ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตือนประชาชนให้ระมัดระวังธนบัตรปลอม หลังปรากฏข่าวการจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับธนบัตรปลอม ในพื้นที่หลายจังหวัดของประเทศไทย พร้อมแนะเทคนิคการสังเกตธนบัตรปลอม
ธนาคารแห่งประเทศไทยเตือนประชาชนให้สังเกตธนบัตรที่ใช้หรือได้รับทุกครั้งว่า เป็นธนบัตรรัฐบาลที่ถูกต้อง มีความสมบูรณ์ ครบถ้วนทั้งฉบับ โดยเฉพาะธนบัตรชนิดราคา 1000 บาท และ 100 บาท เนื่องจากธนบัตรปลอมที่ตรวจพบและจับกุมได้ส่วนใหญ่จะเป็นธนบัตรปลอมชนิดราคา 1000 บาทและ 100 บาท รุ่นที่ไม่มีแถบฟอยล์บนด้านหน้าธนบัตร ซึ่งเป็นธนบัตรรุ่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างเร่งเก็บออกจากการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ส่วนการสังเกตธนบัตรรัฐบาลไทยในเบื้องต้นพิจารณาได้ ดังนี้
1. ลายน้ำ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปลายพุ่มข้าวบิณฑ์ มองเห็นได้ชัดเจน โปร่งแสงเป็นพิเศษ เมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่าง ส่วนในธนบัตรปลอม จะเห็นเป็นภาพพิมพ์อยู่ด้านหน้าหรือด้านหลังธนบัตร
2. เส้นใยสีโลหะ ฝังในเนื้อกระดาษตามแนวยืน เมื่อยกธนบัตรดูกับแสงสว่างจะเห็นตัวเลข และตัวอักษรโปร่งแสง ส่วนในธนบัตรปลอมจะไม่มีเส้นใยฝังอยู่ในเนื้อกระดาษ แต่อาจใช้ สีพิมพ์ให้ดูคล้ายเส้นแทน หรือใช้สีบรอนส์เงินระบายเป็นระยะ ๆ ที่ด้านหลังธนบัตร
3. พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ตัวอักษรและตัวเลขแจ้งราคา พิมพ์เส้นนูน จะรู้สึกสะดุดเมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ ส่วนในธนบัตรปลอมจะพิมพ์ด้วยระบบออฟเซต หรือสแกนและพิมพ์จากคอมพิวเตอร์ เมื่อใช้ปลายนิ้วมือลูบจะรู้สึกราบเรียบ
ธนาคารแห่งประเทศไทย ขอความร่วมมือประชาชนโปรดแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับธนบัตรปลอมที่ ตู้ ปณ.18 ปณฝ. วังเทวะเวสม์ กรุงเทพฯ 10205 หรือสถานีตำรวจทั่วประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้การป้องปรามธนบัตรปลอมของทางราชการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และหากเบาะแสที่แจ้งสามารถนำไปสู่การจับกุมผู้กระทำผิดได้ จะมีสิทธิได้รับเงินสินบนในวงเงินร้อยละ 30 ของมูลค่าธนบัตรปลอมและอุปกรณ์ผลิตธนบัตรปลอม แต่ไม่เกิน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) โดยทางการจะปกปิดข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสไว้เป็นความลับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ธนาคารแห่งประเทศไทยเตือนประชาชนให้สังเกตธนบัตรที่ใช้หรือได้รับทุกครั้งว่า เป็นธนบัตรรัฐบาลที่ถูกต้อง มีความสมบูรณ์ ครบถ้วนทั้งฉบับ โดยเฉพาะธนบัตรชนิดราคา 1000 บาท และ 100 บาท เนื่องจากธนบัตรปลอมที่ตรวจพบและจับกุมได้ส่วนใหญ่จะเป็นธนบัตรปลอมชนิดราคา 1000 บาทและ 100 บาท รุ่นที่ไม่มีแถบฟอยล์บนด้านหน้าธนบัตร ซึ่งเป็นธนบัตรรุ่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างเร่งเก็บออกจากการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ส่วนการสังเกตธนบัตรรัฐบาลไทยในเบื้องต้นพิจารณาได้ ดังนี้
1. ลายน้ำ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปลายพุ่มข้าวบิณฑ์ มองเห็นได้ชัดเจน โปร่งแสงเป็นพิเศษ เมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่าง ส่วนในธนบัตรปลอม จะเห็นเป็นภาพพิมพ์อยู่ด้านหน้าหรือด้านหลังธนบัตร
2. เส้นใยสีโลหะ ฝังในเนื้อกระดาษตามแนวยืน เมื่อยกธนบัตรดูกับแสงสว่างจะเห็นตัวเลข และตัวอักษรโปร่งแสง ส่วนในธนบัตรปลอมจะไม่มีเส้นใยฝังอยู่ในเนื้อกระดาษ แต่อาจใช้ สีพิมพ์ให้ดูคล้ายเส้นแทน หรือใช้สีบรอนส์เงินระบายเป็นระยะ ๆ ที่ด้านหลังธนบัตร
3. พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ตัวอักษรและตัวเลขแจ้งราคา พิมพ์เส้นนูน จะรู้สึกสะดุดเมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ ส่วนในธนบัตรปลอมจะพิมพ์ด้วยระบบออฟเซต หรือสแกนและพิมพ์จากคอมพิวเตอร์ เมื่อใช้ปลายนิ้วมือลูบจะรู้สึกราบเรียบ
ธนาคารแห่งประเทศไทย ขอความร่วมมือประชาชนโปรดแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับธนบัตรปลอมที่ ตู้ ปณ.18 ปณฝ. วังเทวะเวสม์ กรุงเทพฯ 10205 หรือสถานีตำรวจทั่วประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้การป้องปรามธนบัตรปลอมของทางราชการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และหากเบาะแสที่แจ้งสามารถนำไปสู่การจับกุมผู้กระทำผิดได้ จะมีสิทธิได้รับเงินสินบนในวงเงินร้อยละ 30 ของมูลค่าธนบัตรปลอมและอุปกรณ์ผลิตธนบัตรปลอม แต่ไม่เกิน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) โดยทางการจะปกปิดข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสไว้เป็นความลับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--