กรุงเทพ--30 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2550 นายชัยยงค์ สัจจิพานนท์ อดีตเอกอัครราชทูต/ผู้แทนถาวรไทยประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ได้เป็นผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยเรื่องสาธารณสุขโลกและนโยบายต่างประเทศ (Global Health and Foreign Policy) ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ โดยมีผู้เข้าร่วมจากประเทศนอร์เวย์ และฝรั่งเศส ในฐานะประเทศที่ได้ริเริ่มโครงการนี้ และบราซิล อินโดนีเซีย เซเนกัล แอฟริกาใต้ และไทย ในฐานะประเทศที่ได้รับเชิญเข้าร่วม รวมจำนวน 7 ประเทศ
กรอบความร่วมมือนี้มีความมุ่งหมายที่จะพิจารณาความเชื่อมโยงระหว่างสาธารณสุขโลกและนโยบายต่างประเทศ เพื่อศึกษาบทบาทของนโยบายต่างประเทศในการส่งเสริมความสำคัญของสาธารณสุขโลก โดยการประชุมระดับรัฐมนตรีดังกล่าวนับเป็นการเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการ โดยที่ประชุมฯ ได้รับรองเอกสาร Ministerial Declaration และ Agenda for Action ว่าด้วยความเชื่อมโยงและการดำเนินงานตามความมุ่งหมายในทั้งสองประเด็นดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการนำเสนอข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเบื้องต้น
สารัตถะในเอกสารที่รับรองโดยที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประชุมคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญ (Experts Group) ของกลุ่มประเทศ Group of Seven จำนวน 4 ครั้ง ที่กรุงปารีส นครนิวยอร์ก กรุงดาการ์ และนครเจนีวา ในรอบหกเดือนที่ผ่านมา ซึ่งผู้แทนจากประเทศไทย ได้แก่ นพ. สุวิทย์ วิบูลผลประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสของกระทรวงสาธารณสุข ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเหล่านี้ได้พิจารณาศึกษาหาความเชื่อมโยงของสาธารณสุขโลกและนโยบายต่างประเทศ โดยเฉพาะบทบาทของนโยบายต่างประเทศในประเด็น/สภาวะต่างๆ เช่น ในการปกป้องและการประสานความร่วมมือต่อต้านการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่สำคัญ การปกป้องสาธารณสุขในสภาวะสงครามและวิกฤติการณ์ การเข้าถึงยารักษาโรคของประชาชน การรักษาทรัพยากรมนุษย์ด้านสาธารณสุข (แพทย์และพยาบาล) ของประเทศ ฯลฯ ในการนี้ คณะทำงานฯ เห็นพ้องกันว่า ภัยคุกคามต่อสาธารณสุขในโลกปัจจุบันไม่ถูกจำกัดตามเขตแดนที่แบ่งแยกประเทศ หากแต่มีผลทำให้ทุกประเทศต้องตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงร่วมกัน (shared vulnerability) และเห็นโอกาสที่นโยบายต่างประเทศจะเข้ามามีบทบาทช่วยจัดการกับความเสี่ยงเหล่านี้
การประชุมระดับรัฐมนตรีฯ ที่กรุงออสโลได้หารือกันเกี่ยวกับแผนการดำเนินการต่อไป ซึ่งนอกจากกำหนดจะผลิตและแจกจ่ายรายงาน Final Report ของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ให้กว้างขวางภายในกลางปีนี้แล้ว ผู้แทนประเทศต่างๆ ได้เห็นพ้องกันที่จะเสนอรายงานดังกล่าวอย่างเป็นทางการต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติในปี 2550 นี้ เพื่อเชิญชวนให้ประเทศอื่นๆ เข้าร่วมโครงการนี้ต่อไป
ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการโยงและประสานงานระหว่างประเด็นสาธารณสุขและนโยบายการต่างประเทศเป็นอย่างมาก และโดยที่ประเทศไทยมีบทบาทนำทั้งในภูมิภาคและในเวทีโลกในเรื่องสาธารณสุข เช่น การจัดการกับโรคไขหวัดนก โรค SARS และโรคเอดส์ จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะใช้เวทีนี้ในการถ่ายทอดประสบการณ์การปฏิบัติที่ดีของไทยและร่วมในการจัดทำแผนการดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญของไทยได้มีบทบาทอย่างแข็งขันในการร่วมยกร่างเอกสารที่สำคัญทั้งสองฉบับข้างต้น การเข้าร่วมของไทยดังกล่าวทั้งในระดับผู้เชี่ยวชาญและในการประชุมระดับรัฐมนตรีจึงนับเป็นการเสริมสร้างชื่อเสียงด้านการสาธารณสุขและการต่างประเทศของไทยในอีกโอกาสหนึ่ง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2550 นายชัยยงค์ สัจจิพานนท์ อดีตเอกอัครราชทูต/ผู้แทนถาวรไทยประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ได้เป็นผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยเรื่องสาธารณสุขโลกและนโยบายต่างประเทศ (Global Health and Foreign Policy) ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ โดยมีผู้เข้าร่วมจากประเทศนอร์เวย์ และฝรั่งเศส ในฐานะประเทศที่ได้ริเริ่มโครงการนี้ และบราซิล อินโดนีเซีย เซเนกัล แอฟริกาใต้ และไทย ในฐานะประเทศที่ได้รับเชิญเข้าร่วม รวมจำนวน 7 ประเทศ
กรอบความร่วมมือนี้มีความมุ่งหมายที่จะพิจารณาความเชื่อมโยงระหว่างสาธารณสุขโลกและนโยบายต่างประเทศ เพื่อศึกษาบทบาทของนโยบายต่างประเทศในการส่งเสริมความสำคัญของสาธารณสุขโลก โดยการประชุมระดับรัฐมนตรีดังกล่าวนับเป็นการเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการ โดยที่ประชุมฯ ได้รับรองเอกสาร Ministerial Declaration และ Agenda for Action ว่าด้วยความเชื่อมโยงและการดำเนินงานตามความมุ่งหมายในทั้งสองประเด็นดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการนำเสนอข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเบื้องต้น
สารัตถะในเอกสารที่รับรองโดยที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประชุมคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญ (Experts Group) ของกลุ่มประเทศ Group of Seven จำนวน 4 ครั้ง ที่กรุงปารีส นครนิวยอร์ก กรุงดาการ์ และนครเจนีวา ในรอบหกเดือนที่ผ่านมา ซึ่งผู้แทนจากประเทศไทย ได้แก่ นพ. สุวิทย์ วิบูลผลประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสของกระทรวงสาธารณสุข ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเหล่านี้ได้พิจารณาศึกษาหาความเชื่อมโยงของสาธารณสุขโลกและนโยบายต่างประเทศ โดยเฉพาะบทบาทของนโยบายต่างประเทศในประเด็น/สภาวะต่างๆ เช่น ในการปกป้องและการประสานความร่วมมือต่อต้านการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่สำคัญ การปกป้องสาธารณสุขในสภาวะสงครามและวิกฤติการณ์ การเข้าถึงยารักษาโรคของประชาชน การรักษาทรัพยากรมนุษย์ด้านสาธารณสุข (แพทย์และพยาบาล) ของประเทศ ฯลฯ ในการนี้ คณะทำงานฯ เห็นพ้องกันว่า ภัยคุกคามต่อสาธารณสุขในโลกปัจจุบันไม่ถูกจำกัดตามเขตแดนที่แบ่งแยกประเทศ หากแต่มีผลทำให้ทุกประเทศต้องตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงร่วมกัน (shared vulnerability) และเห็นโอกาสที่นโยบายต่างประเทศจะเข้ามามีบทบาทช่วยจัดการกับความเสี่ยงเหล่านี้
การประชุมระดับรัฐมนตรีฯ ที่กรุงออสโลได้หารือกันเกี่ยวกับแผนการดำเนินการต่อไป ซึ่งนอกจากกำหนดจะผลิตและแจกจ่ายรายงาน Final Report ของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ให้กว้างขวางภายในกลางปีนี้แล้ว ผู้แทนประเทศต่างๆ ได้เห็นพ้องกันที่จะเสนอรายงานดังกล่าวอย่างเป็นทางการต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติในปี 2550 นี้ เพื่อเชิญชวนให้ประเทศอื่นๆ เข้าร่วมโครงการนี้ต่อไป
ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการโยงและประสานงานระหว่างประเด็นสาธารณสุขและนโยบายการต่างประเทศเป็นอย่างมาก และโดยที่ประเทศไทยมีบทบาทนำทั้งในภูมิภาคและในเวทีโลกในเรื่องสาธารณสุข เช่น การจัดการกับโรคไขหวัดนก โรค SARS และโรคเอดส์ จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะใช้เวทีนี้ในการถ่ายทอดประสบการณ์การปฏิบัติที่ดีของไทยและร่วมในการจัดทำแผนการดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญของไทยได้มีบทบาทอย่างแข็งขันในการร่วมยกร่างเอกสารที่สำคัญทั้งสองฉบับข้างต้น การเข้าร่วมของไทยดังกล่าวทั้งในระดับผู้เชี่ยวชาญและในการประชุมระดับรัฐมนตรีจึงนับเป็นการเสริมสร้างชื่อเสียงด้านการสาธารณสุขและการต่างประเทศของไทยในอีกโอกาสหนึ่ง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-