ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เตรียมเสนอมาตรการผ่อนปรนการนำเงินออกนอกประเทศต่อ รมว.คลังภายใน 1-2 วันนี้ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ภายใน 1-2 วันนี้ จะเสนอมาตรการการผ่อนปรนการนำเงินออกนอกประเทศเพื่อไปลงทุนต่อ รมว.คลัง เพื่อช่วยลดแรง
กดดันของเงินบาท โดยจะเสนอหลายด้าน โดยหนึ่งในมาตรการที่จะออกมาใช้ คือ การขยายระยะเวลาให้ผู้ส่งออกถือเงินครองเงินตรา
ต่างประเทศได้นานขึ้น และการให้ฝากเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อรับดอกเบี้ย ขณะที่ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)
กล่าวภายหลังการประชุม กกร.ว่าที่ประชุมเสนอแนวทางซึ่งมีทั้งระยะสั้นและระยะยาวให้รัฐบาลเร่งดำเนินการ โดยมาตรการระยะสั้นที่ต้อง
ทำทันที คือ 1) ให้ผู้นำเข้าและส่งออกสามารถถือครองเงินตราต่างประเทศได้แบบไม่กำหนดระยะเวลา จากเดิมกำหนดไว้ว่าถือครองเงินตรา
ต่างประเทศได้ไม่เกิน 14 วัน 2) เปิดให้บุคคลธรรมดาสามารถถือครองเงินดอลลาร์ สรอ.ได้มากกว่า 200,000 ดอลลาร์ สรอ. 3) สามารถ
ชำระค่าใช้จ่ายในรูปเงินสกุลดอลลาร์ สรอ.ได้ 4) ให้ภาครัฐเร่งคืนเงินภาษีให้กับผู้ส่งออก 5) ให้รัฐวิสาหกิจคืนหนี้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
โดยเฉพาะในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.ก่อนกำหนด เพื่อนำเงินดอลลาร์ สรอ.ออกนอกประเทศและลดแรงกดดันค่าเงินบาท 6) ให้ภาครัฐนำเข้า
น้ำมันและสินค้าทุนที่จำเป็นสะสมไว้ล่วงหน้า 7) ให้ตั้งกองทุนดูแลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เพื่อหาสภาพคล่องให้เอสเอ็มอี
เมื่อประสบปัญหา สำหรับมาตรการระยะกลางและระยะยาว คือ 1) ตั้งกองทุนเพื่อบริหารเงินบาท 2) ส่งเสริมให้คนไทยไปลงทุนในต่างประเทศ
ด้วยการลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคและควรเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ลงทุนในต่างประเทศ 3) ภาครัฐและอกชนควรร่วมมือกันตลาดโลกได้
4) เร่งให้ภาครัฐดำเนินการก่อสร้างโครงการเมกะโปรเจกต์ (โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้, บ้านเมือง, ข่าวสด)
2. รัฐบาลขาดดุลเงินสดในรอบ 9 เดือนแรกปี งปม.50 จำนวน 1.89 แสนล้านบาท นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ
การคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี งปม. 50 (ต.ค.49-มิ.ย.50) รัฐบาลมีรายได้ส่งคลัง
ทั้งสิ้น 1.05 ล้านล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 5.9 ขณะที่รัฐบาลมีรายจ่ายทั้งสิ้นจำนวน 1.15 ล้านล้านบาท สูงกว่าการเบิกจ่าย
ในช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.7 เพราะการเร่งเบิกจ่าย สำหรับรายจ่ายที่สูงนั้นมาจากรายจ่ายปีปัจจุบัน 1.06 ล้านล้านบาท อัตราการเบิกจ่าย
คิดเป็นร้อยละ 68.0 ของวงเงิน งปม. 1.56 ล้านล้านบาท และรายจ่ายปีก่อน 8.95 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ การเบิกจ่ายที่สูงกว่ารายได้ ทำให้
รัฐขาดดุลทั้งสิ้น 1.03 แสนล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอก งปม.ที่ขาดดุล 8.57 หมื่นล้านบาท จากการจ่ายเงินเหลื่อมจ่ายในปี งปม.
49 จำนวน 3.89 หมื่นล้านบาทแล้ว ทำให้ดุลการคลังขาดดุลเงินสด 1.89 แสนล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายทั้งปีที่คาดว่าจะขาดดุลเงินสดประมาณ
1.46 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลด้วยการใช้เงินคงคลัง 4.6 หมื่นล้านบาท การออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวน
9.71 หมื่นล้านบาท และการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 4.65 หมื่นล้านบาท อนึ่ง การขาดดุลเงินสดทำให้สะท้อนว่า ก.คลังยังใช้นโยบายกระตุ้น
เศรษฐกิจต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจโดยรวมกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, สยามรัฐ, แนวนหน้า)
3. รมว.คลังเผย 4 ปัจจัยที่เป็นจุดอ่อนในการบริหารทางการคลัง รมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนาวิชาการเวที
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) เรื่องความโปร่งใสทางการคลัง เมื่อ 16 ก.ค.50 ว่า การบริหารทางการคลังยังมีจุดอ่อน 4 ด้าน
คือ 1) การตั้ง งปม.ต่ำกว่าความเป็นจริง แต่ขอเงินคงคลังจำนวนมากมาใช้ทดแทน งปม.ที่มีไม่พอ 2) การดำเนินกิจการของภาครัฐมีช่องโหว่
มากโดยเฉพาะกระบวนการตรวจทานโครงการลงทุนต่าง ๆ ไม่มีการตรวจสอบความคุ้มค่ารอบคอบ ก.คลังจึงเสนอให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.ร่วมทุน
ภาครัฐและเอกชน พ.ศ.2535 ทำให้กิจการของรัฐต่าง ๆ เข้าสู่ระบบการคลังมากขึ้น 3) กระบวนการตัดสินใจทางนโยบายที่เป็นภาระทาง
การคลังในอนาคต ที่ผ่านมายังมีข้อมูลไม่เพียงพอจึงทำให้การตัดสินใจของ ครม.เกี่ยวกับการอนุมัติวงเงิน งปม.สำหรับการลงทุนของหน่วยงานต่าง ๆ
ไม่รัดกุม 4) หน่วยงานราชการต่าง ๆ มักต้องการความคล่องตัวทางการเงิน โดยขอตั้งองค์กรมหาชน ตั้งกองทุนขอสิทธิพิเศษทางภาษี รวมทั้ง
รัฐวิสาหกิจที่ต้องการตั้งบริษัทลูก เพื่อหลีกเลี่ยงระเบียบการตรวจสอบจาก ก.คลัง หากปล่อยให้ดำเนินการดังกล่าว โอกาสที่ ก.คลังจะดูแลวินัย
ทางการคลังให้เกิดความยั่งยืนก็มีน้อยลง (แนวหน้า, โพสต์ทูเดย์)
4. กบข.เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนโลกอีกประมาณ 160 ล้านดอลลาร์ สรอ. เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จ
บำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า กบข.ได้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนโลกอีกประมาณ 160 ล้านดอลลาร์ สรอ. (5,500 ล้านบาท)
ผ่านกองทุน GPF (Thailand) Investment Fund ทำให้ภาพรวมการลงทุนต่างประเทศของ กบข.อยู่ที่ร้อยละ 12.8 ของพอร์ตการลงทุน
ซึ่งเป็นการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศของ กบข. หลังจาก ก.คลังอนุมัติ พ.ร.บ.กบข. และขยายเพดานการลงทุนในต่างประเทศให้
จากเดิมลงทุนได้ร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 15 ของพอร์ตเงินลงทุน ปัจจุบัน กบข.ได้กระจายการลงทุนไปทั่วโลกเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยง
แบ่งเป็นการลงทุนในตราสารทุนโลกประมาณ 18,700 ล้านบาท และตราสารหนี้ทั่วโลกประมาณ 19,700 ล้านบาท เป็นไปตามกลยุทธ์ในการ
ขยายสินทรัพย์การลงทุนใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับสมาชิก (โลกวันนี้, สยามรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีภาคบริการของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค. ชะลอตัวลงจากเดือน เม.ย. รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 50 รมว.
เศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือน พ.ค. ดัชนีภาคบริการซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของกิจกรรมในภาคบริการของญี่ปุ่น
ลดลงอย่างผิดคาดร้อยละ 0.1 จากที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ในเดือน เม.ย. ซึ่งตรงกันข้ามกับผลการสำรวจโดย
รอยเตอร์ที่คาดว่าดัชนีภาคบริการจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ทำให้เพิ่มความวิตกว่าการบริโภคภาคเอกชนจะยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่งหรือไม่
ทั้งนี้นาย Takuji Aida หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Barclays Capital Japan Limited กล่าวว่า ไม่น่าประหลาดใจเนื่องจากได้
คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีภาคบริการจะชะลอลงเล็กน้อยจากที่ขยายตัวอย่างมากในเดือน เม.ย. อย่างไรก็ตามไม่มีภาคใดๆที่มีการชะลอตัว
ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ขณะที่ภาคการค้าส่ง และค้าปลีกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 และหากดัชนีภาคบริการในเดือน มิ.ย. ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ก็มีความเป็นไปได้ที่จะขยายตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 2 จากที่เติบโตอย่างต่อเนื่องใน 2 ไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการสนับสนุนว่ายังคงมี
การใช้จ่ายทั้งในภาคเอกชนและภาคธุรกิจ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสอดคล้องกับภาพเศรษฐกิจของ ธ.กลางญี่ปุ่น และอาจมีส่วนสนับสนุนให้ ธ.กลาง
ญี่ปุ่นปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนโยบายการเงินในเดือน ส.ค. นี้ (Financial Times)
2. รัฐบาลญี่ปุ่นยังเชื่อว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวแม้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจะชะลอตัวลง รายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
เมื่อวันที่ 17 ก.ค.50 รายงานเศรษฐกิจประจำเดือนของรัฐบาลญี่ปุ่นยังคงเชื่อว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว แม้ว่าผลผลิตในบางภาคอุตสาหกรรม
และความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะอ่อนตัวลง ซึ่งเป็นการยืนยันมุมมองต่อเศรษฐกิจแบบเดิมติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ขณะที่มีสัญญาณเตือนผลกระทบของ
เศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศจากราคาน้ำมันที่ยังคงเคลื่อนไหวในระดับสูง ซึ่งรัฐบาลยังคงมีมุมมองว่าความต้องการบริโภคของภาคเอกชน
ในประเทศจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ด้านผลสำรวจล่าของรัฐบาลพบว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มิ.ย.50 อยู่
ที่ระดับ 44.3 จากช่วง 3 เดือนก่อน และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากราคาสินค้าในครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาล
ไม่ได้ปรับเปลี่ยนการประเมินภาพรวมของการบริโภคส่วนบุคคลที่มีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยกล่าวว่ากำลังปรับตัว
ดีขึ้น ขณะที่มุมมองเกี่ยวกับรายได้ของประชาชนได้มีการปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากจำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น ส่วนการเกินดุลการค้าและบริการได้ปรับ
ลดลงจากรายงานครั้งก่อนที่เคยกล่าวว่ากำลังเพิ่มขึ้น โดยส่วนหนึ่งมาจากความต้องการสินค้าของ สรอ. ลดลง (รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียในเดือน มิ.ย.50 จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 1.5 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์
เมื่อ 16 ก.ค.50 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า อัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียในเดือน
มิ.ย.50 จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 1.5 จากร้อยละ 1.4 ในเดือนก่อนหน้าซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปี เป็นผลจากการเพิ่มขึ้น
ของราคาอาหารและราคาวัตถุดิบในการก่อสร้าง โดยแม้อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ยังคงอยู่ในระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้ การที่เงินริงกิต
แข็งค่าขึ้น อาจช่วยลดมูลค่าการนำเข้าและควบคุมภาวะเงินเฟ้อได้ โดยที่ผ่านมาผลกระทบด้านราคาจากภาวะเงินเฟ้อได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง
หลังจากเดือน มี.ค.49 ที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อในระดับต่ำอาจช่วยให้ ธ.กลางสามารถ
ลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวขึ้นจากภาวะซบเซาอันเนื่องมาจากการชะลอตัวของการส่งออกได้ (รอยเตอร์)
4. คาดว่ายอดส่งออกของสิงคโปร์ในเดือน มิ.ย.50 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 ต่อเดือนสูงสุดในรอบ 3 เดือน รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อ 16 ก.ค.50 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่ายอดส่งออกไม่รวมน้ำมันของสิงคโปร์ในเดือน มิ.ย.50 จะ
เพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน สูงสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.50 ซึ่งขยายตัวถึงร้อยละ 15 หลังจาก
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ต่อเดือนในเดือนก่อน โดยหากเทียบต่อปี คาดว่ายอดส่งออกในเดือน มิ.ย.50 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เทียบกับร้อยละ 3.7
ในเดือน พ.ค.50 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากคำสั่งซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อชดเชยระดับสินค้าคงคลังที่กำลังลดลงในขณะที่
ชิปคอมพิวเตอร์เริ่มมีราคาสูงขึ้น สอดคล้องกับดัชนี PMI เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาที่ชี้ว่าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีผลผลิตคิดเป็นสัดส่วนถึง
1 ใน 3 ของผลผลิตโรงงานทั้งหมดและมียอดส่งออกคิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งของยอดส่งออกทั้งสิ้นของสิงคโปร์ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11
ติดต่อกัน รัฐบาลสิงคโปร์มีกำหนดจะรายงานตัวเลขยอดส่งออกอย่างเป็นทางการในวันที่ 17 ก.ค.50 เวลา 13.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 ก.ค. 50 16 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.271 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.0762/33.4202 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.63063 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 857.08/25.52 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,500/10,600 10,500/10,600 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 71.49 70.75 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.74** 29.99*/25.74** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 14 ก.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 11 ก.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เตรียมเสนอมาตรการผ่อนปรนการนำเงินออกนอกประเทศต่อ รมว.คลังภายใน 1-2 วันนี้ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ภายใน 1-2 วันนี้ จะเสนอมาตรการการผ่อนปรนการนำเงินออกนอกประเทศเพื่อไปลงทุนต่อ รมว.คลัง เพื่อช่วยลดแรง
กดดันของเงินบาท โดยจะเสนอหลายด้าน โดยหนึ่งในมาตรการที่จะออกมาใช้ คือ การขยายระยะเวลาให้ผู้ส่งออกถือเงินครองเงินตรา
ต่างประเทศได้นานขึ้น และการให้ฝากเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อรับดอกเบี้ย ขณะที่ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)
กล่าวภายหลังการประชุม กกร.ว่าที่ประชุมเสนอแนวทางซึ่งมีทั้งระยะสั้นและระยะยาวให้รัฐบาลเร่งดำเนินการ โดยมาตรการระยะสั้นที่ต้อง
ทำทันที คือ 1) ให้ผู้นำเข้าและส่งออกสามารถถือครองเงินตราต่างประเทศได้แบบไม่กำหนดระยะเวลา จากเดิมกำหนดไว้ว่าถือครองเงินตรา
ต่างประเทศได้ไม่เกิน 14 วัน 2) เปิดให้บุคคลธรรมดาสามารถถือครองเงินดอลลาร์ สรอ.ได้มากกว่า 200,000 ดอลลาร์ สรอ. 3) สามารถ
ชำระค่าใช้จ่ายในรูปเงินสกุลดอลลาร์ สรอ.ได้ 4) ให้ภาครัฐเร่งคืนเงินภาษีให้กับผู้ส่งออก 5) ให้รัฐวิสาหกิจคืนหนี้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
โดยเฉพาะในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.ก่อนกำหนด เพื่อนำเงินดอลลาร์ สรอ.ออกนอกประเทศและลดแรงกดดันค่าเงินบาท 6) ให้ภาครัฐนำเข้า
น้ำมันและสินค้าทุนที่จำเป็นสะสมไว้ล่วงหน้า 7) ให้ตั้งกองทุนดูแลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เพื่อหาสภาพคล่องให้เอสเอ็มอี
เมื่อประสบปัญหา สำหรับมาตรการระยะกลางและระยะยาว คือ 1) ตั้งกองทุนเพื่อบริหารเงินบาท 2) ส่งเสริมให้คนไทยไปลงทุนในต่างประเทศ
ด้วยการลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคและควรเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ลงทุนในต่างประเทศ 3) ภาครัฐและอกชนควรร่วมมือกันตลาดโลกได้
4) เร่งให้ภาครัฐดำเนินการก่อสร้างโครงการเมกะโปรเจกต์ (โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้, บ้านเมือง, ข่าวสด)
2. รัฐบาลขาดดุลเงินสดในรอบ 9 เดือนแรกปี งปม.50 จำนวน 1.89 แสนล้านบาท นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ
การคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี งปม. 50 (ต.ค.49-มิ.ย.50) รัฐบาลมีรายได้ส่งคลัง
ทั้งสิ้น 1.05 ล้านล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 5.9 ขณะที่รัฐบาลมีรายจ่ายทั้งสิ้นจำนวน 1.15 ล้านล้านบาท สูงกว่าการเบิกจ่าย
ในช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.7 เพราะการเร่งเบิกจ่าย สำหรับรายจ่ายที่สูงนั้นมาจากรายจ่ายปีปัจจุบัน 1.06 ล้านล้านบาท อัตราการเบิกจ่าย
คิดเป็นร้อยละ 68.0 ของวงเงิน งปม. 1.56 ล้านล้านบาท และรายจ่ายปีก่อน 8.95 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ การเบิกจ่ายที่สูงกว่ารายได้ ทำให้
รัฐขาดดุลทั้งสิ้น 1.03 แสนล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอก งปม.ที่ขาดดุล 8.57 หมื่นล้านบาท จากการจ่ายเงินเหลื่อมจ่ายในปี งปม.
49 จำนวน 3.89 หมื่นล้านบาทแล้ว ทำให้ดุลการคลังขาดดุลเงินสด 1.89 แสนล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายทั้งปีที่คาดว่าจะขาดดุลเงินสดประมาณ
1.46 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลด้วยการใช้เงินคงคลัง 4.6 หมื่นล้านบาท การออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวน
9.71 หมื่นล้านบาท และการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 4.65 หมื่นล้านบาท อนึ่ง การขาดดุลเงินสดทำให้สะท้อนว่า ก.คลังยังใช้นโยบายกระตุ้น
เศรษฐกิจต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจโดยรวมกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, สยามรัฐ, แนวนหน้า)
3. รมว.คลังเผย 4 ปัจจัยที่เป็นจุดอ่อนในการบริหารทางการคลัง รมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนาวิชาการเวที
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) เรื่องความโปร่งใสทางการคลัง เมื่อ 16 ก.ค.50 ว่า การบริหารทางการคลังยังมีจุดอ่อน 4 ด้าน
คือ 1) การตั้ง งปม.ต่ำกว่าความเป็นจริง แต่ขอเงินคงคลังจำนวนมากมาใช้ทดแทน งปม.ที่มีไม่พอ 2) การดำเนินกิจการของภาครัฐมีช่องโหว่
มากโดยเฉพาะกระบวนการตรวจทานโครงการลงทุนต่าง ๆ ไม่มีการตรวจสอบความคุ้มค่ารอบคอบ ก.คลังจึงเสนอให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.ร่วมทุน
ภาครัฐและเอกชน พ.ศ.2535 ทำให้กิจการของรัฐต่าง ๆ เข้าสู่ระบบการคลังมากขึ้น 3) กระบวนการตัดสินใจทางนโยบายที่เป็นภาระทาง
การคลังในอนาคต ที่ผ่านมายังมีข้อมูลไม่เพียงพอจึงทำให้การตัดสินใจของ ครม.เกี่ยวกับการอนุมัติวงเงิน งปม.สำหรับการลงทุนของหน่วยงานต่าง ๆ
ไม่รัดกุม 4) หน่วยงานราชการต่าง ๆ มักต้องการความคล่องตัวทางการเงิน โดยขอตั้งองค์กรมหาชน ตั้งกองทุนขอสิทธิพิเศษทางภาษี รวมทั้ง
รัฐวิสาหกิจที่ต้องการตั้งบริษัทลูก เพื่อหลีกเลี่ยงระเบียบการตรวจสอบจาก ก.คลัง หากปล่อยให้ดำเนินการดังกล่าว โอกาสที่ ก.คลังจะดูแลวินัย
ทางการคลังให้เกิดความยั่งยืนก็มีน้อยลง (แนวหน้า, โพสต์ทูเดย์)
4. กบข.เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนโลกอีกประมาณ 160 ล้านดอลลาร์ สรอ. เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จ
บำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า กบข.ได้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนโลกอีกประมาณ 160 ล้านดอลลาร์ สรอ. (5,500 ล้านบาท)
ผ่านกองทุน GPF (Thailand) Investment Fund ทำให้ภาพรวมการลงทุนต่างประเทศของ กบข.อยู่ที่ร้อยละ 12.8 ของพอร์ตการลงทุน
ซึ่งเป็นการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศของ กบข. หลังจาก ก.คลังอนุมัติ พ.ร.บ.กบข. และขยายเพดานการลงทุนในต่างประเทศให้
จากเดิมลงทุนได้ร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 15 ของพอร์ตเงินลงทุน ปัจจุบัน กบข.ได้กระจายการลงทุนไปทั่วโลกเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยง
แบ่งเป็นการลงทุนในตราสารทุนโลกประมาณ 18,700 ล้านบาท และตราสารหนี้ทั่วโลกประมาณ 19,700 ล้านบาท เป็นไปตามกลยุทธ์ในการ
ขยายสินทรัพย์การลงทุนใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับสมาชิก (โลกวันนี้, สยามรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีภาคบริการของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค. ชะลอตัวลงจากเดือน เม.ย. รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 50 รมว.
เศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือน พ.ค. ดัชนีภาคบริการซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของกิจกรรมในภาคบริการของญี่ปุ่น
ลดลงอย่างผิดคาดร้อยละ 0.1 จากที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ในเดือน เม.ย. ซึ่งตรงกันข้ามกับผลการสำรวจโดย
รอยเตอร์ที่คาดว่าดัชนีภาคบริการจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ทำให้เพิ่มความวิตกว่าการบริโภคภาคเอกชนจะยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่งหรือไม่
ทั้งนี้นาย Takuji Aida หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Barclays Capital Japan Limited กล่าวว่า ไม่น่าประหลาดใจเนื่องจากได้
คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีภาคบริการจะชะลอลงเล็กน้อยจากที่ขยายตัวอย่างมากในเดือน เม.ย. อย่างไรก็ตามไม่มีภาคใดๆที่มีการชะลอตัว
ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ขณะที่ภาคการค้าส่ง และค้าปลีกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 และหากดัชนีภาคบริการในเดือน มิ.ย. ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ก็มีความเป็นไปได้ที่จะขยายตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 2 จากที่เติบโตอย่างต่อเนื่องใน 2 ไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการสนับสนุนว่ายังคงมี
การใช้จ่ายทั้งในภาคเอกชนและภาคธุรกิจ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสอดคล้องกับภาพเศรษฐกิจของ ธ.กลางญี่ปุ่น และอาจมีส่วนสนับสนุนให้ ธ.กลาง
ญี่ปุ่นปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนโยบายการเงินในเดือน ส.ค. นี้ (Financial Times)
2. รัฐบาลญี่ปุ่นยังเชื่อว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวแม้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจะชะลอตัวลง รายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
เมื่อวันที่ 17 ก.ค.50 รายงานเศรษฐกิจประจำเดือนของรัฐบาลญี่ปุ่นยังคงเชื่อว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว แม้ว่าผลผลิตในบางภาคอุตสาหกรรม
และความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะอ่อนตัวลง ซึ่งเป็นการยืนยันมุมมองต่อเศรษฐกิจแบบเดิมติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ขณะที่มีสัญญาณเตือนผลกระทบของ
เศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศจากราคาน้ำมันที่ยังคงเคลื่อนไหวในระดับสูง ซึ่งรัฐบาลยังคงมีมุมมองว่าความต้องการบริโภคของภาคเอกชน
ในประเทศจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ด้านผลสำรวจล่าของรัฐบาลพบว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มิ.ย.50 อยู่
ที่ระดับ 44.3 จากช่วง 3 เดือนก่อน และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากราคาสินค้าในครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาล
ไม่ได้ปรับเปลี่ยนการประเมินภาพรวมของการบริโภคส่วนบุคคลที่มีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยกล่าวว่ากำลังปรับตัว
ดีขึ้น ขณะที่มุมมองเกี่ยวกับรายได้ของประชาชนได้มีการปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากจำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น ส่วนการเกินดุลการค้าและบริการได้ปรับ
ลดลงจากรายงานครั้งก่อนที่เคยกล่าวว่ากำลังเพิ่มขึ้น โดยส่วนหนึ่งมาจากความต้องการสินค้าของ สรอ. ลดลง (รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียในเดือน มิ.ย.50 จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 1.5 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์
เมื่อ 16 ก.ค.50 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า อัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียในเดือน
มิ.ย.50 จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 1.5 จากร้อยละ 1.4 ในเดือนก่อนหน้าซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปี เป็นผลจากการเพิ่มขึ้น
ของราคาอาหารและราคาวัตถุดิบในการก่อสร้าง โดยแม้อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ยังคงอยู่ในระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้ การที่เงินริงกิต
แข็งค่าขึ้น อาจช่วยลดมูลค่าการนำเข้าและควบคุมภาวะเงินเฟ้อได้ โดยที่ผ่านมาผลกระทบด้านราคาจากภาวะเงินเฟ้อได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง
หลังจากเดือน มี.ค.49 ที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อในระดับต่ำอาจช่วยให้ ธ.กลางสามารถ
ลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวขึ้นจากภาวะซบเซาอันเนื่องมาจากการชะลอตัวของการส่งออกได้ (รอยเตอร์)
4. คาดว่ายอดส่งออกของสิงคโปร์ในเดือน มิ.ย.50 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 ต่อเดือนสูงสุดในรอบ 3 เดือน รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อ 16 ก.ค.50 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่ายอดส่งออกไม่รวมน้ำมันของสิงคโปร์ในเดือน มิ.ย.50 จะ
เพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน สูงสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.50 ซึ่งขยายตัวถึงร้อยละ 15 หลังจาก
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ต่อเดือนในเดือนก่อน โดยหากเทียบต่อปี คาดว่ายอดส่งออกในเดือน มิ.ย.50 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เทียบกับร้อยละ 3.7
ในเดือน พ.ค.50 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากคำสั่งซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อชดเชยระดับสินค้าคงคลังที่กำลังลดลงในขณะที่
ชิปคอมพิวเตอร์เริ่มมีราคาสูงขึ้น สอดคล้องกับดัชนี PMI เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาที่ชี้ว่าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีผลผลิตคิดเป็นสัดส่วนถึง
1 ใน 3 ของผลผลิตโรงงานทั้งหมดและมียอดส่งออกคิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งของยอดส่งออกทั้งสิ้นของสิงคโปร์ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11
ติดต่อกัน รัฐบาลสิงคโปร์มีกำหนดจะรายงานตัวเลขยอดส่งออกอย่างเป็นทางการในวันที่ 17 ก.ค.50 เวลา 13.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 ก.ค. 50 16 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.271 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.0762/33.4202 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.63063 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 857.08/25.52 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,500/10,600 10,500/10,600 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 71.49 70.75 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.74** 29.99*/25.74** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 14 ก.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 11 ก.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--