ความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ ส่งผลให้ประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะสหภาพยุโรป (European Union : EU) ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยการหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นเจรจาในเวทีการค้าโลกและกำหนดเป็นเงื่อนไขสำคัญทางการค้า โดยบังคับใช้ทั้งกับสินค้านำเข้าและสินค้าที่ผลิตในประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
มาตรการทางการค้าที่สำคัญซึ่ง EU นำมาบังคับใช้เพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ได้แก่
* ระเบียบว่าด้วยการจัดการเศษเหลือทิ้งของเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (Waste Electrical and Electronic Equipment : WEEE) มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมมิให้มีเศษเหลือทิ้งของเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น โดยการแยกเก็บและกำจัดเศษเหลือทิ้งดังกล่าวด้วยวิธีการที่แตกต่างจากการจัดการกับขยะทั่วไป เศษเหลือทิ้งบางส่วนจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) หรือแปรสภาพก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ระเบียบดังกล่าวครอบคลุมเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นสำหรับอุปกรณ์บางประเภท เช่น อุปกรณ์ทางการทหาร อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ฝังหรือยึดติดกับร่างกาย เป็นต้น
ทั้งนี้ ระเบียบดังกล่าวกำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้ส่งออก/นำเข้าไปยังตลาด EU เป็นผู้รับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บหรือทำลายเศษเหลือทิ้งเหล่านี้ ซึ่งอาจเป็นการนำกลับไปทำลายที่ประเทศต้นทาง หรือการอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการทำลายเศษเหลือทิ้งดังกล่าวใน EU โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในประเทศสมาชิก EU เดิม 15 ประเทศ อย่างช้าไม่เกินวันที่ 13 สิงหาคม 2548 ซึ่งจะมีรายละเอียดแตกต่างกันตามที่แต่ละประเทศกำหนด
* ระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิดในเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (Restrictions on Harzardous Substances : RoHs) มีวัตถุประสงค์เพื่อจำกัดการใช้สารอันตรายจำนวน 6 ชนิด ในเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จะนำเข้าไปจำหน่ายใน EU(ยกเว้นสินค้าบางประเภท เช่น เครื่องมือแพทย์) สารดังกล่าว ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม Hexavalent Chromium, Poly Brominated Biphenyls (PBB) และ Poly Brominated Diphenyl Ethers (PBDE) ซึ่งล้วนมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหากมีการแพร่กระจายออกไป อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายสูงในการกำจัดระเบียบดังกล่าวกำหนดให้ผู้ผลิตลดหรืองดใช้สารอันตรายเหล่านี้ในผลิตภัณฑ์ของตน โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2549
* ระเบียบว่าด้วยการควบคุมเคมีภัณฑ์ (Registration, Evaluation and Authorization
of Chemicals : REACH) มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมเคมีภัณฑ์ทุกชนิดที่ผลิตและจำหน่ายใน EU ครอบคลุมตั้งแต่การจดทะเบียน การประเมินความเสี่ยง และการอนุญาตให้ผลิต/จำหน่าย/ใช้/นำเข้าเคมีภัณฑ์ใน EU โดยกำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเคมีภัณฑ์ที่มีปริมาณตั้งแต่ 1 ตัน/ปี/ราย ต้องยื่นขอจดทะเบียนกับ European Chemical Agency ภายในระยะเวลาที่กำหนดนับจากวันที่ระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ อาทิ เคมีภัณฑ์ที่ผลิตหรือนำเข้าปริมาณตั้งแต่ 1,000 ตัน/ปี/ราย และเคมีภัณฑ์ประเภทที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งต้องจดทะเบียนภายใน 3 ปี เป็นต้น ยกเว้นเคมีภัณฑ์บางชนิดที่ไม่ต้องจดทะเบียน ได้แก่ โพลิเมอร์ ทุกประเภท เคมีภัณฑ์ที่ใช้ผลิตยารักษาโรค สิ่งปรุงรสอาหาร และเครื่องสำอาง เป็นต้น นอกจากนี้ ระเบียบดังกล่าวยังกำหนดให้เคมีภัณฑ์บางชนิดต้องผ่านการประเมินความเสี่ยงหรือได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ EU ก่อนจึงจะผลิตหรือนำเข้าได้
นอกเหนือจากมาตรการที่กล่าวมานี้ EU ยังมีมาตรการอื่น ๆ อีกมากเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
อาทิ การปิดฉลากสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้านั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ฉลาก FSC ฉลาก Eco-label
ฉลาก Green Dot และฉลาก GMOs เป็นต้น ซึ่งผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยควรศึกษาและทำความเข้าใจโดยละเอียด และที่สำคัญควรปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ โดยเฉพาะการผลิต ให้สอดคล้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่ EU กำหนด เพื่อช่วยลดอุปสรรคในการส่งออกและรักษาส่วนแบ่งตลาดสินค้าไทยใน EU โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทยที่สร้างรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปี รวมทั้งเพื่อช่วยลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมวลมนุษยชาติ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2548--
-พห-
มาตรการทางการค้าที่สำคัญซึ่ง EU นำมาบังคับใช้เพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ได้แก่
* ระเบียบว่าด้วยการจัดการเศษเหลือทิ้งของเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (Waste Electrical and Electronic Equipment : WEEE) มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมมิให้มีเศษเหลือทิ้งของเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น โดยการแยกเก็บและกำจัดเศษเหลือทิ้งดังกล่าวด้วยวิธีการที่แตกต่างจากการจัดการกับขยะทั่วไป เศษเหลือทิ้งบางส่วนจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) หรือแปรสภาพก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ระเบียบดังกล่าวครอบคลุมเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นสำหรับอุปกรณ์บางประเภท เช่น อุปกรณ์ทางการทหาร อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ฝังหรือยึดติดกับร่างกาย เป็นต้น
ทั้งนี้ ระเบียบดังกล่าวกำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้ส่งออก/นำเข้าไปยังตลาด EU เป็นผู้รับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บหรือทำลายเศษเหลือทิ้งเหล่านี้ ซึ่งอาจเป็นการนำกลับไปทำลายที่ประเทศต้นทาง หรือการอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการทำลายเศษเหลือทิ้งดังกล่าวใน EU โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในประเทศสมาชิก EU เดิม 15 ประเทศ อย่างช้าไม่เกินวันที่ 13 สิงหาคม 2548 ซึ่งจะมีรายละเอียดแตกต่างกันตามที่แต่ละประเทศกำหนด
* ระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิดในเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (Restrictions on Harzardous Substances : RoHs) มีวัตถุประสงค์เพื่อจำกัดการใช้สารอันตรายจำนวน 6 ชนิด ในเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จะนำเข้าไปจำหน่ายใน EU(ยกเว้นสินค้าบางประเภท เช่น เครื่องมือแพทย์) สารดังกล่าว ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม Hexavalent Chromium, Poly Brominated Biphenyls (PBB) และ Poly Brominated Diphenyl Ethers (PBDE) ซึ่งล้วนมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหากมีการแพร่กระจายออกไป อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายสูงในการกำจัดระเบียบดังกล่าวกำหนดให้ผู้ผลิตลดหรืองดใช้สารอันตรายเหล่านี้ในผลิตภัณฑ์ของตน โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2549
* ระเบียบว่าด้วยการควบคุมเคมีภัณฑ์ (Registration, Evaluation and Authorization
of Chemicals : REACH) มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมเคมีภัณฑ์ทุกชนิดที่ผลิตและจำหน่ายใน EU ครอบคลุมตั้งแต่การจดทะเบียน การประเมินความเสี่ยง และการอนุญาตให้ผลิต/จำหน่าย/ใช้/นำเข้าเคมีภัณฑ์ใน EU โดยกำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเคมีภัณฑ์ที่มีปริมาณตั้งแต่ 1 ตัน/ปี/ราย ต้องยื่นขอจดทะเบียนกับ European Chemical Agency ภายในระยะเวลาที่กำหนดนับจากวันที่ระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ อาทิ เคมีภัณฑ์ที่ผลิตหรือนำเข้าปริมาณตั้งแต่ 1,000 ตัน/ปี/ราย และเคมีภัณฑ์ประเภทที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งต้องจดทะเบียนภายใน 3 ปี เป็นต้น ยกเว้นเคมีภัณฑ์บางชนิดที่ไม่ต้องจดทะเบียน ได้แก่ โพลิเมอร์ ทุกประเภท เคมีภัณฑ์ที่ใช้ผลิตยารักษาโรค สิ่งปรุงรสอาหาร และเครื่องสำอาง เป็นต้น นอกจากนี้ ระเบียบดังกล่าวยังกำหนดให้เคมีภัณฑ์บางชนิดต้องผ่านการประเมินความเสี่ยงหรือได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ EU ก่อนจึงจะผลิตหรือนำเข้าได้
นอกเหนือจากมาตรการที่กล่าวมานี้ EU ยังมีมาตรการอื่น ๆ อีกมากเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
อาทิ การปิดฉลากสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้านั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ฉลาก FSC ฉลาก Eco-label
ฉลาก Green Dot และฉลาก GMOs เป็นต้น ซึ่งผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยควรศึกษาและทำความเข้าใจโดยละเอียด และที่สำคัญควรปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ โดยเฉพาะการผลิต ให้สอดคล้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่ EU กำหนด เพื่อช่วยลดอุปสรรคในการส่งออกและรักษาส่วนแบ่งตลาดสินค้าไทยใน EU โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทยที่สร้างรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปี รวมทั้งเพื่อช่วยลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมวลมนุษยชาติ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2548--
-พห-