คุณถาม :เวียดนามมีเขตเศรษฐกิจพิเศษหรือไม่
EXIM ตอบ :เขตเศรษฐกิจพิเศษ Chu Lai (Chu Lai Open Economic Zone) เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกและแห่งเดียวของเวียดนาม ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม 2546 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 18,000 เฮกเตอร์ ตั้งอยู่ที่เมืองดานัง (Danang) จังหวัดกวางนัม (Quang Nam) ทางตอนกลางของเวียดนาม ปัจจุบันมีโครงการลงทุนรวมทั้งสิ้น 102 โครงการ รวมมูลค่าราว 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการลงทุนจากในประเทศราว 660 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 55% ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมดในเขต นอกนั้นเป็นการลงทุนจากต่างประเทศนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ คือ จีน คิดเป็น 27% ของมูลค่าเงินลงทุนทั้งหมดในเขต สำหรับอุตสาหกรรมที่นักลงทุนนิยมเข้าไปลงทุน ได้แก่ การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค เฟอร์นิเจอร์ เคมีภัณฑ์ และเครื่องจักร
ปัจจัยที่เกื้อหนุนให้เขตเศรษฐกิจพิเศษ Chu Lai เป็นที่สนใจของนักลงทุน ได้แก่
1.การคมนาคมขนส่งสะดวกและเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เขตเศรษฐกิจพิเศษ Chu Lai ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 1 ซึ่งเป็นถนนสายหลักของประเทศที่เชื่อมต่อกรุงฮานอย (Hanoi) เมืองหลวงของเวียดนามซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศและเมืองโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh) เมืองธุรกิจการค้าของเวียดนาม ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ ทางหลวงหมายเลข 1 ยังเชื่อมต่อกับถนนหมายเลข 9 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ East-West Economic Corridor (EWEC) เชื่อมต่อระหว่างเวียดนาม-ลาว-ไทย-พม่า โดยเขตเศรษฐกิจพิเศษ Chu Lai อยู่ห่างจากถนนหมายเลข 9 ราว 250 กิโลเมตร
นอกจากนี้ ยังมีท่าอากาศยาน 1 แห่ง คือ Chu Lai Airport และท่าเรือ 2 แห่ง ได้แก่ Ky Ha Seaport และ Dzung Quat Seaport รวมทั้งมีเส้นทางรถไฟที่เชื่อมต่อกันภายในประเทศและประเทศใกล้เคียงอีกด้วย
2.สิทธิพิเศษทางภาษีและอื่นๆ สำหรับนักลงทุนโดยจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปีแรกที่มีกำไรและจะได้รับลดหย่อนภาษีจาก 10% เหลือ5% ใน 9 ปีถัดไป นอกจากนี้ สำหรับนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2548 จะได้รับการยกเว้นค่าเช่าที่ดินเป็นระยะเวลา 10 ปีจากปกติที่เรียกเก็บในอัตรา 0.01 ดอลลาร์สหรัฐถึง 200 ดอลลาร์สหรัฐต่อตารางเมตรต่อปี
ทั้งนี้ นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนต้องขอรับการอนุมัติการลงทุนจากหน่วยงานดังต่อไปนี้
-โครงการลงทุนที่มีมูลค่าไม่เกิน 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สามารถขอรับการอนุมัติจาก The Chu Lai Open Economic Zone Management Board ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 20 วัน หลังจากส่งเอกสารครบถ้วน
-โครงการลงทุนที่มีมูลค่ามากกว่า 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จะต้องได้รับการอนุมัติจากกระทรวงวางแผนและลงทุนของเวียดนาม (Ministry of Planning and Investment:MPI)
คุณถาม :แนวโน้มการลงทุนจากต่างชาติในไทยเป็นอย่างไร
EXIM ตอบ:ในช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน ปี 2547 มีโครงการลงทุนจากต่างชาติที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment:BOI) จำนวน 664 โครงการ มูลค่ารวม 237 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นราว 28.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ประเทศที่เข้ามาลงทุนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ และฮ่องกง ตามลำดับ
ทั้งนี้ในช่วงปี 2547-2550 มีแนวโน้มว่าไทยจะยังคงเป็นประเทศที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจ เห็นได้จากรายงานเรื่อง "The Global Investment Prospects Assessment"เผยแพร่เดือนเมษายน 2547 จัดทำโดย UNCTAD หรือการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนาและ British Magazine Corporate Locations ด้วยการสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาเรื่องการเลือกแหล่งลงทุนของบริษัทข้ามชาติต่างๆราว 87 คนจากทั่วโลก พบว่าไทยได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่น่าลงทุนสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากจีน อินเดีย และสหรัฐฯ และเป็นอันดับ 3 ของภูมิภาคเอเชียและกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา รองจากจีนและอินเดีย
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติเชื่อมั่นที่จะเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น ได้แก่
1.ทำเลที่ตั้งเหมาะสม เนื่องจากไทยตั้งอยู่ใจกลางทวีปเอเชียจึงเป็นประตูเชื่อมโยงการค้าและการลงทุนที่สำคัญกับนานาประเทศ เช่น กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ASEAN)รวมถึงจีน อินเดีย และประเทศอื่นๆในทวีปเอเชียใต้และเอเชียกลางซึ่งล้วนเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ
2.โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวราว 6.0-6.5% ในปี 2547 และเฉลี่ย 6.3% ในช่วง 5 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ ไทยยังอุดมไปด้วยปัจจัยการผลิตทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานที่มีทักษะซึ่งค่าจ้างไม่สูงนัก
3.นโยบายของรัฐบาลที่เปิดรับและมุ่งส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ด้วยการจัดตั้ง BOI เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมการลงทุนนับตั้งแต่ปี 2497 โดยมีการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆเช่น การยกเว้นและการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลรวมถึงภาษีนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในการลงทุน ทั้งนี้ ปัจจุบัน BOI ได้ยกเลิกการให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนที่ขัดกับหลักเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก (WTO) แล้ว ยกเว้นในบางกิจการที่ไม่ขัดกับหลักเกณฑ์ของ WTO ยังคงให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนได้ เช่น กิจการที่เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น นอกจากนี้รัฐบาลยังเร่งปรับปรุงและพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อการลงทุน อาทิ ระบบการขนส่งและเครือข่ายโทรคมนาคมฯลฯ
คุณถาม :กลุ่ม Baltic States ประกอบด้วยประเทศอะไรบ้าง และมีความสำคัญอย่างไร
EXIM ตอบ:กลุ่ม Baltic States หรือ Baltic Countries ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของทะเลบอลติก ประกอบด้วย 3 ประเทศ คือ ลัตเวีย ลิทัวเนีย และเอสโตเนีย เดิมทั้ง 3 ประเทศอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตแต่ได้แยกตัวเป็นเอกราชในปี 2534 หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย แม้กลุ่ม Baltic States จะยังเป็นตลาดขนาดเล็กที่มีประชากรรวมกันเพียง 7.5 ล้านคน แต่ปัจจุบันจัดเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพและกำลังเป็นที่สนใจของผู้ส่งออกและนักลงทุนจำนวนมากโดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญคือ
1.เป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union:EU) โดยเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของ EU เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 ทำให้นักลงทุนต่างชาติสนใจย้ายฐานการผลิตเข้าไปตั้งในกลุ่ม Baltic States เพิ่มขึ้น เพื่อขยายการค้าและการลงทุนไปยังตลาด EU ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักและเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในกลุ่ม Baltic States
2.เป็นตลาดใหม่ที่มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ในช่วงปี 2543-2546 ซึ่งอยู่ระหว่างการเปิดเจรจาเพื่อขอเข้าเป็นสมาชิก EU เศรษฐกิจของกลุ่ม Baltic States ขยายตัวเฉลี่ยสูงราว 6.5-7.1% โดยคาดว่าในปี 2547 และหลังจากนั้นเศรษฐกิจจะยังคงขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่องซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีรายได้และมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น
3.เป็นประตูเชื่อมโยงการขนถ่ายสินค้าที่สำคัญของยุโรป เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งเหมาะสม กล่าวคือ ด้านตะวันตกติดกับทะเลบอลติก ทิศเหนือติดกับอ่าวฟินแลนด์ ส่วนด้านตะวันออกติดกับรัฐเซีย ทำให้เป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าที่สำคัญจากประเทศในแถบเอเชียโดยผ่านรัสเซียไปยังประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ได้แก่ นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก และฟินแลนด์ อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าที่สำคัญระหว่างประเทศในทวีปยุโรปซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรหลายร้อยล้านคนอีกด้วย นอกจากนี้ ยังได้รับเงินช่วยเหลือจาก EU เพื่อใช้ก่อสร้างถนนและทางรถไฟเชื่อมระหว่างเมืองหลวงของทั้ง 3 ประเทศ ซึ่งจะช่วยเกื้อหนุนให้ปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านกลุ่ม Baltic States ขยายตัวอย่างรวดเร็วต่อไป
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2548--
-พห-
EXIM ตอบ :เขตเศรษฐกิจพิเศษ Chu Lai (Chu Lai Open Economic Zone) เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกและแห่งเดียวของเวียดนาม ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม 2546 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 18,000 เฮกเตอร์ ตั้งอยู่ที่เมืองดานัง (Danang) จังหวัดกวางนัม (Quang Nam) ทางตอนกลางของเวียดนาม ปัจจุบันมีโครงการลงทุนรวมทั้งสิ้น 102 โครงการ รวมมูลค่าราว 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการลงทุนจากในประเทศราว 660 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 55% ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมดในเขต นอกนั้นเป็นการลงทุนจากต่างประเทศนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ คือ จีน คิดเป็น 27% ของมูลค่าเงินลงทุนทั้งหมดในเขต สำหรับอุตสาหกรรมที่นักลงทุนนิยมเข้าไปลงทุน ได้แก่ การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค เฟอร์นิเจอร์ เคมีภัณฑ์ และเครื่องจักร
ปัจจัยที่เกื้อหนุนให้เขตเศรษฐกิจพิเศษ Chu Lai เป็นที่สนใจของนักลงทุน ได้แก่
1.การคมนาคมขนส่งสะดวกและเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เขตเศรษฐกิจพิเศษ Chu Lai ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 1 ซึ่งเป็นถนนสายหลักของประเทศที่เชื่อมต่อกรุงฮานอย (Hanoi) เมืองหลวงของเวียดนามซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศและเมืองโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh) เมืองธุรกิจการค้าของเวียดนาม ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ ทางหลวงหมายเลข 1 ยังเชื่อมต่อกับถนนหมายเลข 9 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ East-West Economic Corridor (EWEC) เชื่อมต่อระหว่างเวียดนาม-ลาว-ไทย-พม่า โดยเขตเศรษฐกิจพิเศษ Chu Lai อยู่ห่างจากถนนหมายเลข 9 ราว 250 กิโลเมตร
นอกจากนี้ ยังมีท่าอากาศยาน 1 แห่ง คือ Chu Lai Airport และท่าเรือ 2 แห่ง ได้แก่ Ky Ha Seaport และ Dzung Quat Seaport รวมทั้งมีเส้นทางรถไฟที่เชื่อมต่อกันภายในประเทศและประเทศใกล้เคียงอีกด้วย
2.สิทธิพิเศษทางภาษีและอื่นๆ สำหรับนักลงทุนโดยจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปีแรกที่มีกำไรและจะได้รับลดหย่อนภาษีจาก 10% เหลือ5% ใน 9 ปีถัดไป นอกจากนี้ สำหรับนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2548 จะได้รับการยกเว้นค่าเช่าที่ดินเป็นระยะเวลา 10 ปีจากปกติที่เรียกเก็บในอัตรา 0.01 ดอลลาร์สหรัฐถึง 200 ดอลลาร์สหรัฐต่อตารางเมตรต่อปี
ทั้งนี้ นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนต้องขอรับการอนุมัติการลงทุนจากหน่วยงานดังต่อไปนี้
-โครงการลงทุนที่มีมูลค่าไม่เกิน 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สามารถขอรับการอนุมัติจาก The Chu Lai Open Economic Zone Management Board ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 20 วัน หลังจากส่งเอกสารครบถ้วน
-โครงการลงทุนที่มีมูลค่ามากกว่า 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จะต้องได้รับการอนุมัติจากกระทรวงวางแผนและลงทุนของเวียดนาม (Ministry of Planning and Investment:MPI)
คุณถาม :แนวโน้มการลงทุนจากต่างชาติในไทยเป็นอย่างไร
EXIM ตอบ:ในช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน ปี 2547 มีโครงการลงทุนจากต่างชาติที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment:BOI) จำนวน 664 โครงการ มูลค่ารวม 237 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นราว 28.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ประเทศที่เข้ามาลงทุนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ และฮ่องกง ตามลำดับ
ทั้งนี้ในช่วงปี 2547-2550 มีแนวโน้มว่าไทยจะยังคงเป็นประเทศที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจ เห็นได้จากรายงานเรื่อง "The Global Investment Prospects Assessment"เผยแพร่เดือนเมษายน 2547 จัดทำโดย UNCTAD หรือการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนาและ British Magazine Corporate Locations ด้วยการสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาเรื่องการเลือกแหล่งลงทุนของบริษัทข้ามชาติต่างๆราว 87 คนจากทั่วโลก พบว่าไทยได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่น่าลงทุนสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากจีน อินเดีย และสหรัฐฯ และเป็นอันดับ 3 ของภูมิภาคเอเชียและกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา รองจากจีนและอินเดีย
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติเชื่อมั่นที่จะเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น ได้แก่
1.ทำเลที่ตั้งเหมาะสม เนื่องจากไทยตั้งอยู่ใจกลางทวีปเอเชียจึงเป็นประตูเชื่อมโยงการค้าและการลงทุนที่สำคัญกับนานาประเทศ เช่น กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ASEAN)รวมถึงจีน อินเดีย และประเทศอื่นๆในทวีปเอเชียใต้และเอเชียกลางซึ่งล้วนเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ
2.โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวราว 6.0-6.5% ในปี 2547 และเฉลี่ย 6.3% ในช่วง 5 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ ไทยยังอุดมไปด้วยปัจจัยการผลิตทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานที่มีทักษะซึ่งค่าจ้างไม่สูงนัก
3.นโยบายของรัฐบาลที่เปิดรับและมุ่งส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ด้วยการจัดตั้ง BOI เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมการลงทุนนับตั้งแต่ปี 2497 โดยมีการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆเช่น การยกเว้นและการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลรวมถึงภาษีนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในการลงทุน ทั้งนี้ ปัจจุบัน BOI ได้ยกเลิกการให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนที่ขัดกับหลักเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก (WTO) แล้ว ยกเว้นในบางกิจการที่ไม่ขัดกับหลักเกณฑ์ของ WTO ยังคงให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนได้ เช่น กิจการที่เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น นอกจากนี้รัฐบาลยังเร่งปรับปรุงและพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อการลงทุน อาทิ ระบบการขนส่งและเครือข่ายโทรคมนาคมฯลฯ
คุณถาม :กลุ่ม Baltic States ประกอบด้วยประเทศอะไรบ้าง และมีความสำคัญอย่างไร
EXIM ตอบ:กลุ่ม Baltic States หรือ Baltic Countries ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของทะเลบอลติก ประกอบด้วย 3 ประเทศ คือ ลัตเวีย ลิทัวเนีย และเอสโตเนีย เดิมทั้ง 3 ประเทศอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตแต่ได้แยกตัวเป็นเอกราชในปี 2534 หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย แม้กลุ่ม Baltic States จะยังเป็นตลาดขนาดเล็กที่มีประชากรรวมกันเพียง 7.5 ล้านคน แต่ปัจจุบันจัดเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพและกำลังเป็นที่สนใจของผู้ส่งออกและนักลงทุนจำนวนมากโดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญคือ
1.เป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union:EU) โดยเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของ EU เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 ทำให้นักลงทุนต่างชาติสนใจย้ายฐานการผลิตเข้าไปตั้งในกลุ่ม Baltic States เพิ่มขึ้น เพื่อขยายการค้าและการลงทุนไปยังตลาด EU ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักและเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในกลุ่ม Baltic States
2.เป็นตลาดใหม่ที่มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ในช่วงปี 2543-2546 ซึ่งอยู่ระหว่างการเปิดเจรจาเพื่อขอเข้าเป็นสมาชิก EU เศรษฐกิจของกลุ่ม Baltic States ขยายตัวเฉลี่ยสูงราว 6.5-7.1% โดยคาดว่าในปี 2547 และหลังจากนั้นเศรษฐกิจจะยังคงขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่องซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีรายได้และมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น
3.เป็นประตูเชื่อมโยงการขนถ่ายสินค้าที่สำคัญของยุโรป เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งเหมาะสม กล่าวคือ ด้านตะวันตกติดกับทะเลบอลติก ทิศเหนือติดกับอ่าวฟินแลนด์ ส่วนด้านตะวันออกติดกับรัฐเซีย ทำให้เป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าที่สำคัญจากประเทศในแถบเอเชียโดยผ่านรัสเซียไปยังประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ได้แก่ นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก และฟินแลนด์ อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าที่สำคัญระหว่างประเทศในทวีปยุโรปซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรหลายร้อยล้านคนอีกด้วย นอกจากนี้ ยังได้รับเงินช่วยเหลือจาก EU เพื่อใช้ก่อสร้างถนนและทางรถไฟเชื่อมระหว่างเมืองหลวงของทั้ง 3 ประเทศ ซึ่งจะช่วยเกื้อหนุนให้ปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านกลุ่ม Baltic States ขยายตัวอย่างรวดเร็วต่อไป
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2548--
-พห-