สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 หวั่นน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค และการทำเกษตรในช่วงหน้าแล้ง แนะเกษตรกรปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย ทดแทนการทำนาปรังที่ต้องใช้น้ำมาก เตือนประชาชน และเกษตรกรใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อป้องกันปัญหาในช่วงดังกล่าว
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ฤดูร้อนจะเป็นฤดูที่เกษตรกรประสบปัญหาในการทำนาปรัง เนื่องจากเป็นฤดูที่มีฝนตกน้อยมาก ดังนั้น น้ำที่ใช้ก็คือน้ำที่จัดเก็บได้จากฤดูฝนของปีที่ผ่านมานั่นเอง
ในปีเพาะปลูก 2549/50 เป็นปีที่มีฝนตกชุกมาก แต่น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ยังคงเหลืออยู่ ก็ยังไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งจังหวัดนครราชสีมา มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีความจุประมาณ 948.42 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันมีปริมาตรน้ำในอ่างประมาณ 738.03 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 77.82 ของความจุที่ระดับน้ำกักเก็บ โดยมีเขื่อนลำตะคอง น้อยที่สุด คือร้อยละ 64.46 ของความจุที่ระดับน้ำกักเก็บ
สำหรับปีเพาะปลูก 2550/51 ทางกรมอุตุนิยมวิทยา ได้พยากรณ์อากาศไว้ว่า จะเป็นปีที่แล้งจัด ฝนตกน้อย จึงเกรงว่าจะทำให้เกิดวิกฤตภัยขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค และน้ำทำการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซากในพื้นที่ทำการเกษตร ได้แก่ การทำนาปรังนั่นเอง
การทำนาปรัง เป็นการเพาะปลูกพืชที่ต้องใช้น้ำมาก ดังนั้น เมื่ออยู่ในสถานการณ์น้ำน้อยเช่นนี้ จึงควรนำพืชอื่น ๆ มาปลูกทดแทนข้าวนาปรัง ได้แก่ พืชอายุสั้นและใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งขณะนี้ทางกรมส่งเสริมการเกษตร ได้กำหนดให้พื้นที่ทำการเกษตรที่ได้รับน้ำจากเขื่อนลำตะคอง งดการทำนาปรังไปแล้ว โดยในพื้นที่นั้นได้ส่งเสริมให้ปลูกงา พืชอายุสั้น เช่น พืชผักสวนครัวต่าง ๆ พืชตระกูลถั่ว และอื่น ๆ แทนข้าวนาปรัง
นายอุดม กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้แหล่งน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ตามพื้นที่ต่าง ๆ ได้ลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเริ่มเข้าสู่สภาวะภัยแล้ง จึงขอเตือนให้ประชาชนและเกษตรกรใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้มีน้ำใช้ในการอุปโภค บริโภค และทำการเกษตรเพียงพอตลอดฤดูแล้ง นายอุดม กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ฤดูร้อนจะเป็นฤดูที่เกษตรกรประสบปัญหาในการทำนาปรัง เนื่องจากเป็นฤดูที่มีฝนตกน้อยมาก ดังนั้น น้ำที่ใช้ก็คือน้ำที่จัดเก็บได้จากฤดูฝนของปีที่ผ่านมานั่นเอง
ในปีเพาะปลูก 2549/50 เป็นปีที่มีฝนตกชุกมาก แต่น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ยังคงเหลืออยู่ ก็ยังไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งจังหวัดนครราชสีมา มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีความจุประมาณ 948.42 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันมีปริมาตรน้ำในอ่างประมาณ 738.03 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 77.82 ของความจุที่ระดับน้ำกักเก็บ โดยมีเขื่อนลำตะคอง น้อยที่สุด คือร้อยละ 64.46 ของความจุที่ระดับน้ำกักเก็บ
สำหรับปีเพาะปลูก 2550/51 ทางกรมอุตุนิยมวิทยา ได้พยากรณ์อากาศไว้ว่า จะเป็นปีที่แล้งจัด ฝนตกน้อย จึงเกรงว่าจะทำให้เกิดวิกฤตภัยขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค และน้ำทำการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซากในพื้นที่ทำการเกษตร ได้แก่ การทำนาปรังนั่นเอง
การทำนาปรัง เป็นการเพาะปลูกพืชที่ต้องใช้น้ำมาก ดังนั้น เมื่ออยู่ในสถานการณ์น้ำน้อยเช่นนี้ จึงควรนำพืชอื่น ๆ มาปลูกทดแทนข้าวนาปรัง ได้แก่ พืชอายุสั้นและใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งขณะนี้ทางกรมส่งเสริมการเกษตร ได้กำหนดให้พื้นที่ทำการเกษตรที่ได้รับน้ำจากเขื่อนลำตะคอง งดการทำนาปรังไปแล้ว โดยในพื้นที่นั้นได้ส่งเสริมให้ปลูกงา พืชอายุสั้น เช่น พืชผักสวนครัวต่าง ๆ พืชตระกูลถั่ว และอื่น ๆ แทนข้าวนาปรัง
นายอุดม กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้แหล่งน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ตามพื้นที่ต่าง ๆ ได้ลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเริ่มเข้าสู่สภาวะภัยแล้ง จึงขอเตือนให้ประชาชนและเกษตรกรใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้มีน้ำใช้ในการอุปโภค บริโภค และทำการเกษตรเพียงพอตลอดฤดูแล้ง นายอุดม กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-