงงานเดิมมีการปล่อยสารพิษประเภทไหนออกมาอย่างไร และให้กรมควบคุมมลพิษเข้าไปดำเนินการ นายสาธิตเปิดเผยว่า ข้อเรียกร้องนี้ก็ยังไม่ถูกปฏิบัติเช่นกัน แต่เข้าใจได้ว่าการยุติการขยายการลงทุนจะมีผลกระทบในภาพรวมของเศรษฐกิจ อันเป็นข้อจำกัดของรัฐบาลประการหนึ่ง
ดังนั้นรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ จึงขอเสนอแนะทางออกให้กับรัฐบาลว่า แทนที่จะให้เงินกองทุนระยะสั้น นอกจากไม่ช่วยแก้ปัญหา แต่กลับจะไปสร้างปัญหาแล้ว ควรหาทางออกกฎหมายให้ชัดเจนว่ารัฐจะจัดเก็บภาษีตามชนิดและประเภทของโรงงานที่ปล่อยสารพิษ หรือสร้างมลภาวะชนิดใด ที่ไปสร้างความเจ็บป่วยให้กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำไปตั้งเป็นกองทุนสำหรับช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือเตรียมแผนบรรเทาสาธารณภัย และให้ผู้บริหารเงินกองทุนนี้ควรมาจากภาคประชาชนในสัดส่วน 1 ใน 3 พร้อมทั้งเสนอให้รัฐออกข้อบังคับเพื่อควบคุมโรงงานให้ดำเนินการด้านการควบคุมสารพิษเสียก่อนที่จะอนุญาตให้เปิดประกอบกิจการ เพราะหากเป็นอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันปัญหาต่าง ๆ ทีเกิดขึ้นก็จะซ้ำรอยเดิม
ในขณะที่ปัญหาดังกล่าวกำลังพยายามแก้ไขอยู่นั้นนายสาธิต กล่าวว่า ขณะนี้มีบริษัท IRPC ประกาศลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าซึ่งอยู่ในพื้นที่ของ IRPC เป็นเหตุให้กระแสชาวบ้านลุกฮือขึ้นต่อต้านทันที เพราะโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จะสร้างใหม่นี้อยู่ห่างจาก อ.เมือง ระยอง เพียง 1 กม. ดังนั้น ตนจึงอยากเรียกร้องให้ผู้บริหาร IRPC ซึ่งก็คือบริษัท ปตท. และรัฐบาลยุติโครงการนี้โดยทันที ก่อนที่จะเกิดวิกฤตปัญหาให้รัฐบาลแก้ไขเพิ่มอีก
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 พ.ค. 2550--จบ--