สรุปการสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ณ จังหวัดระยอง
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้กล่าวเปิดการสัมมนาวิชาการภายใต้โครงการขยายบทบาท สศค. สู่ภูมิภาค เรื่อง “แนวทางการวิเคราะห์และทิศทาง การพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดระยอง” และ “ปัญหาสิ่งแวดล้อม : นานาทัศนะในการแก้ไข” ในวันอังคารที่ 27 มีนาคม 2550 ณ ห้องสร้อยสุวรรณ โรงแรมสตาร์ จังหวัดระยอง และได้บรรยายเรื่อง เศรษฐกิจไทยและแนวโน้มในปี 2550 ดังนี้
ในปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยโดยรวมขยายตัวได้ดี โดยอยู่ในระดับร้อยละ 5.0 ต่อปี โดยได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการส่งออก อย่างไรก็ตาม ในปี 2550 นี้ การบริโภคและการลงทุนได้ชะลอตัวลงมาก ดังนั้น แนวนโยบายหลักในการบริหารเศรษฐกิจจะต้องเน้นกระตุ้นการลงทุนและการบริโภคของประเทศให้ฟื้นตัว โดยเฉพาะหากรัฐบาลสามารถเร่งเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมายที่ร้อยละ 93 ของกรอบวงเงินงบประมาณปี 2550 และรัฐวิสาหกิจสามารถเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนได้ตามเป้าหมายที่ร้อยละ 85 ของกรอบงบประมาณลงทุน ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศปรับลดลงมากพอที่จะเอื้อต่อการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันการขยายตัวของการบริโภครวมและการลงทุนรวม ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวได้ในกรณีสูงที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี
สำหรับแนวนโยบายบริหารเศรษฐกิจในภูมิภาคนั้น สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ คือ การสร้างให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืนและให้มีความสมดุล โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้มีส่วนร่วมในการบริหารเศรษฐกิจไทยซึ่งมีผลกระทบและมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคตะวันออกและจังหวัดระยองในช่วงที่ผ่านมา ในหลายด้าน อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักของจังหวัดระยองได้แก่ ปัญหามลพิษซึ่งสร้างผลลบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งขณะนี้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กำลังพิจารณามาตรการด้านการเงินการคลังในภาพรวมเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
ในช่วงต่อมา เป็นการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “แนวทางการวิเคราะห์และทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดระยอง” โดยมีนายพงศ์นคร โภชากรณ์ ผู้อำนวยการส่วนแบบจำลองและประมาณการเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง นำเสนอภาพรวมเศรษฐกิจของจังหวัดระยองนายทวีศักดิ์ ยิ้มตระกูล คลังจังหวัดระยอง นำเสนอทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดระยอง รวมทั้งแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม นายปรัชญา สมะลาภา ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดระยอง นำเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในมุมมองของภาคเอกชน โดยผลการเสวนา สรุปได้ว่า ภาคตะวันออกเป็นภาคที่มีขนาดของเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ รองจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยในปี 2548 ภาคตะวันออกมีขนาดเศรษฐกิจคิดเป็นร้อยละ 16.2 ของเศรษฐกิจประเทศ และจังหวัดระยอง ถือเป็นจังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองในภาคตะวันออก รองจากชลบุรี ทั้งนี้ โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดระยองได้มีการปรับเปลี่ยนอย่างมากหลังนโยบายการจัดตั้งโครงการ Eastern Seaboard ในปี 2524 จากในอดีตที่เคยมีภาคเกษตรกรรมเป็นหัวใจหลัก มาเป็นภาคอุตสาหกรรมเป็นภาคเศรษฐกิจหลักของจังหวัด โดยในปีที่ผ่านมา ภาคอุตสาหกรรมมีขนาดประมาณร้อยละ 80 ของเศรษฐกิจจังหวัด
อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของคนในจังหวัด เช่น ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ปัญหาความยากจน ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมถึงปัญหาสุขภาพของผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้เขตอุตสาหกรรม ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจากมุมมองของภาคเอกชน สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การสร้างกลไกการจัดสรรงบประมาณที่ตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ การกำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในพื้นที่ เพื่อให้สามารถนำเงินภาษีดังกล่าวมาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในจังหวัด และการนำมาตรการภาษีสิ่งแวดล้อมมาใช้ เป็นต้น ทั้งนี้ ในส่วนของภาครัฐได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวผ่านการจัดตั้งกองทุนระยองแข็งแรง ซึ่งคาดว่าจะได้รับงบประมาณในการจัดตั้งและขอรับการสนับสนุนจากผู้ประกอบการในพื้นที่ ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวจะมุ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประชาชน รวมถึงการให้ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพในจังหวัด
สำหรับการสัมมนาในช่วงบ่าย เป็นการสัมมนาในหัวข้อ “ปัญหาสิ่งแวดล้อม: นานาทัศนะในการแก้ไข” โดยมีรายละเอียดดังนี้
นายแพทย์กฤษณ์ ปาลสุทธิ์ นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง กล่าวว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมในจังหวัดระยองมีความรุนแรงมากขึ้นตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะบริเวณมาบตาพุดซึ่งเป็นแหล่งที่มีอุตสาหกรรมหนาแน่น โดยปัจจุบันจังหวัดระยองถูกจัดเป็นจังหวัดที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมอยู่ในลำดับต้นของประเทศที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหามลพิษนี้แฝงอยู่ในอากาศ น้ำ และขยะ ซึ่งสาเหตุมาจากสารพิษที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรม และขยะจากชุมชนและภาคอุตสาหกรรมที่ไม่สามารถกำจัดได้หมด นอกจากนี้ โรงงานในจังหวัดระยองมีจำนวนมากกว่า 1,700 โรง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพของของประชาชนในพื้นที่ เห็นได้จากจำนวนผู้ป่วยที่เข้าการรักษาเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ จังหวัดระยองยังมีปัญหาประชากรแฝงซึ่งทำให้ต้นทุนด้านสาธารณสุขเพิ่มขึ้นและทำให้ไม่สามารถดูแลประชาชนได้อย่างทั่วถึง
นางพัชนี การุณ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ชี้ให้เห็นว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เป็นแค่ปัญหาระดับท้องถิ่น แต่เป็นปัญหาระดับสากล ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือแก้ปัญหาแบบบูรณาการจากทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น เนื่องจากมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ เช่น พรบ. สาธารณสุข และพรบ.สิ่งแวดล้อม เป็นต้น และไม่มีเจ้าภาพที่ชัดเจน นอกจากนี้ ปัญหาสำคัญในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเน้นการแก้ปัญหาเชิงรับ มากกว่าการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ รวมถึงเน้นการรณรงค์ และจูงใจมากกว่าการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมาย ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในจังหวัดระยองนั้น รัฐควรมีหน่วยงานกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการในพื้นที่จังหวัดระยอง พัฒนาระบบฐานข้อมูลและเพิ่มศักยภาพขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงมีการสนับสนุนด้านอุปกรณ์และงบประมาณอย่างพอเพียงในการดำเนินการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการกลุ่มการวางแผนภาษีในภาพรวม สศค. ได้นำเสนอการนำภาษีสิ่งแวดล้อมมาใช้เป็นทางเลือกสำหรับการบริหารจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ในปัจจุบันแม้ว่ากระทรวงการคลังได้มีการนำภาษีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ในหลายส่วน ได้แก่ ภาษีสรรพสามิตเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม หรือการลดอัตราอากรขาเข้ากับอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น แต่ยังไม่มีภาษีสิ่งแวดล้อมโดยตรง โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีจากผู้ก่อมลพิษในหลายๆประเภทยังไม่มีกฎหมายรองรับ สำหรับบทบาทของท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้อยู่ในพื้นที่โดยตรงในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม พบว่ายังมีบทบาทจำกัดอยู่เนื่องจากไม่มีการจัดสรรรายได้ของท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ และท้องถิ่นนั้นยังขาดความชำนาญในการตรวจสอบและจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งแนวคิดการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นการบูรณาการภาษีสิ่งแวดล้อมไว้ในกฎหมายฉบับเดียว และให้โอกาสท้องถิ่นมีส่วนร่วมในรักษาสิ่งแวดล้อมและเพิ่มรายได้ให้แก่ท้องถิ่นโดยไม่ต้องรอการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลกลาง
นายสรร วิเทศพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้นำเสนอกลไกการระดมทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและปัญหาที่เกิดขึ้น สรุปได้ว่าตามกฎหมายการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กำหนดให้ อปท. สามารถดำเนินการก่อหนี้หรือกู้เงินได้ภายใต้กฎหมายการจัดตั้ง อปท. แต่ละประเภท และ พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ซึ่งได้กำหนดการแยกภาระหนี้เงินกู้ของ อปท. ออกจากภาระของรัฐบาลไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ การกู้เงินตราต่างประเทศสามารถกู้จากกระทรวงการคลังตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การกู้เงินของ อปท. นั้น จะสามารถกู้ได้เฉพาะกรณีที่เป็นโครงการลงทุน การปรับโครงสร้างหนี้ และการกู้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน โดยกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่าย และเมื่อรวมกับยอดหนี้คงค้าง ต้องไม่เกินร้อยละ 50 ของงบประมาณ โดยมีแหล่งเงินกู้ของ อปท. ที่สำคัญ เช่น สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารพาณิชย์ การออกพันธบัตร เป็นต้น นอกจากนี้ เงื่อนไขสำคัญในการออกพันธบัตรโดย อปท. ได้แก่ การที่ อปท. นั้นจะต้องมีมาตรฐานการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับของ สตง. และ/หรือ ก.ล.ต. จะต้องมีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนด ต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนด
นายสุพจน์ อาวาส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาเมืองในภูมิภาค ได้ให้ความเห็นว่าปัจจุบันประชาชนในพื้นที่และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นได้ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เนื่องจากได้ตระหนักถึงผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมต่อคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นได้จัดสรรเงินงบประมาณในการดูแลสิ่งแวดล้อมมากเป็นลำดับต้นๆของงบประมาณของ อปท. อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหา อปท.คงไม่สามารถพึ่งพา อปท.ได้เพียงอย่างเดียว เนื่องจาก อปท. มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ และมีศักยภาพจำกัด ดังนั้น การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นต้องได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน และต้องจิตสำนึกในการดูแลสิ่งแวดล้อม
สำหรับผลสรุปจากการประชุมในครั้งนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมอภิปรายที่เกี่ยวข้องกับการใช้มาตรการการคลังและการเงินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของภาคตะวันออกและระยอง รวมทั้ง ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลังจะดำเนินการพิจารณาและศึกษาต่อ เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 22/2550 27 มีนาคม 50--
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้กล่าวเปิดการสัมมนาวิชาการภายใต้โครงการขยายบทบาท สศค. สู่ภูมิภาค เรื่อง “แนวทางการวิเคราะห์และทิศทาง การพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดระยอง” และ “ปัญหาสิ่งแวดล้อม : นานาทัศนะในการแก้ไข” ในวันอังคารที่ 27 มีนาคม 2550 ณ ห้องสร้อยสุวรรณ โรงแรมสตาร์ จังหวัดระยอง และได้บรรยายเรื่อง เศรษฐกิจไทยและแนวโน้มในปี 2550 ดังนี้
ในปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยโดยรวมขยายตัวได้ดี โดยอยู่ในระดับร้อยละ 5.0 ต่อปี โดยได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการส่งออก อย่างไรก็ตาม ในปี 2550 นี้ การบริโภคและการลงทุนได้ชะลอตัวลงมาก ดังนั้น แนวนโยบายหลักในการบริหารเศรษฐกิจจะต้องเน้นกระตุ้นการลงทุนและการบริโภคของประเทศให้ฟื้นตัว โดยเฉพาะหากรัฐบาลสามารถเร่งเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมายที่ร้อยละ 93 ของกรอบวงเงินงบประมาณปี 2550 และรัฐวิสาหกิจสามารถเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนได้ตามเป้าหมายที่ร้อยละ 85 ของกรอบงบประมาณลงทุน ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศปรับลดลงมากพอที่จะเอื้อต่อการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันการขยายตัวของการบริโภครวมและการลงทุนรวม ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวได้ในกรณีสูงที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี
สำหรับแนวนโยบายบริหารเศรษฐกิจในภูมิภาคนั้น สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ คือ การสร้างให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืนและให้มีความสมดุล โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้มีส่วนร่วมในการบริหารเศรษฐกิจไทยซึ่งมีผลกระทบและมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคตะวันออกและจังหวัดระยองในช่วงที่ผ่านมา ในหลายด้าน อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักของจังหวัดระยองได้แก่ ปัญหามลพิษซึ่งสร้างผลลบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งขณะนี้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กำลังพิจารณามาตรการด้านการเงินการคลังในภาพรวมเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
ในช่วงต่อมา เป็นการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “แนวทางการวิเคราะห์และทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดระยอง” โดยมีนายพงศ์นคร โภชากรณ์ ผู้อำนวยการส่วนแบบจำลองและประมาณการเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง นำเสนอภาพรวมเศรษฐกิจของจังหวัดระยองนายทวีศักดิ์ ยิ้มตระกูล คลังจังหวัดระยอง นำเสนอทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดระยอง รวมทั้งแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม นายปรัชญา สมะลาภา ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดระยอง นำเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในมุมมองของภาคเอกชน โดยผลการเสวนา สรุปได้ว่า ภาคตะวันออกเป็นภาคที่มีขนาดของเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ รองจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยในปี 2548 ภาคตะวันออกมีขนาดเศรษฐกิจคิดเป็นร้อยละ 16.2 ของเศรษฐกิจประเทศ และจังหวัดระยอง ถือเป็นจังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองในภาคตะวันออก รองจากชลบุรี ทั้งนี้ โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดระยองได้มีการปรับเปลี่ยนอย่างมากหลังนโยบายการจัดตั้งโครงการ Eastern Seaboard ในปี 2524 จากในอดีตที่เคยมีภาคเกษตรกรรมเป็นหัวใจหลัก มาเป็นภาคอุตสาหกรรมเป็นภาคเศรษฐกิจหลักของจังหวัด โดยในปีที่ผ่านมา ภาคอุตสาหกรรมมีขนาดประมาณร้อยละ 80 ของเศรษฐกิจจังหวัด
อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของคนในจังหวัด เช่น ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ปัญหาความยากจน ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมถึงปัญหาสุขภาพของผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้เขตอุตสาหกรรม ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจากมุมมองของภาคเอกชน สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การสร้างกลไกการจัดสรรงบประมาณที่ตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ การกำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในพื้นที่ เพื่อให้สามารถนำเงินภาษีดังกล่าวมาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในจังหวัด และการนำมาตรการภาษีสิ่งแวดล้อมมาใช้ เป็นต้น ทั้งนี้ ในส่วนของภาครัฐได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวผ่านการจัดตั้งกองทุนระยองแข็งแรง ซึ่งคาดว่าจะได้รับงบประมาณในการจัดตั้งและขอรับการสนับสนุนจากผู้ประกอบการในพื้นที่ ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวจะมุ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประชาชน รวมถึงการให้ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพในจังหวัด
สำหรับการสัมมนาในช่วงบ่าย เป็นการสัมมนาในหัวข้อ “ปัญหาสิ่งแวดล้อม: นานาทัศนะในการแก้ไข” โดยมีรายละเอียดดังนี้
นายแพทย์กฤษณ์ ปาลสุทธิ์ นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง กล่าวว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมในจังหวัดระยองมีความรุนแรงมากขึ้นตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะบริเวณมาบตาพุดซึ่งเป็นแหล่งที่มีอุตสาหกรรมหนาแน่น โดยปัจจุบันจังหวัดระยองถูกจัดเป็นจังหวัดที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมอยู่ในลำดับต้นของประเทศที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหามลพิษนี้แฝงอยู่ในอากาศ น้ำ และขยะ ซึ่งสาเหตุมาจากสารพิษที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรม และขยะจากชุมชนและภาคอุตสาหกรรมที่ไม่สามารถกำจัดได้หมด นอกจากนี้ โรงงานในจังหวัดระยองมีจำนวนมากกว่า 1,700 โรง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพของของประชาชนในพื้นที่ เห็นได้จากจำนวนผู้ป่วยที่เข้าการรักษาเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ จังหวัดระยองยังมีปัญหาประชากรแฝงซึ่งทำให้ต้นทุนด้านสาธารณสุขเพิ่มขึ้นและทำให้ไม่สามารถดูแลประชาชนได้อย่างทั่วถึง
นางพัชนี การุณ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ชี้ให้เห็นว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เป็นแค่ปัญหาระดับท้องถิ่น แต่เป็นปัญหาระดับสากล ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือแก้ปัญหาแบบบูรณาการจากทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น เนื่องจากมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ เช่น พรบ. สาธารณสุข และพรบ.สิ่งแวดล้อม เป็นต้น และไม่มีเจ้าภาพที่ชัดเจน นอกจากนี้ ปัญหาสำคัญในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเน้นการแก้ปัญหาเชิงรับ มากกว่าการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ รวมถึงเน้นการรณรงค์ และจูงใจมากกว่าการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมาย ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในจังหวัดระยองนั้น รัฐควรมีหน่วยงานกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการในพื้นที่จังหวัดระยอง พัฒนาระบบฐานข้อมูลและเพิ่มศักยภาพขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงมีการสนับสนุนด้านอุปกรณ์และงบประมาณอย่างพอเพียงในการดำเนินการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการกลุ่มการวางแผนภาษีในภาพรวม สศค. ได้นำเสนอการนำภาษีสิ่งแวดล้อมมาใช้เป็นทางเลือกสำหรับการบริหารจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ในปัจจุบันแม้ว่ากระทรวงการคลังได้มีการนำภาษีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ในหลายส่วน ได้แก่ ภาษีสรรพสามิตเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม หรือการลดอัตราอากรขาเข้ากับอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น แต่ยังไม่มีภาษีสิ่งแวดล้อมโดยตรง โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีจากผู้ก่อมลพิษในหลายๆประเภทยังไม่มีกฎหมายรองรับ สำหรับบทบาทของท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้อยู่ในพื้นที่โดยตรงในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม พบว่ายังมีบทบาทจำกัดอยู่เนื่องจากไม่มีการจัดสรรรายได้ของท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ และท้องถิ่นนั้นยังขาดความชำนาญในการตรวจสอบและจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งแนวคิดการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นการบูรณาการภาษีสิ่งแวดล้อมไว้ในกฎหมายฉบับเดียว และให้โอกาสท้องถิ่นมีส่วนร่วมในรักษาสิ่งแวดล้อมและเพิ่มรายได้ให้แก่ท้องถิ่นโดยไม่ต้องรอการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลกลาง
นายสรร วิเทศพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้นำเสนอกลไกการระดมทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและปัญหาที่เกิดขึ้น สรุปได้ว่าตามกฎหมายการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กำหนดให้ อปท. สามารถดำเนินการก่อหนี้หรือกู้เงินได้ภายใต้กฎหมายการจัดตั้ง อปท. แต่ละประเภท และ พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ซึ่งได้กำหนดการแยกภาระหนี้เงินกู้ของ อปท. ออกจากภาระของรัฐบาลไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ การกู้เงินตราต่างประเทศสามารถกู้จากกระทรวงการคลังตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การกู้เงินของ อปท. นั้น จะสามารถกู้ได้เฉพาะกรณีที่เป็นโครงการลงทุน การปรับโครงสร้างหนี้ และการกู้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน โดยกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่าย และเมื่อรวมกับยอดหนี้คงค้าง ต้องไม่เกินร้อยละ 50 ของงบประมาณ โดยมีแหล่งเงินกู้ของ อปท. ที่สำคัญ เช่น สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารพาณิชย์ การออกพันธบัตร เป็นต้น นอกจากนี้ เงื่อนไขสำคัญในการออกพันธบัตรโดย อปท. ได้แก่ การที่ อปท. นั้นจะต้องมีมาตรฐานการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับของ สตง. และ/หรือ ก.ล.ต. จะต้องมีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนด ต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนด
นายสุพจน์ อาวาส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาเมืองในภูมิภาค ได้ให้ความเห็นว่าปัจจุบันประชาชนในพื้นที่และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นได้ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เนื่องจากได้ตระหนักถึงผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมต่อคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นได้จัดสรรเงินงบประมาณในการดูแลสิ่งแวดล้อมมากเป็นลำดับต้นๆของงบประมาณของ อปท. อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหา อปท.คงไม่สามารถพึ่งพา อปท.ได้เพียงอย่างเดียว เนื่องจาก อปท. มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ และมีศักยภาพจำกัด ดังนั้น การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นต้องได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน และต้องจิตสำนึกในการดูแลสิ่งแวดล้อม
สำหรับผลสรุปจากการประชุมในครั้งนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมอภิปรายที่เกี่ยวข้องกับการใช้มาตรการการคลังและการเงินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของภาคตะวันออกและระยอง รวมทั้ง ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลังจะดำเนินการพิจารณาและศึกษาต่อ เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 22/2550 27 มีนาคม 50--