ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ผลการสำรวจพบว่าการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้อาจชะลอตัวลง ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย
เปิดเผยถึงผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีนจากกลุ่มตัวอย่าง 1,230 ราย ซึ่งมีรายได้ 5,000-40,000 บาท พบว่า
อัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายช่วงตรุษจีนปีนี้ชะลอตัวลง โดยคาดว่าจะมีเงินทุนหมุนเวียนประมาณ 31,869.10 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน
7.83% จากเดิมที่ในปี 49 มีเงินหมุนเวียน 29,556.09 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากปี 48 ประมาณ 10.25% โดยสาเหตุหลักมาจากกลุ่มตัวอย่างมี
ความกังวลเรื่องสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ภาวะเศรษฐกิจในประเทศยังไม่ดี รวมทั้งไม่มั่นใจสถานการณ์การเมือง (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
2. ธปท.หารือแนวทางผ่อนคลายมาตรการกันสำรอง 30% ในส่วนของกองทุนรวม นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน
(บลจ.) เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับ ธปท.และตัวแทนจาก บลจ.กว่า 20 แห่ง เพื่อพิจารณาแนวทางการยกเว้นกันสำรองเงินทุนระยะสั้น
30% เมื่อวันที่ 13 ก.พ. ว่า ได้มีการหารือถึงเรื่องข้อเสนอที่ต้องการให้ ธปท.ผ่อนคลายมาตรการกันสำรอง 30% ในส่วนของกองทุนรวม
7 ประเภท ได้แก่ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนหุ้น กองทุนผสมหุ้นและตราสารหนี้ กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนส่วนบุคคล
(Private Fund) กองทุนที่มีเงินทุนจากต่างประเทศ (Country Fund) และกองทุนร่วมทุน (Venture Capital) โดย ธปท.อาจจะมี
ทางเลือกให้เงินทุนที่จะนำเข้ามาลงทุนป้องกันความเสี่ยงเต็มจำนวน (Fully Hedge) คล้ายกับการผ่อนคลายให้กับเงินกู้ระหว่างบริษัทและ
พันธบัตรที่มีข่าวไปก่อนหน้านี้ โดยจะกำหนดให้การป้องกันความเสี่ยงเป็นระยะเวลา 3 เดือนแล้วต่ออายุ (Rollover) ให้ครบปี ซึ่ง ธปท.
รับว่าจะพิจารณาแนวทางผ่อนผันมาตรการให้เร็วที่สุด (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, ผู้จัดการรายวัน)
3. คาดว่าผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปี งปม.51 จะขยายตัว 6-7% นายสมชัย สัจจพงษ์ รักษาการที่ปรึกษา
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะทำงานติดตามผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลครั้งที่ 2 ว่า ได้มีการหารือ
ถึงการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลประจำปี งปม.51 โดยคาดว่าจะสามารถจัดเก็บได้มากกว่าปี งปม.50 ที่ประมารการไว้ที่ 1.42 ล้านล้านบาท
เพราะเชื่อว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ดีกว่าปีก่อนที่คาดว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ(จีดีพี)จะขยายตัวเฉลี่ย 4-5% เนื่องจากสถานการณ์การเมืองนิ่ง
โดย สศค.กำหนดเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ในปี งปม.51 ไว้ที่ขยายตัว 6-7% จากปี 50 เนื่องจากประมาณการว่า จีดีพีปี 51 จะขยายตัว
4.5% อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2.5% ทั้งนี้ ในวันที่ 15 ก.พ.นี้ ก.คลังจะประชุมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ เพื่อหารือถึงการประมาณการเศรษฐกิจและการจัดทำ งปม.ปี 51 (โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ. ขาดดุลการค้าทำสถิติสูงสุดอีกครั้งในปี 49 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 50 ก.พาณิชย์ สรอ.
เปิดเผยว่าเมื่อปีที่แล้ว สรอ.ขาดดุลการค้าทำสถิติสูงสุดติดต่อกันเป็นปีที่ 5 เนื่องจากการนำเข้าน้ำมันจำนวนมากและสินค้าจากจีนจำนวนมาก
ไหลทะลักเข้าสรอ. โดยขาดดุลการค้าทำสถิติสูงสุดถึง 763.6 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นราวร้อยละ 6.5 เนื่องจากการนำเข้าสูงกว่า
การส่งออกมาก ขณะที่ผู้นำพรรคเดโมแครตส่งสารถึงปธน.บุชว่า การขาดดุลการค้าจำนวนมหาศาลของสรอ. ไม่เพียงแต่ทำให้ธุรกิจล้มเหลว
บรรดาคนงานต้องถูกปลดงาน ค่าจ้างแรงงานต่ำ และทำให้มีความไม่เป็นธรรมเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำลายธุรกิจของ สรอ. อย่างถาวรด้วย
จึงทำให้สรอ.จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้า โดยปธน.บุชต้องมีท่าทีที่แข็งกร้าวในการกำจัดอุปสรรค และความไม่เป็นธรรมทางการค้า
ของจีน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามการขาดดุลการค้าของปี 49 ที่มีจำนวนมหาศาลนั้นส่วนหนึ่งมาจากการขาดดุลในเดือน ธ.ค. 49
ที่มียอดเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 5.3 อยู่ที่ระดับ 61.2 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. สาเหตุจากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นและการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค
และรถยนต์ เป็นจำนวนมาก และนับเป็นครั้งที่ 10 ในปี 49 ที่สรอ.ขาดดุลการค้ารายเดือนเกินกว่า 60 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ณ สัปดาห์ล่าสุด ลดลงอยู่ที่ระดับ -3 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 13 ก.พ.50
ABC News and The Washington Post เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 ก.พ.50 ลดลงอยู่ที่ระดับ
-3 จากระดับ -1 ในสัปดาห์ก่อนหน้า แต่ก็ยังดีกว่าสัปดาห์ ณ ปลายเดือน ส.ค.48 อยู่ในระดับต่ำสุดถึง -19 ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวจะอยู่ระหว่าง
-100 ถึง +100 อย่างไรก็ตาม เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา Investor’s Business Daily (IBD)
and TechnoMetrica Market Intelligence (TIPP) กล่าวว่า ดัชนีมุมมองทางเศรษฐกิจของ IBD/TIPP ในเดือน ก.พ.50 ลดลง 1 จุด
อยู่ที่ร้อยละ 1.9 หรือที่ระดับ 52.7 แต่ยังอยู่เหนือกว่าระดับ 50 ส่งผลให้ Positivie Territory แข็งแกร่งต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ทั้งนี้
สาเหตุที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ณ สัปดาห์ล่าสุดลดลง เนื่องจากดัชนีองค์ประกอบของความเชื่อมั่นผู้บริโภค 2 ใน 3 ตัวลดลง คือ
ดัชนีมุมมองด้านบวกเกี่ยวกับฤดูกาลการจับจ่ายใช้สอยลดลงร้อยละ 2 อยู่ที่ระดับ 39 ขณะที่มุมมองทางเศรษฐกิจของประเทศลดลงร้อยละ 1 อยู่ที่
ระดับ 46 ส่วนดัชนีการเงินส่วนบุคคลไม่เปลี่ยนแปลงยังคงอยู่ที่ระดับ 61 เช่นเดิม อนึ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสามารถชี้วัดมุมมองได้อย่างทั่วถึง
เนื่องจากเป็นเครื่องชี้วัดการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งมีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของระบบเศรษฐกิจ สรอ. อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ให้ข้อสังเกตว่า
ผู้บริโภคมักจะมีพฤติกรรมไม่สอดคล้องกับที่ตอบแบบสำรวจ ทั้งนี้ ผลสำรวจของ ABC/Washington Post ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างประมาณ
1,000 คน ในรอบ 4 สัปดาห์ และมีค่าความผิดพลาดอยู่ระหว่างบวกลบร้อยละ 3 (รอยเตอร์) 3. เศรษฐกิจ Euro zone ในไตรมาส
สุดท้ายปี 49 ขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 13 ก.พ.50 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของสหภาพยุโรปรายงาน
ประมาณการเบื้องต้นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายปี 49 ของ Euro zone ซึ่งประกอบประเทศสมาชิก 12 ประเทศที่ใช้
เงินสกุลยูโรเป็นเงินสกุลหลักโดยขยายตัวร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 49 และขยายตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้าย
ปี 48 ดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.6 ต่อไตรมาสและร้อยละ 3.0 ต่อปีและดีกว่าไตรมาสที่ 3 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อไตรมาส
โดยอิตาลีซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของ Euro zone ขยายตัวสูงสุดที่ร้อยละ 1.1 ต่อไตรมาส ตามมาด้วยเยอรมนีซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด
ในเขตนี้ขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อไตรมาส ดีกว่าไตรมาสที่ 3 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อไตรมาส และฝรั่งเศสซึ่งเศรษฐกิจโตเป็นอันดับที่ 2
ขยายตัวร้อยละ 0.6 - 0.7 ต่อไตรมาส จากตัวเลขข้างต้นทำให้นักวิเคราะห์คาดว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดย ธ.กลางยุโรปหรือ
ECB ในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้งนี้ Eurostat มีกำหนดจะแสดงรายละเอียดของตัวเลขข้างต้นในวันที่ 6 มี.ค.50 ที่จะถึงนี้ (รอยเตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษเดือน ม.ค.50 ลดลงอย่างรวดเร็วมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7 รายงานจากกรุงลอนดอน
ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 13 ก.พ.50 สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ม.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.8
ทำให้อัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปีในเดือน ม.ค.50 ลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7 จากร้อยละ 3.0 ในเดือน ธ.ค.49 นับเป็นการลดลงมากสุดใน
รอบ 4 ปี เนื่องจากราคาเชื้อเพลิงปรับตัวลดลง ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวทำให้มีการคาดการณ์กันว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะอยู่ในระดับสูงแล้ว
รวมทั้งอาจจะนำไปสู่การตั้งคำถามว่ามีความเป็นจำหรือไม่ที่ ธ.กลางอังกฤษได้สร้างความประหลาดใจด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
เมื่อเดือน ม.ค.50 ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.25 โดยให้เหตุผลว่าเพื่อลดแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ดัชนีราคาขายปลีกที่เป็นปัจจัยหนึ่ง
ของการคำนวณอัตราเงินเฟ้อก็ปรับลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้เช่นกันมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.2 ในเดือน ม.ค.50 จากร้อยละ 4.4 ในเดือน
ธ.ค.49 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 14 ก.พ. 50 13 ก.พ. 50 29 ธ.ค. แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) n.a. 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) n.a. 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.87063 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 692.48/14.08 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,100/11,200 11,050/11,150 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.62 54.1 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.59*/23.34** 25.59*/23.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ก.พ. 50
** ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 8 ก.พ. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ผลการสำรวจพบว่าการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้อาจชะลอตัวลง ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย
เปิดเผยถึงผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีนจากกลุ่มตัวอย่าง 1,230 ราย ซึ่งมีรายได้ 5,000-40,000 บาท พบว่า
อัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายช่วงตรุษจีนปีนี้ชะลอตัวลง โดยคาดว่าจะมีเงินทุนหมุนเวียนประมาณ 31,869.10 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน
7.83% จากเดิมที่ในปี 49 มีเงินหมุนเวียน 29,556.09 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากปี 48 ประมาณ 10.25% โดยสาเหตุหลักมาจากกลุ่มตัวอย่างมี
ความกังวลเรื่องสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ภาวะเศรษฐกิจในประเทศยังไม่ดี รวมทั้งไม่มั่นใจสถานการณ์การเมือง (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
2. ธปท.หารือแนวทางผ่อนคลายมาตรการกันสำรอง 30% ในส่วนของกองทุนรวม นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน
(บลจ.) เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับ ธปท.และตัวแทนจาก บลจ.กว่า 20 แห่ง เพื่อพิจารณาแนวทางการยกเว้นกันสำรองเงินทุนระยะสั้น
30% เมื่อวันที่ 13 ก.พ. ว่า ได้มีการหารือถึงเรื่องข้อเสนอที่ต้องการให้ ธปท.ผ่อนคลายมาตรการกันสำรอง 30% ในส่วนของกองทุนรวม
7 ประเภท ได้แก่ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนหุ้น กองทุนผสมหุ้นและตราสารหนี้ กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนส่วนบุคคล
(Private Fund) กองทุนที่มีเงินทุนจากต่างประเทศ (Country Fund) และกองทุนร่วมทุน (Venture Capital) โดย ธปท.อาจจะมี
ทางเลือกให้เงินทุนที่จะนำเข้ามาลงทุนป้องกันความเสี่ยงเต็มจำนวน (Fully Hedge) คล้ายกับการผ่อนคลายให้กับเงินกู้ระหว่างบริษัทและ
พันธบัตรที่มีข่าวไปก่อนหน้านี้ โดยจะกำหนดให้การป้องกันความเสี่ยงเป็นระยะเวลา 3 เดือนแล้วต่ออายุ (Rollover) ให้ครบปี ซึ่ง ธปท.
รับว่าจะพิจารณาแนวทางผ่อนผันมาตรการให้เร็วที่สุด (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, ผู้จัดการรายวัน)
3. คาดว่าผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปี งปม.51 จะขยายตัว 6-7% นายสมชัย สัจจพงษ์ รักษาการที่ปรึกษา
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะทำงานติดตามผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลครั้งที่ 2 ว่า ได้มีการหารือ
ถึงการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลประจำปี งปม.51 โดยคาดว่าจะสามารถจัดเก็บได้มากกว่าปี งปม.50 ที่ประมารการไว้ที่ 1.42 ล้านล้านบาท
เพราะเชื่อว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ดีกว่าปีก่อนที่คาดว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ(จีดีพี)จะขยายตัวเฉลี่ย 4-5% เนื่องจากสถานการณ์การเมืองนิ่ง
โดย สศค.กำหนดเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ในปี งปม.51 ไว้ที่ขยายตัว 6-7% จากปี 50 เนื่องจากประมาณการว่า จีดีพีปี 51 จะขยายตัว
4.5% อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2.5% ทั้งนี้ ในวันที่ 15 ก.พ.นี้ ก.คลังจะประชุมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ เพื่อหารือถึงการประมาณการเศรษฐกิจและการจัดทำ งปม.ปี 51 (โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ. ขาดดุลการค้าทำสถิติสูงสุดอีกครั้งในปี 49 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 50 ก.พาณิชย์ สรอ.
เปิดเผยว่าเมื่อปีที่แล้ว สรอ.ขาดดุลการค้าทำสถิติสูงสุดติดต่อกันเป็นปีที่ 5 เนื่องจากการนำเข้าน้ำมันจำนวนมากและสินค้าจากจีนจำนวนมาก
ไหลทะลักเข้าสรอ. โดยขาดดุลการค้าทำสถิติสูงสุดถึง 763.6 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นราวร้อยละ 6.5 เนื่องจากการนำเข้าสูงกว่า
การส่งออกมาก ขณะที่ผู้นำพรรคเดโมแครตส่งสารถึงปธน.บุชว่า การขาดดุลการค้าจำนวนมหาศาลของสรอ. ไม่เพียงแต่ทำให้ธุรกิจล้มเหลว
บรรดาคนงานต้องถูกปลดงาน ค่าจ้างแรงงานต่ำ และทำให้มีความไม่เป็นธรรมเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำลายธุรกิจของ สรอ. อย่างถาวรด้วย
จึงทำให้สรอ.จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้า โดยปธน.บุชต้องมีท่าทีที่แข็งกร้าวในการกำจัดอุปสรรค และความไม่เป็นธรรมทางการค้า
ของจีน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามการขาดดุลการค้าของปี 49 ที่มีจำนวนมหาศาลนั้นส่วนหนึ่งมาจากการขาดดุลในเดือน ธ.ค. 49
ที่มียอดเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 5.3 อยู่ที่ระดับ 61.2 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. สาเหตุจากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นและการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค
และรถยนต์ เป็นจำนวนมาก และนับเป็นครั้งที่ 10 ในปี 49 ที่สรอ.ขาดดุลการค้ารายเดือนเกินกว่า 60 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ณ สัปดาห์ล่าสุด ลดลงอยู่ที่ระดับ -3 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 13 ก.พ.50
ABC News and The Washington Post เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 ก.พ.50 ลดลงอยู่ที่ระดับ
-3 จากระดับ -1 ในสัปดาห์ก่อนหน้า แต่ก็ยังดีกว่าสัปดาห์ ณ ปลายเดือน ส.ค.48 อยู่ในระดับต่ำสุดถึง -19 ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวจะอยู่ระหว่าง
-100 ถึง +100 อย่างไรก็ตาม เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา Investor’s Business Daily (IBD)
and TechnoMetrica Market Intelligence (TIPP) กล่าวว่า ดัชนีมุมมองทางเศรษฐกิจของ IBD/TIPP ในเดือน ก.พ.50 ลดลง 1 จุด
อยู่ที่ร้อยละ 1.9 หรือที่ระดับ 52.7 แต่ยังอยู่เหนือกว่าระดับ 50 ส่งผลให้ Positivie Territory แข็งแกร่งต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ทั้งนี้
สาเหตุที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ณ สัปดาห์ล่าสุดลดลง เนื่องจากดัชนีองค์ประกอบของความเชื่อมั่นผู้บริโภค 2 ใน 3 ตัวลดลง คือ
ดัชนีมุมมองด้านบวกเกี่ยวกับฤดูกาลการจับจ่ายใช้สอยลดลงร้อยละ 2 อยู่ที่ระดับ 39 ขณะที่มุมมองทางเศรษฐกิจของประเทศลดลงร้อยละ 1 อยู่ที่
ระดับ 46 ส่วนดัชนีการเงินส่วนบุคคลไม่เปลี่ยนแปลงยังคงอยู่ที่ระดับ 61 เช่นเดิม อนึ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสามารถชี้วัดมุมมองได้อย่างทั่วถึง
เนื่องจากเป็นเครื่องชี้วัดการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งมีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของระบบเศรษฐกิจ สรอ. อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ให้ข้อสังเกตว่า
ผู้บริโภคมักจะมีพฤติกรรมไม่สอดคล้องกับที่ตอบแบบสำรวจ ทั้งนี้ ผลสำรวจของ ABC/Washington Post ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างประมาณ
1,000 คน ในรอบ 4 สัปดาห์ และมีค่าความผิดพลาดอยู่ระหว่างบวกลบร้อยละ 3 (รอยเตอร์) 3. เศรษฐกิจ Euro zone ในไตรมาส
สุดท้ายปี 49 ขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 13 ก.พ.50 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของสหภาพยุโรปรายงาน
ประมาณการเบื้องต้นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายปี 49 ของ Euro zone ซึ่งประกอบประเทศสมาชิก 12 ประเทศที่ใช้
เงินสกุลยูโรเป็นเงินสกุลหลักโดยขยายตัวร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 49 และขยายตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้าย
ปี 48 ดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.6 ต่อไตรมาสและร้อยละ 3.0 ต่อปีและดีกว่าไตรมาสที่ 3 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อไตรมาส
โดยอิตาลีซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของ Euro zone ขยายตัวสูงสุดที่ร้อยละ 1.1 ต่อไตรมาส ตามมาด้วยเยอรมนีซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด
ในเขตนี้ขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อไตรมาส ดีกว่าไตรมาสที่ 3 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อไตรมาส และฝรั่งเศสซึ่งเศรษฐกิจโตเป็นอันดับที่ 2
ขยายตัวร้อยละ 0.6 - 0.7 ต่อไตรมาส จากตัวเลขข้างต้นทำให้นักวิเคราะห์คาดว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดย ธ.กลางยุโรปหรือ
ECB ในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้งนี้ Eurostat มีกำหนดจะแสดงรายละเอียดของตัวเลขข้างต้นในวันที่ 6 มี.ค.50 ที่จะถึงนี้ (รอยเตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษเดือน ม.ค.50 ลดลงอย่างรวดเร็วมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7 รายงานจากกรุงลอนดอน
ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 13 ก.พ.50 สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ม.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.8
ทำให้อัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปีในเดือน ม.ค.50 ลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7 จากร้อยละ 3.0 ในเดือน ธ.ค.49 นับเป็นการลดลงมากสุดใน
รอบ 4 ปี เนื่องจากราคาเชื้อเพลิงปรับตัวลดลง ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวทำให้มีการคาดการณ์กันว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะอยู่ในระดับสูงแล้ว
รวมทั้งอาจจะนำไปสู่การตั้งคำถามว่ามีความเป็นจำหรือไม่ที่ ธ.กลางอังกฤษได้สร้างความประหลาดใจด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
เมื่อเดือน ม.ค.50 ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.25 โดยให้เหตุผลว่าเพื่อลดแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ดัชนีราคาขายปลีกที่เป็นปัจจัยหนึ่ง
ของการคำนวณอัตราเงินเฟ้อก็ปรับลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้เช่นกันมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.2 ในเดือน ม.ค.50 จากร้อยละ 4.4 ในเดือน
ธ.ค.49 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 14 ก.พ. 50 13 ก.พ. 50 29 ธ.ค. แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) n.a. 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) n.a. 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.87063 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 692.48/14.08 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,100/11,200 11,050/11,150 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.62 54.1 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.59*/23.34** 25.59*/23.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ก.พ. 50
** ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 8 ก.พ. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--