การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 2 ปี 2550 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 11,189 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.67 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 22,269 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 15,415 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 4,776 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.39 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงวัฏจักรของอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี (Life Cycle) แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย มาเลเซีย และเกาหลีใต้ ตามลำดับ
อุตสาหกรรมสีทาอาคาร ค่อนข้างซบเซา เนื่องจากการชะลอตัวลงของภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจก่อสร้าง ตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลง การปรับตัวสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต จากการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ค่าจ้างแรงงานของไทยที่สูงกว่าของประเทศคู่แข่ง และราคาน้ำมันที่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูง
การส่งออก
ไตรมาส 2 ปี 2550 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 6,109 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์
อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 2,438 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.12 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 8,027 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.64 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยมีมูลค่าการส่งออก 530 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 0.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้ม
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์น่าจะได้รับผลประโยชน์จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งพิงการนำเข้ามากกว่าการส่งออก ดังนั้นในช่วงที่ค่าเงินบาทกำลังแข็งค่าขึ้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์น่าจะสั่งซื้อวัตถุดิบการผลิตเพิ่มมากขึ้น เพื่อขยายตลาดภายในประเทศ และตลาดส่งออกในอนาคต
อุตสาหกรรมพลาสติก
ภาพรวมอุตสาหกรรม
ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่า 643.4 เหรียญสหรัฐ ฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ในส่วนของการนำเข้าในไตรมาสแรกของปี 2550 มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก 535.61 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ซึ่งลดลงร้อยละ 6.47 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากตัวเลขนำเข้า — ส่งออก ของผลิตภัณฑ์พลาสติก พบว่าในไตรมาสที่ 2 นี้ประเทศไทยได้ดุลการค้าอยู่ประมาณ 107.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การตลาด
การส่งออก
ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 643.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.63 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร กลุ่มประเทศในอาเซียน ออสเตรเลีย และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เนื่องจากปริมาณการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นตามวัฐจักรของอุตสาหกรรมพลาสติกถึงแม้ว่าค่าเงินบาทของไทยจะแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด คือ แผ่นฟิมล์ฟอยล์และแถบ มีมูลค่าการส่งออก 216.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.63 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.54 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รองลงมาได้แก่ ถุงและกระสอบพลาสติก มีมูลค่าส่งออก 131.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.24 เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
การนำเข้า
ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 535.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.47 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 3.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน เยอรมนี และกลุ่มประเทศอาเซียน สำหรับแผ่นฟิมล์ ฟลอย์และแถบพลาสติก มีสัดส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.23 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.54 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หลอดและท่อพลาสติก มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 14.84 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 8.45 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้ม
เนื่องจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งถูกตัด GSP จากประเทศสหรัฐอเมริกา อันอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก ดังนั้นอุตสาหกรรมพลาสติกควรที่จะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตโดยการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือขยายตลาดเพื่อรักษามูลค่าการส่งออกของไทยเอาไว้ มิฉะนั้นแล้วจะเกิดการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นการผลิตต่ำกว่า
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี (Petrochemical Industry)
ไตรมาส 2 ปี 2550 ราคาแนฟธาของตลาดเอเชียปรับตัวผันผวนตามราคาน้ำมันดิบ โดยปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นต่อเนื่องมาจนช่วงกลางไตรมาส และปรับลดลงในช่วงปลายไตรมาส ปัจจัยหลัก ได้แก่ อิหร่านออกมาเปิดเผยความคืบหน้าโครงการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ ปัญหาความไม่สงบทางการเมืองของไนจีเรีย ส่วนราคาเอทิลีนโดยเฉลี่ยของตลาดเอเชียมีการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นและกลางไตรมาส สาเหตุมาจากมีการปิดซ่อมบำรุงเอทิลีนแครกเกอร์หลายแห่งในเอเซีย และปรับตัวลดลงในช่วงปลายไตรมาสตามราคาแนฟธา เนื่องจากผู้ซื้อชะลอการซื้อลงเพราะปริมาณเอทิลีนในตลาด spot มีมาก โดยเฉพาะจากแครกเกอร์ในเกาหลีใต้และไต้หวัน
สำหรับการซื้อขายเม็ดพลาสติกทั้ง PE และ PP ตลาดค่อนข้างทรงตัว ราคามีการปรับตัวสูงขึ้นตามราคาเอทิลีนและราคาน้ำมันดิบ ผู้ซื้อชาวจีนอยู่ในช่วงวันหยุดแรงงานจึงไม่มีแรงซื้อมากนัก แต่มีแรงซื้อมาจากตลาดยุโรปและแอฟริกาเข้ามาแทน
การผลิต
ไตรมาส 2 ปี 2550 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีภายในประเทศ มีการร่วมลงทุนกับประเทศญี่ปุ่นในโครงการผลิต acrylonitrile (ACN) กำลังการผลิต 200,000 ตัน/ปี และ methyl methancrylate (MMA) กำลังการผลิต 70,000 ตัน/ปี คาดว่าจะสามารถเดินเครื่องผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2552-2553 และโครงการสร้างหน่วยผลิต Phenol กำลังการผลิต 200,000 ตัน/ปี และ Acetone กำลังการผลิต 124,000 ตัน/ปี จะเปิดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 จากนั้นมีแผนขยายกำลังการผลิต โดยหน่วยผลิต Phenol ขยายเป็น 250,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิต Acetone ขยายเป็น 155,000 ตัน/ปี ในปี 2553
สำหรับการผลิตในภูมิภาคเอเชีย หลายประเทศมีการขยายกำลังการผลิต ดังนี้
- ประเทศอินเดีย จะเริ่มเดินเครื่องหน่วยผลิต PP กำลังการผลิต 1 ล้านตัน/ปี ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 และกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนสร้างคอมเพล็กซ์เอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.2 ล้านตัน/ปี หน่วยผลิตสารอะโรมาติกส์ กำลังการผลิตประมาณ 800,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง ประกอบด้วย HDPE, LLDPE, และ Ethylene Glycol มีเป้าหมายเสร็จสมบูรณ์ในปี 2557-2558
- ประเทศญี่ปุ่น วางแผนสร้างหน่วยเมทาธีสิสที่สามารถผลิตโพรพิลีนได้ 150,000 ตัน/ปี มีกำหนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551
- ประเทศซาอุดิอาระเบีย ลงทุนในโครงการคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมี ซึ่งคาดว่าจะมีหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี 30 โรง กำลังการผลิตผลิตภัณฑ์ขั้นต้น ได้แก่ เอทิลีน โพรพิลีน และอะโรมาติกส์ 4 ล้านตัน/ปี กำลังการผลิตผลิตภัณฑ์ขั้นปลาย ได้แก่ PE, Ethylene Oxide/Ethylene Glycol, Propylene Oxide, Propylene Glycol, Chlor-Alkai, VCM, PolyUrethane, Epoxy Resins และ Polycarbonate 7 ล้านตัน/ปี กำหนดเสร็จสมบูรณ์ในปี 2555 และพิจารณาลงทุนคอมเพล็กซ์ผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี โดยใช้ gas และ liquids เป็นวัตถุดิบตั้งต้น คาดว่าจะสามารถเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2557-2558
- ประเทศไต้หวัน ลงทุนสร้างฐานการผลิต PP ขนาดกำลังการผลิต 450,000 ตัน/ปี ในประเทศจีน เกิดความล่าช้าในเรื่องงานก่อสร้าง ทำให้คาดว่าจะสามารถเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550
- ประเทศจีน ลงทุนสร้างเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 600,000 ตัน/ปี ทำให้กำลังการผลิตเอทิลีนเพิ่มขึ้นเป็น 1.2 ล้านตัน/ปี กำหนดเสร็จสมบูรณ์ในปี 2552-2553 และโครงการร่วมลงทุนกับประเทศซาอุดิอาระเบีย ในโครงการเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1 ล้านตัน/ปี ประกอบด้วยหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องได้แก่ หน่วยผลิต PE ขนาด 600,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต PP ขนาด 450,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต ethylene glycol ขนาด 400,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิต phenol/acetone ขนาด 350,000 ตัน/ปี คาดว่าจะสามารถเดินเครื่องผลิตได้ในปลายไตรมาสที่ 3 ปี 2552
- ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรต ลงทุนสร้างคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมี ที่สามารถผลิตโพรพิลีนได้ 752,000 ตัน/ปี โดยโพรพิลีนที่ผลิตได้จะใช้ป้อนหน่วยผลิต PP 2หน่วย กำลังการผลิตรวม 800,000 ตัน/ปี ในคอมเพล็กซ์เดียวกัน และสามารถผลิตบิวทีน-1 ได้ 39,000 ตัน/ปี มีกำหนดเสร็จสมบูรณ์ในกลางปี 2553
การตลาด
ราคาเม็ดพลาติก PE และ PP ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2550 ราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคาเฉลี่ย SE Asia CIF) ในเดือนมิถุนายน 2549 ของ LDPE, HDPE, และ PP อยู่ที่ระดับ 48.77, 47.91 และ 46.38 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ LDPE, HDPE และ PP มีระดับราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ที่ระดับราคา 45.65 , 44.65 และ 44.33 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ
การนำเข้า
ไตรมาส 2 ปี 2550 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 6,407.74 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.67 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 7,188.23 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.61 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงถึงร้อยละ 55.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่านำเข้า 18,580.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.92 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เมื่อพิจารณาการนำเข้าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2550 พบว่า ปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นปลาย มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าการนำเข้าลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก
ไตรมาส 2 ปี 2550 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 4,317.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.12 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 46.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 13,448.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 40,445.01 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.28 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เมื่อพิจารณาการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2550 พบว่า ปิโตรเคมีขั้นต้น มูลค่าการส่งออกมีอัตราการขยายตัวลดลง ในขณะที่ปิโตรเคมีขั้นกลางและขั้นปลาย มูลค่าการส่งออกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้ม
คาดการณ์ว่าจุดต่ำสุดของวัฏจักรอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่จะเกิดขึ้นในปี 2552-2554 จะไม่รุนแรงมากนัก เนื่องมาจากการขยายกำลังการผลิตพร้อมกันในจำนวนมหาศาลที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอาจก่อให้เกิดความตึงตัวในหลายๆ ปัจจัย โดยคาดว่ากำลังการผลิตเอทิลีนในตลาดเพิ่มขึ้นมากกว่า 40 ล้านตัน/ปี ในระหว่างปี 2550-2559 ส่งผลให้วัตถุดิบตั้งต้นประเภทก๊าซในตะวันออกกลางอาจไม่เพียงพอต่อโครงการปิโตรเคมีที่เกิดขึ้นใหม่ และคาดว่าผู้ผลิตปิโตรเคมีในตะวันออกกลางอาจต้องหันมาใช้วัตถุดิบตั้งต้นที่เป็นไฮโดรคาร์บอนหนักมากขึ้นซึ่งมีต้นทุนสูงกว่าทดแทน
สำหรับประเทศไทย ปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมันและความไม่มีเสถียรภาพของค่าเงินบาทได้ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและการวางแผนการผลิต ซึ่งอุตสาหกรรมที่ใช้เม็ดพลาสติกเป็นวัตถุดิบหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมพลาสติก และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์ และอุตสาหกรรมการเกษตร จะได้รับผลกระทบจากปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมัน และผู้ผลิตเพื่อการส่งออกจะได้รับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่มีเสียรภาพในปัจจุบัน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การนำเข้า
ไตรมาส 2 ปี 2550 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 11,189 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.67 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 22,269 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 15,415 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 4,776 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.39 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงวัฏจักรของอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี (Life Cycle) แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย มาเลเซีย และเกาหลีใต้ ตามลำดับ
อุตสาหกรรมสีทาอาคาร ค่อนข้างซบเซา เนื่องจากการชะลอตัวลงของภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจก่อสร้าง ตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลง การปรับตัวสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต จากการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ค่าจ้างแรงงานของไทยที่สูงกว่าของประเทศคู่แข่ง และราคาน้ำมันที่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูง
การส่งออก
ไตรมาส 2 ปี 2550 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 6,109 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์
อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 2,438 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.12 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 8,027 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.64 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยมีมูลค่าการส่งออก 530 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 0.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้ม
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์น่าจะได้รับผลประโยชน์จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งพิงการนำเข้ามากกว่าการส่งออก ดังนั้นในช่วงที่ค่าเงินบาทกำลังแข็งค่าขึ้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์น่าจะสั่งซื้อวัตถุดิบการผลิตเพิ่มมากขึ้น เพื่อขยายตลาดภายในประเทศ และตลาดส่งออกในอนาคต
อุตสาหกรรมพลาสติก
ภาพรวมอุตสาหกรรม
ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่า 643.4 เหรียญสหรัฐ ฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ในส่วนของการนำเข้าในไตรมาสแรกของปี 2550 มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก 535.61 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ซึ่งลดลงร้อยละ 6.47 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากตัวเลขนำเข้า — ส่งออก ของผลิตภัณฑ์พลาสติก พบว่าในไตรมาสที่ 2 นี้ประเทศไทยได้ดุลการค้าอยู่ประมาณ 107.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การตลาด
การส่งออก
ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 643.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.63 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร กลุ่มประเทศในอาเซียน ออสเตรเลีย และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เนื่องจากปริมาณการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นตามวัฐจักรของอุตสาหกรรมพลาสติกถึงแม้ว่าค่าเงินบาทของไทยจะแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด คือ แผ่นฟิมล์ฟอยล์และแถบ มีมูลค่าการส่งออก 216.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.63 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.54 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รองลงมาได้แก่ ถุงและกระสอบพลาสติก มีมูลค่าส่งออก 131.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.24 เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
การนำเข้า
ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 535.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.47 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 3.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน เยอรมนี และกลุ่มประเทศอาเซียน สำหรับแผ่นฟิมล์ ฟลอย์และแถบพลาสติก มีสัดส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.23 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.54 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หลอดและท่อพลาสติก มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 14.84 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 8.45 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้ม
เนื่องจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งถูกตัด GSP จากประเทศสหรัฐอเมริกา อันอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก ดังนั้นอุตสาหกรรมพลาสติกควรที่จะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตโดยการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือขยายตลาดเพื่อรักษามูลค่าการส่งออกของไทยเอาไว้ มิฉะนั้นแล้วจะเกิดการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นการผลิตต่ำกว่า
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี (Petrochemical Industry)
ไตรมาส 2 ปี 2550 ราคาแนฟธาของตลาดเอเชียปรับตัวผันผวนตามราคาน้ำมันดิบ โดยปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นต่อเนื่องมาจนช่วงกลางไตรมาส และปรับลดลงในช่วงปลายไตรมาส ปัจจัยหลัก ได้แก่ อิหร่านออกมาเปิดเผยความคืบหน้าโครงการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ ปัญหาความไม่สงบทางการเมืองของไนจีเรีย ส่วนราคาเอทิลีนโดยเฉลี่ยของตลาดเอเชียมีการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นและกลางไตรมาส สาเหตุมาจากมีการปิดซ่อมบำรุงเอทิลีนแครกเกอร์หลายแห่งในเอเซีย และปรับตัวลดลงในช่วงปลายไตรมาสตามราคาแนฟธา เนื่องจากผู้ซื้อชะลอการซื้อลงเพราะปริมาณเอทิลีนในตลาด spot มีมาก โดยเฉพาะจากแครกเกอร์ในเกาหลีใต้และไต้หวัน
สำหรับการซื้อขายเม็ดพลาสติกทั้ง PE และ PP ตลาดค่อนข้างทรงตัว ราคามีการปรับตัวสูงขึ้นตามราคาเอทิลีนและราคาน้ำมันดิบ ผู้ซื้อชาวจีนอยู่ในช่วงวันหยุดแรงงานจึงไม่มีแรงซื้อมากนัก แต่มีแรงซื้อมาจากตลาดยุโรปและแอฟริกาเข้ามาแทน
การผลิต
ไตรมาส 2 ปี 2550 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีภายในประเทศ มีการร่วมลงทุนกับประเทศญี่ปุ่นในโครงการผลิต acrylonitrile (ACN) กำลังการผลิต 200,000 ตัน/ปี และ methyl methancrylate (MMA) กำลังการผลิต 70,000 ตัน/ปี คาดว่าจะสามารถเดินเครื่องผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2552-2553 และโครงการสร้างหน่วยผลิต Phenol กำลังการผลิต 200,000 ตัน/ปี และ Acetone กำลังการผลิต 124,000 ตัน/ปี จะเปิดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 จากนั้นมีแผนขยายกำลังการผลิต โดยหน่วยผลิต Phenol ขยายเป็น 250,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิต Acetone ขยายเป็น 155,000 ตัน/ปี ในปี 2553
สำหรับการผลิตในภูมิภาคเอเชีย หลายประเทศมีการขยายกำลังการผลิต ดังนี้
- ประเทศอินเดีย จะเริ่มเดินเครื่องหน่วยผลิต PP กำลังการผลิต 1 ล้านตัน/ปี ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 และกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนสร้างคอมเพล็กซ์เอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.2 ล้านตัน/ปี หน่วยผลิตสารอะโรมาติกส์ กำลังการผลิตประมาณ 800,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง ประกอบด้วย HDPE, LLDPE, และ Ethylene Glycol มีเป้าหมายเสร็จสมบูรณ์ในปี 2557-2558
- ประเทศญี่ปุ่น วางแผนสร้างหน่วยเมทาธีสิสที่สามารถผลิตโพรพิลีนได้ 150,000 ตัน/ปี มีกำหนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551
- ประเทศซาอุดิอาระเบีย ลงทุนในโครงการคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมี ซึ่งคาดว่าจะมีหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี 30 โรง กำลังการผลิตผลิตภัณฑ์ขั้นต้น ได้แก่ เอทิลีน โพรพิลีน และอะโรมาติกส์ 4 ล้านตัน/ปี กำลังการผลิตผลิตภัณฑ์ขั้นปลาย ได้แก่ PE, Ethylene Oxide/Ethylene Glycol, Propylene Oxide, Propylene Glycol, Chlor-Alkai, VCM, PolyUrethane, Epoxy Resins และ Polycarbonate 7 ล้านตัน/ปี กำหนดเสร็จสมบูรณ์ในปี 2555 และพิจารณาลงทุนคอมเพล็กซ์ผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี โดยใช้ gas และ liquids เป็นวัตถุดิบตั้งต้น คาดว่าจะสามารถเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2557-2558
- ประเทศไต้หวัน ลงทุนสร้างฐานการผลิต PP ขนาดกำลังการผลิต 450,000 ตัน/ปี ในประเทศจีน เกิดความล่าช้าในเรื่องงานก่อสร้าง ทำให้คาดว่าจะสามารถเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550
- ประเทศจีน ลงทุนสร้างเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 600,000 ตัน/ปี ทำให้กำลังการผลิตเอทิลีนเพิ่มขึ้นเป็น 1.2 ล้านตัน/ปี กำหนดเสร็จสมบูรณ์ในปี 2552-2553 และโครงการร่วมลงทุนกับประเทศซาอุดิอาระเบีย ในโครงการเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1 ล้านตัน/ปี ประกอบด้วยหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องได้แก่ หน่วยผลิต PE ขนาด 600,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต PP ขนาด 450,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต ethylene glycol ขนาด 400,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิต phenol/acetone ขนาด 350,000 ตัน/ปี คาดว่าจะสามารถเดินเครื่องผลิตได้ในปลายไตรมาสที่ 3 ปี 2552
- ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรต ลงทุนสร้างคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมี ที่สามารถผลิตโพรพิลีนได้ 752,000 ตัน/ปี โดยโพรพิลีนที่ผลิตได้จะใช้ป้อนหน่วยผลิต PP 2หน่วย กำลังการผลิตรวม 800,000 ตัน/ปี ในคอมเพล็กซ์เดียวกัน และสามารถผลิตบิวทีน-1 ได้ 39,000 ตัน/ปี มีกำหนดเสร็จสมบูรณ์ในกลางปี 2553
การตลาด
ราคาเม็ดพลาติก PE และ PP ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2550 ราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคาเฉลี่ย SE Asia CIF) ในเดือนมิถุนายน 2549 ของ LDPE, HDPE, และ PP อยู่ที่ระดับ 48.77, 47.91 และ 46.38 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ LDPE, HDPE และ PP มีระดับราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ที่ระดับราคา 45.65 , 44.65 และ 44.33 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ
การนำเข้า
ไตรมาส 2 ปี 2550 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 6,407.74 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.67 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 7,188.23 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.61 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงถึงร้อยละ 55.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่านำเข้า 18,580.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.92 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เมื่อพิจารณาการนำเข้าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2550 พบว่า ปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นปลาย มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าการนำเข้าลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก
ไตรมาส 2 ปี 2550 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 4,317.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.12 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 46.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 13,448.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 40,445.01 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.28 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เมื่อพิจารณาการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2550 พบว่า ปิโตรเคมีขั้นต้น มูลค่าการส่งออกมีอัตราการขยายตัวลดลง ในขณะที่ปิโตรเคมีขั้นกลางและขั้นปลาย มูลค่าการส่งออกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้ม
คาดการณ์ว่าจุดต่ำสุดของวัฏจักรอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่จะเกิดขึ้นในปี 2552-2554 จะไม่รุนแรงมากนัก เนื่องมาจากการขยายกำลังการผลิตพร้อมกันในจำนวนมหาศาลที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอาจก่อให้เกิดความตึงตัวในหลายๆ ปัจจัย โดยคาดว่ากำลังการผลิตเอทิลีนในตลาดเพิ่มขึ้นมากกว่า 40 ล้านตัน/ปี ในระหว่างปี 2550-2559 ส่งผลให้วัตถุดิบตั้งต้นประเภทก๊าซในตะวันออกกลางอาจไม่เพียงพอต่อโครงการปิโตรเคมีที่เกิดขึ้นใหม่ และคาดว่าผู้ผลิตปิโตรเคมีในตะวันออกกลางอาจต้องหันมาใช้วัตถุดิบตั้งต้นที่เป็นไฮโดรคาร์บอนหนักมากขึ้นซึ่งมีต้นทุนสูงกว่าทดแทน
สำหรับประเทศไทย ปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมันและความไม่มีเสถียรภาพของค่าเงินบาทได้ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและการวางแผนการผลิต ซึ่งอุตสาหกรรมที่ใช้เม็ดพลาสติกเป็นวัตถุดิบหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมพลาสติก และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์ และอุตสาหกรรมการเกษตร จะได้รับผลกระทบจากปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมัน และผู้ผลิตเพื่อการส่งออกจะได้รับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่มีเสียรภาพในปัจจุบัน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-