วันนี้ (10 มิ.ย. 50) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการประชุมอดีตส.ส. และกรรมการบริหารพรรค ในวันอังคารที่ 12 มิย. ที่จะถึงนี้ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่พรรคประชาธิปัตย์จะเชิญอดีต ส.ส. พรรค และกรรมการบริหารพรรค มาประชุมเพื่อปรึกษาถึงแนวทางในการดำเนินกิจการทางการเมืองของพรรค หลังจากที่ได้มีประกาศยกเลิกคำสั่งห้ามพรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมืองรวมทั้งการประชุม
โดยในวันอังคารนี้นอกเหนือการหารือถึงแนวทางการทำงานของพรรคแล้ว นายองอาจกล่าวว่าจะมีการเปิดโอกาสให้อดีต ส.ส. และกรรมการบริหารพรรค ร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อให้มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการทำงาน รวมถึงวิธีการในการผลักดันให้พรรคประชาธิปัตย์สามารถเข้าไปมีส่วนในการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ อาทิ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ปัญหาความยากจนของพี่น้องประชาชน ปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงปัญหาเรื่องความแตกแยกของประชาชนในด้านความคิดเห็นที่แตกต่างกันจนนำไปสู่ความแตกแยกของสังคม
สำหรับเรื่องการชุมนุมของประชาชนจากหลายกลุ่ม หลายองค์กรที่ท้องสนามหลวงนั้น นายองอาจแสดงความวิตกกังวลต่อการชุมนุมดังกล่าวว่า อาจจะนำไปสู่ความรุนแรงที่มากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะดูจากการรวมตัว รวมถึงการชุมนุมนั้นก่อให้เกิดความวิตกกังวลอย่างยิ่ง และประชาชนคนไทยจำนวนไม่น้อยก็มีความวิตกกังวลเช่นกันว่าการชุมนุมนั้นอาจจะนำไปสู่ความรุนแรงได้ แม้ว่าการชุมนุมจะเป็นสิทธิ ขึ้นพื้นฐานของประชาชนคนไทยก็ตาม แต่ก็เป็นความจำเป็นที่ผู้ชุมนุมทุกกลุ่ม ทุกองค์กรต้องมีความระมัดระวังไม่ให้การชุมนุมนั้นนำไปสู่ความรุนแรง
นายองอาจ แนะว่า การที่จะทำให้การชุมนุมไม่นำไปสู่ความรุนแรงนั้น การชุมนุมจะต้องดำเนินไปด้วยเหตุด้วยผล และการชุมนุมต้องเป็นการดำเนินไปด้วยความเคารพต่อกฎหมาย ดำเนินการภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ใช้อารมณ์ ไม่พยายามที่จะดำเนินการใด ๆ ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง และที่สำคัญที่สุดที่จะต้องยึดถืออยู่ตลอดเวลาของการชุมนุมในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขก็คือจะต้องใช้แนวทางสันติวิธีเท่านั้น
อย่างไรก็ดี นายองอาจเห็นว่า ในส่วนของภาครัฐเอง ซึ่งมีภาระหน้าที่ที่จะต้องดูแลเรื่องความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน จะต้องดำเนินการบริหารจัดการการชุมนุมด้วยความอดทน และเสียสละ โดยต้องพยายามควบคุมอารมณ์ให้ได้ เพราะหากทั้ง 2 ฝ่ายไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ก็จะกลายเป็นเงื่อนไขที่จะนำไปสู่ความรุนแรง อันเป็นสิ่งที่พวกเราไม่พึงปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นความรุนแรงนั้นเกิดขึ้นอีกในบ้านเมืองของเรา
นอกจากนี้นายองอาจยังได้จำแนกกลุ่มผู้ชุมนุมออกเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มคัดค้านการรัฐประหารด้วยความบริสุทธิ์ใจเพราะมีความเชื่อที่ไม่เห็นด้วยในการรัฐประหาร ซึ่งกลุ่มนี้ประกอบด้วยอาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิชาการหรือผู้ทำงาน NGO บางส่วน 2. กลุ่มที่เรียกร้องแสดงความไม่พอใจผู้มีอำนาจในบ้านเมือง เช่น แสดงความไม่พอใจประธานคมช. หรือบุคคลในคณะคมช. เป็นหลัก กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่แสดงออกถึงความไม่พอใจการทำหน้าที่ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และกลุ่มที่ 4 คือกลุ่มที่เรียกร้องให้อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร กลับมามีอำนาจอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นการดำเนินการของเจ้าหน้าที่นั้นจึงต้องดำเนินการด้วยความจำแนก และมาถึงวันนี้แต่ละกลุ่มก็ควรพิจารณาแสดงออกถึงความเคลื่อนไหวของตนเองให้ชัดเจนและไม่ควรนำมาปะปนกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้
“ยิ่งเวลาเนิ่นนานออกไป ใครที่มีเป้าหมายแต่ยังไม่เปิดเผยโดยมีวาระซ่อนเร้นในขณะนี้ ก็คงจะต้องเปิดเผยออกมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งสังคมก็จะมองเห็นว่าจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของบางกลุ่มบางพวกนั้นคืออะไร และแน่นอนที่สุด ถ้าเป้าหมายที่ถูกเปิดเผยออกมานั้นไม่ได้เป็นเป้าหมายเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมของประเทศชาติบ้านเมือง ผมคิดว่าก็จะไม่ได้รับการยอมรับจากพี่น้องประชาชน เพราะฉะนั้นขณะนี้จึงได้มีการปิดบังเป้าหมายหลักของบางกลุ่มในการชุมนุมเอาไว้ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าสังคมจะต้องคอยจับตาดูว่าใครที่พยายามปิดบังเป้าหมายหลักในการชุมนุมเอาไว้ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน เพื่อพรรคพวกของตัวเอง เพื่อเจ้านายของตัวเองมากกว่าที่จะเป็นเป้าหมายเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง” นายองอาจกล่าว
สำหรับแนวคิดในเรื่องการประกาศใช้ภาวะฉุกเฉินนั้น นายองอาจแสดงความเห็นว่า อยากให้เป็นทางออกสุดท้าย ไม่ควรใช้การประกาศใช้ภาวะฉุกเฉินเป็นมาตรการแรก ๆ เพราะตนยังมีความเชื่อว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินคงไม่ใช่การแก้ปัญหา แต่อาจจะเป็นการทำให้ปัญหาเพิ่มมากขึ้นด้วยซ้ำ พร้อมทั้งเชื่อว่าการที่ตำรวจไม่พกอาวุธนั้นจะช่วยลดเงื่อนไขในการก่อให้เกิดความรุนแรงไปได้ส่วนหนึ่ง และถือว่าเป็นมาตรการที่ทำให้ปัญหาไม่บานปลายออกไป แต่ข้อสำคัญก็จะต้องดูแลไม่ให้ผู้ชุมนุมนำอาวุธเข้าไปในบริเวณนั้นได้ด้วย
ทางด้านนายสาธิต ปิตุเตชะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวถึงประเด็นร่างรัฐธรรมนูญว่าเป็นสถานการณ์ความคิดเห็นที่แตกต่าง และเปราะบาง ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์จึงขอเสนอให้รัฐบาลและกกต. เปิดโอกาสให้กับพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองใหม่ รวมทั้งพรรคไทยรักไทย ได้มีโอกาสจัดตั้งพรรคการเมือง แม้ว่าจะมีข้อกฎหมายหรือข้อจำกัดบางประการในเรื่องการชำระบัญชีก็ตาม แต่ว่าเพื่อการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ตามแนวทางสมานฉันท์ และโดยข้อกฎหมายของพรรคการเมืองก็ไม่มีข้อห้ามในการที่จะใช้ชื่อพรรคเดิมหลังจากที่ถูกยุบแล้ว และจะเป็นการให้ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายการเมือง ฝ่ายประชาชนที่สนับสนุนพรรคการเมืองได้มีเวที และโอกาสที่จะได้แสดงความสิทธิ์ ตามระบอบประชาธิปไตย ที่สำคัญที่สุดก็คือมันเป็นทางออกทางหนึ่งที่จะทำให้ความคิดที่แตกต่างนั้นนำไปสู่ภาวะที่ปกติได้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10 มิ.ย. 2550--จบ--
โดยในวันอังคารนี้นอกเหนือการหารือถึงแนวทางการทำงานของพรรคแล้ว นายองอาจกล่าวว่าจะมีการเปิดโอกาสให้อดีต ส.ส. และกรรมการบริหารพรรค ร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อให้มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการทำงาน รวมถึงวิธีการในการผลักดันให้พรรคประชาธิปัตย์สามารถเข้าไปมีส่วนในการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ อาทิ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ปัญหาความยากจนของพี่น้องประชาชน ปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงปัญหาเรื่องความแตกแยกของประชาชนในด้านความคิดเห็นที่แตกต่างกันจนนำไปสู่ความแตกแยกของสังคม
สำหรับเรื่องการชุมนุมของประชาชนจากหลายกลุ่ม หลายองค์กรที่ท้องสนามหลวงนั้น นายองอาจแสดงความวิตกกังวลต่อการชุมนุมดังกล่าวว่า อาจจะนำไปสู่ความรุนแรงที่มากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะดูจากการรวมตัว รวมถึงการชุมนุมนั้นก่อให้เกิดความวิตกกังวลอย่างยิ่ง และประชาชนคนไทยจำนวนไม่น้อยก็มีความวิตกกังวลเช่นกันว่าการชุมนุมนั้นอาจจะนำไปสู่ความรุนแรงได้ แม้ว่าการชุมนุมจะเป็นสิทธิ ขึ้นพื้นฐานของประชาชนคนไทยก็ตาม แต่ก็เป็นความจำเป็นที่ผู้ชุมนุมทุกกลุ่ม ทุกองค์กรต้องมีความระมัดระวังไม่ให้การชุมนุมนั้นนำไปสู่ความรุนแรง
นายองอาจ แนะว่า การที่จะทำให้การชุมนุมไม่นำไปสู่ความรุนแรงนั้น การชุมนุมจะต้องดำเนินไปด้วยเหตุด้วยผล และการชุมนุมต้องเป็นการดำเนินไปด้วยความเคารพต่อกฎหมาย ดำเนินการภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ใช้อารมณ์ ไม่พยายามที่จะดำเนินการใด ๆ ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง และที่สำคัญที่สุดที่จะต้องยึดถืออยู่ตลอดเวลาของการชุมนุมในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขก็คือจะต้องใช้แนวทางสันติวิธีเท่านั้น
อย่างไรก็ดี นายองอาจเห็นว่า ในส่วนของภาครัฐเอง ซึ่งมีภาระหน้าที่ที่จะต้องดูแลเรื่องความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน จะต้องดำเนินการบริหารจัดการการชุมนุมด้วยความอดทน และเสียสละ โดยต้องพยายามควบคุมอารมณ์ให้ได้ เพราะหากทั้ง 2 ฝ่ายไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ก็จะกลายเป็นเงื่อนไขที่จะนำไปสู่ความรุนแรง อันเป็นสิ่งที่พวกเราไม่พึงปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นความรุนแรงนั้นเกิดขึ้นอีกในบ้านเมืองของเรา
นอกจากนี้นายองอาจยังได้จำแนกกลุ่มผู้ชุมนุมออกเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มคัดค้านการรัฐประหารด้วยความบริสุทธิ์ใจเพราะมีความเชื่อที่ไม่เห็นด้วยในการรัฐประหาร ซึ่งกลุ่มนี้ประกอบด้วยอาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิชาการหรือผู้ทำงาน NGO บางส่วน 2. กลุ่มที่เรียกร้องแสดงความไม่พอใจผู้มีอำนาจในบ้านเมือง เช่น แสดงความไม่พอใจประธานคมช. หรือบุคคลในคณะคมช. เป็นหลัก กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่แสดงออกถึงความไม่พอใจการทำหน้าที่ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และกลุ่มที่ 4 คือกลุ่มที่เรียกร้องให้อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร กลับมามีอำนาจอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นการดำเนินการของเจ้าหน้าที่นั้นจึงต้องดำเนินการด้วยความจำแนก และมาถึงวันนี้แต่ละกลุ่มก็ควรพิจารณาแสดงออกถึงความเคลื่อนไหวของตนเองให้ชัดเจนและไม่ควรนำมาปะปนกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้
“ยิ่งเวลาเนิ่นนานออกไป ใครที่มีเป้าหมายแต่ยังไม่เปิดเผยโดยมีวาระซ่อนเร้นในขณะนี้ ก็คงจะต้องเปิดเผยออกมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งสังคมก็จะมองเห็นว่าจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของบางกลุ่มบางพวกนั้นคืออะไร และแน่นอนที่สุด ถ้าเป้าหมายที่ถูกเปิดเผยออกมานั้นไม่ได้เป็นเป้าหมายเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมของประเทศชาติบ้านเมือง ผมคิดว่าก็จะไม่ได้รับการยอมรับจากพี่น้องประชาชน เพราะฉะนั้นขณะนี้จึงได้มีการปิดบังเป้าหมายหลักของบางกลุ่มในการชุมนุมเอาไว้ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าสังคมจะต้องคอยจับตาดูว่าใครที่พยายามปิดบังเป้าหมายหลักในการชุมนุมเอาไว้ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน เพื่อพรรคพวกของตัวเอง เพื่อเจ้านายของตัวเองมากกว่าที่จะเป็นเป้าหมายเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง” นายองอาจกล่าว
สำหรับแนวคิดในเรื่องการประกาศใช้ภาวะฉุกเฉินนั้น นายองอาจแสดงความเห็นว่า อยากให้เป็นทางออกสุดท้าย ไม่ควรใช้การประกาศใช้ภาวะฉุกเฉินเป็นมาตรการแรก ๆ เพราะตนยังมีความเชื่อว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินคงไม่ใช่การแก้ปัญหา แต่อาจจะเป็นการทำให้ปัญหาเพิ่มมากขึ้นด้วยซ้ำ พร้อมทั้งเชื่อว่าการที่ตำรวจไม่พกอาวุธนั้นจะช่วยลดเงื่อนไขในการก่อให้เกิดความรุนแรงไปได้ส่วนหนึ่ง และถือว่าเป็นมาตรการที่ทำให้ปัญหาไม่บานปลายออกไป แต่ข้อสำคัญก็จะต้องดูแลไม่ให้ผู้ชุมนุมนำอาวุธเข้าไปในบริเวณนั้นได้ด้วย
ทางด้านนายสาธิต ปิตุเตชะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวถึงประเด็นร่างรัฐธรรมนูญว่าเป็นสถานการณ์ความคิดเห็นที่แตกต่าง และเปราะบาง ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์จึงขอเสนอให้รัฐบาลและกกต. เปิดโอกาสให้กับพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองใหม่ รวมทั้งพรรคไทยรักไทย ได้มีโอกาสจัดตั้งพรรคการเมือง แม้ว่าจะมีข้อกฎหมายหรือข้อจำกัดบางประการในเรื่องการชำระบัญชีก็ตาม แต่ว่าเพื่อการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ตามแนวทางสมานฉันท์ และโดยข้อกฎหมายของพรรคการเมืองก็ไม่มีข้อห้ามในการที่จะใช้ชื่อพรรคเดิมหลังจากที่ถูกยุบแล้ว และจะเป็นการให้ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายการเมือง ฝ่ายประชาชนที่สนับสนุนพรรคการเมืองได้มีเวที และโอกาสที่จะได้แสดงความสิทธิ์ ตามระบอบประชาธิปไตย ที่สำคัญที่สุดก็คือมันเป็นทางออกทางหนึ่งที่จะทำให้ความคิดที่แตกต่างนั้นนำไปสู่ภาวะที่ปกติได้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10 มิ.ย. 2550--จบ--