กรุงเทพ--8 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
- เมื่อวันที่ 4 -5 มีนาคม 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีในอนุภูมิภาคเพื่อการต่อต้านการก่อการร้าย
ซึ่งการประชุมนี้ถือเป็นการประชุมในวงเล็ก (sub-regional) ของ Bali Process โดยมีเพียง 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเข้าร่วม ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย และไทย ซึ่งประเทศเหล่านี้ถือเป็นประเทศที่มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการต่อต้านการก่อการร้ายในภูมิภาค
- ทุกประเทศที่เข้าร่วมได้ให้ความสำคัญกับการประชุมนี้และได้ส่งคณะผู้แทนระดับสูงเข้าร่วม อันประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้แทนระดับสูงด้านความมั่นคง
- ประเทศไทยได้ใช้เวทีการหารือนี้เพื่อการกระชับความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อการต่อต้านการก่อการร้าย โดยเฉพาะในการต่อต้านการแพร่ขยายของลัทธินิยมความรุนแรง (extremism) การข่าว การสอดส่องควบคุมความเคลื่อนไหวและการจัดการกับยุทธวิธีของสมาชิกขบวนการก่อการร้าย เงินทุน อาวุธ และวัตถุที่ใช้ประโยชน์สองทาง
- ประเทศไทยยังได้ให้ความสำคัญกับการขยายความร่วมมือในการเสริมสร้างขีดความสามารถ (capacity building) ในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย การเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่ดี (best practices) จากประเทศอื่นในภูมิภาค
- ที่ประชุมฯ ได้หารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อประเมินเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของการก่อการร้ายในภูมิภาค ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าว remarks ต่อที่ประชุมร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย ฟิลลิปปินส์ และออสเตรเลียด้วย
- ต่อมา นายนิตย์ฯ ได้หารือทวิภาคีกับ Dr. Hassan Wirajuda รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย และนาย Alexander Downer รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย เกี่ยวกับความคืบหน้าในการดำเนินการปราบปรามขบวนการก่อการร้าย สถานการณ์ปัจจุบัน และภารกิจที่จะดำเนินการในระยะต่อไป
- จากการหารือนี้ ทุกประเทศเห็นพ้องว่า การดำเนินการปราบปรามการก่อการร้ายในภูมิภาคประสบผลสำเร็จโดยประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคมีขีดความสามารถและความพร้อมมากขึ้นโดยมีการพัฒนากรอบความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่าง ๆ และทุกฝ่ายเห็นพ้องให้ดำเนินการในระยะต่อไปตามแนวทาง 3 ส่วน ได้แก่
1) การดำเนินการภายในประเทศ (National Effort) โดยเฉพาะการเสริมสร้างขีดความสามารถในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว
2) ความร่วมมือระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ และ
3) การเอาชนะใจประชาชน
- ในช่วงระหว่างการหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย นายนิตย์ฯ ได้รับทราบถึงข้อกังวลของทางการอินโดนีเซียเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้และได้ยืนยันกับทางการอินโดนีเซียว่า ประเทศไทยกำลังดำเนินมาตรการและนโยบายหลายด้านในลักษณะคู่ขนาน ได้แก่ การพัฒนาการศึกษา การปรับปรุงโครงสร้างทางสังคม การส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศ การสร้างความยุติธรรมให้กับประชาชน และการฟื้นฟูศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นต้น ทั้งนี้ การดำเนินนโยบายดังกล่าวเป็นไปตามหลักการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดปัจจุบัน คือ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา”
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
- เมื่อวันที่ 4 -5 มีนาคม 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีในอนุภูมิภาคเพื่อการต่อต้านการก่อการร้าย
ซึ่งการประชุมนี้ถือเป็นการประชุมในวงเล็ก (sub-regional) ของ Bali Process โดยมีเพียง 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเข้าร่วม ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย และไทย ซึ่งประเทศเหล่านี้ถือเป็นประเทศที่มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการต่อต้านการก่อการร้ายในภูมิภาค
- ทุกประเทศที่เข้าร่วมได้ให้ความสำคัญกับการประชุมนี้และได้ส่งคณะผู้แทนระดับสูงเข้าร่วม อันประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้แทนระดับสูงด้านความมั่นคง
- ประเทศไทยได้ใช้เวทีการหารือนี้เพื่อการกระชับความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อการต่อต้านการก่อการร้าย โดยเฉพาะในการต่อต้านการแพร่ขยายของลัทธินิยมความรุนแรง (extremism) การข่าว การสอดส่องควบคุมความเคลื่อนไหวและการจัดการกับยุทธวิธีของสมาชิกขบวนการก่อการร้าย เงินทุน อาวุธ และวัตถุที่ใช้ประโยชน์สองทาง
- ประเทศไทยยังได้ให้ความสำคัญกับการขยายความร่วมมือในการเสริมสร้างขีดความสามารถ (capacity building) ในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย การเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่ดี (best practices) จากประเทศอื่นในภูมิภาค
- ที่ประชุมฯ ได้หารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อประเมินเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของการก่อการร้ายในภูมิภาค ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าว remarks ต่อที่ประชุมร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย ฟิลลิปปินส์ และออสเตรเลียด้วย
- ต่อมา นายนิตย์ฯ ได้หารือทวิภาคีกับ Dr. Hassan Wirajuda รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย และนาย Alexander Downer รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย เกี่ยวกับความคืบหน้าในการดำเนินการปราบปรามขบวนการก่อการร้าย สถานการณ์ปัจจุบัน และภารกิจที่จะดำเนินการในระยะต่อไป
- จากการหารือนี้ ทุกประเทศเห็นพ้องว่า การดำเนินการปราบปรามการก่อการร้ายในภูมิภาคประสบผลสำเร็จโดยประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคมีขีดความสามารถและความพร้อมมากขึ้นโดยมีการพัฒนากรอบความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่าง ๆ และทุกฝ่ายเห็นพ้องให้ดำเนินการในระยะต่อไปตามแนวทาง 3 ส่วน ได้แก่
1) การดำเนินการภายในประเทศ (National Effort) โดยเฉพาะการเสริมสร้างขีดความสามารถในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว
2) ความร่วมมือระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ และ
3) การเอาชนะใจประชาชน
- ในช่วงระหว่างการหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย นายนิตย์ฯ ได้รับทราบถึงข้อกังวลของทางการอินโดนีเซียเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้และได้ยืนยันกับทางการอินโดนีเซียว่า ประเทศไทยกำลังดำเนินมาตรการและนโยบายหลายด้านในลักษณะคู่ขนาน ได้แก่ การพัฒนาการศึกษา การปรับปรุงโครงสร้างทางสังคม การส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศ การสร้างความยุติธรรมให้กับประชาชน และการฟื้นฟูศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นต้น ทั้งนี้ การดำเนินนโยบายดังกล่าวเป็นไปตามหลักการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดปัจจุบัน คือ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา”
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-