ถ้าอยู่ในความประมาท - ชาติวิกฤตแน่นอน
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
20 เมษายน 2550
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ดูจะมีการพูดถึงวิกฤตการในบ้านเมืองกันมากขึ้น บ้างก็มีความเห็นว่าอาจมีวิกฤตซ้ำซ้อนขึ้นมาอีกถึงขั้นที่อาจจะไม่มีการเลือกตั้งในช่วงเดือนธันวาคม ตามที่นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ ได้ประกาศเอาไว้บ้างก็มีความเห็นว่าอาจมีวิกฤตถึงขั้นนองเลือด และบ้างก็มีความเห็นว่านายกรัฐมนตรี ควรจะได้ปรับครม.เพื่อให้งานของรัฐบาลมีความก้าวหน้ามากกว่าที่เป็นอยู่
ที่สำคัญก็คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลเองก็ได้ให้สัมภาษณ์ว่าอาจมีการปรับครม. และอาจมีรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงอีกด้วย ซึ่งหลังสุดนายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ ก็ให้สัมภาษณ์ยอมรับว่าจะมีการปรับครม.แน่นอนแต่รายละเอียดคงยังบอกไม่ได้ และคงไม่มีรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เพราะมี คมช. ดูแลงานทางด้านความมั่นคงอยู่แล้ว
ความจริงทั้ง 2 เรื่อง คือทั้งเรื่องอาจมีวิกฤตซ้ำซ้อนในบ้านเมืองขึ้นมาอีกได้ และทั้งเรื่องการปรับครม. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงนั้นเป็นเรื่องที่ผมได้เคยแสดงความคิดเห็นผ่านรายการนี้มาแล้วทั้งสิ้น
ผมได้วิเคราะห์เอาไว้ตั้งแต่เมื่อตอนต้นเดือนธันวาคม 2549 ในบทความเรื่อง “10 ธันวาไม่มีปัญหา แต่ปีหน้าอันตราย” โดยได้ชี้ให้เห็นสถานการณ์ในหลาย ๆ เรื่องที่จะมาบรรจบกันพอดีในตอนต้นปี 2550 ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดวิกฤตทางการเมืองขึ้นมาอีกได้ แม้กระทั่งเรื่องของการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทั้งนี้ก็เพื่อเตือนสติ รัฐบาล คมช. และผู้เกี่ยวข้องให้ได้เพิ่มความระมัดระวัง และหาทางป้องกันแก้ไข เพราะการมีวิกฤตซ้ำซ้อนขึ้นมาอีกไม่ใช่เรื่องดี สำหรับประเทศอย่างแน่นอน
เพื่อให้รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องมีความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา เพราะไม่อยากเห็นวิกฤตเกิดขึ้นซ้ำซ้อนนี่แหละ ผมจึงได้เสนอความเห็นให้ปรับครม. ด้วยการปรับใหญ่ พร้อมทั้งปรับวิธีการทำงานเสียใหม่ ในบทความหลายบทความอย่างต่อเนื่อง ทั้ง “ปรับครม. เพื่อประสิทธิภาพความมั่นคงปลอดภัย” “ปรับครม.สร้างทีมใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหาชาติ” “รัฐบาลกับความพร้อมที่ควรมีมากกว่าเดิม” และ “ถึงเวลาปรับใหญ่ ครม.” ซึ่งก็มีความเห็นทำนองเดียวกันนี้จากคอลัมนิสต์และใครต่อใครหลายคนผ่านทางสื่อเช่นเดียวกัน
มีการปรับ ครม. เกิดขึ้นแต่ก็เป็นการปรับเล็ก คือมีการแต่งตั้งครม.เพิ่มขึ้นทีละคน สองคน เท่านั้น จึงไม่เพียงพอแก่การจะรับมือกับปัญหาและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่สำคัญก็คือไม่สามารถที่จะสร้างความหวังและความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนได้เท่าที่ควร ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อนายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จึงลดลงเรื่อยมาจนน่าวิตก
เมื่อมาถึงขณะนี้ในขณะที่หลายฝ่ายแม้กระทั่งคมช.เองยอมรับว่าได้มองเห็นเค้าลางแห่งความยุ่งยากเพิ่มมากยิ่งขึ้นแล้ว ผมก็ยังไม่ค่อยแน่ใจว่า นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์จะได้มองเห็นเช่นเดียวกันหรือไม่ เพราะก็เพียงแต่ได้เห็นนายกรัฐมนตรีเริ่มเคลื่อนไหวในลักษณะเป็นศูนย์กลางของการปรึกษาหารือเมื่อรับมือกับปัญหาและสถานการณ์มากขึ้น แต่ก็ยังไม่น่าจะเพียงพอสำหรับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ซึ่งผมเห็นว่า
1. นายกรัฐมนตรีควรจะได้มองเห็นและมีความเข้าใจว่าปัญหาและสถานการณ์จะเพิ่มความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน ทั้งปัญหาและสถานการณ์ที่พัฒนาขึ้นตามความเป็นจริง และทั้งที่มีคนสร้างขึ้นเพื่อรุมเร้ารัฐบาล คมช. และผู้เกี่ยวข้องเพื่อลดความเชื่อมั่น และลดโอกาสในการทำงานเพื่อพิสูจน์ความจริงของข้อกล่าวอ้างในการยึดอำนาจ
2. การเพิ่มความเชื่อมั่นในรัฐบาลเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลต้องสร้างขึ้นมาให้ได้และโดยที่การปรับ ครม. เท่าที่รับฟังตามข่าวก็คงไม่อาจที่สร้างความเชื่อมั่นได้มากนัก การปรับวิธีการทำงานเสียใหม่ ที่ทันต่อปัญหาและสถานการณ์และทันเกมการเมืองมากขึ้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง การมีทีมงานเฉพาะกิจเพื่อจัดการกับปัญหาสำคัญเร่งด่วนเป็นเรื่อง ๆ ไป รวมทั้งทีมงานประชาสัมพันธ์เชิงรุกที่มีอยู่ก็ควรจะได้ปรับปรุงขึ้นมาใหม่
3. ภาพที่ทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นอย่างสำคัญก็คือภาพที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจว่า มีความไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างรัฐบาลและคมช. ทั้งรัฐบาลและคมช. จึงควรจะได้ระมัดระวังเรื่องนี้
4. การเคลื่อนไหวของนายกรัฐมนตรีในลักษณะเป็นศูนย์กลางระหว่างรัฐบาล คมช. และองค์กรต่าง ๆ เพื่อเตรียมการรับมือกับปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องดีและควรทำให้มากยิ่งขึ้น
5. การยืนยันของนายกรัฐมนตรีในการให้การสนับสนุน คตส. ก็เป็นเรื่องดี แต่ควรจะได้ทำให้เป็นจริง ด้วยการกำหนดเป็นมติครม. ให้ข้าราชการและพนักงานของรัฐ ต้องถือเป็นหน้าที่ในการให้ความร่วมมือกับ คตส. โดยไม่ชักช้า มิฉะนั้นจะถือเป็นการทำผิดวินัยและกฎหมายที่ว่าด้วยการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
6. เมื่อนายกรัฐมนตรียังคงยืนยันที่จะมีให้มีการเลือกตั้งในตอนปลายปี 2550 นี้ นายกรัฐมนตรีก็ควรที่จะได้ประกาศกำหนดให้การเลือกตั้งที่สุจริต และเที่ยงธรรม เป็นวาระแห่งชาติ พร้อม ๆ กับประกาศให้การสนับสนุนกกต. และองค์กรที่เกี่ยวข้องทุกองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรภาคประชาชนให้ได้มีความพร้อมและมีส่วนร่วมในการนี้
7. รัฐบาลต้องจัดดำเนินการให้มีการใช้สื่อของรัฐในการเสริมสร้างบรรยากาศของการจัดทำรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่เพื่อสร้างความเข้าใจและความมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อลดบรรยากาศของความขัดแย้งเพราะขาดความเข้าใจและความไม่ไว้วางใจพร้อม ๆ กับการสร้างบรรยากาศของการเตรียมการเลือกตั้งไปในเวลาเดียวกันด้วย
ผมมั่นใจว่าหากรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ ทำได้ครบถ้วนเพียงเท่านี้ก็คงจะเรียกคืนความเชื่อมั่นได้มากขึ้นเพราะถือได้ว่ามีความพร้อมพอที่จะรับมือกับปัญหาและสถานการณ์ทั้งที่เป็นจริงและที่มีคนสร้างขึ้นได้และที่เกรงกันว่าอาจจะวิกฤตถึงขั้นนองเลือดก็คงไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าขาดความอดทนที่จะต้องทำงานหนักและตั้งอยู่ในความประมาท ชาติวิกฤตแน่นอน.
*****************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20 เม.ย. 2550--จบ--
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
20 เมษายน 2550
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ดูจะมีการพูดถึงวิกฤตการในบ้านเมืองกันมากขึ้น บ้างก็มีความเห็นว่าอาจมีวิกฤตซ้ำซ้อนขึ้นมาอีกถึงขั้นที่อาจจะไม่มีการเลือกตั้งในช่วงเดือนธันวาคม ตามที่นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ ได้ประกาศเอาไว้บ้างก็มีความเห็นว่าอาจมีวิกฤตถึงขั้นนองเลือด และบ้างก็มีความเห็นว่านายกรัฐมนตรี ควรจะได้ปรับครม.เพื่อให้งานของรัฐบาลมีความก้าวหน้ามากกว่าที่เป็นอยู่
ที่สำคัญก็คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลเองก็ได้ให้สัมภาษณ์ว่าอาจมีการปรับครม. และอาจมีรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงอีกด้วย ซึ่งหลังสุดนายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ ก็ให้สัมภาษณ์ยอมรับว่าจะมีการปรับครม.แน่นอนแต่รายละเอียดคงยังบอกไม่ได้ และคงไม่มีรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เพราะมี คมช. ดูแลงานทางด้านความมั่นคงอยู่แล้ว
ความจริงทั้ง 2 เรื่อง คือทั้งเรื่องอาจมีวิกฤตซ้ำซ้อนในบ้านเมืองขึ้นมาอีกได้ และทั้งเรื่องการปรับครม. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงนั้นเป็นเรื่องที่ผมได้เคยแสดงความคิดเห็นผ่านรายการนี้มาแล้วทั้งสิ้น
ผมได้วิเคราะห์เอาไว้ตั้งแต่เมื่อตอนต้นเดือนธันวาคม 2549 ในบทความเรื่อง “10 ธันวาไม่มีปัญหา แต่ปีหน้าอันตราย” โดยได้ชี้ให้เห็นสถานการณ์ในหลาย ๆ เรื่องที่จะมาบรรจบกันพอดีในตอนต้นปี 2550 ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดวิกฤตทางการเมืองขึ้นมาอีกได้ แม้กระทั่งเรื่องของการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทั้งนี้ก็เพื่อเตือนสติ รัฐบาล คมช. และผู้เกี่ยวข้องให้ได้เพิ่มความระมัดระวัง และหาทางป้องกันแก้ไข เพราะการมีวิกฤตซ้ำซ้อนขึ้นมาอีกไม่ใช่เรื่องดี สำหรับประเทศอย่างแน่นอน
เพื่อให้รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องมีความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา เพราะไม่อยากเห็นวิกฤตเกิดขึ้นซ้ำซ้อนนี่แหละ ผมจึงได้เสนอความเห็นให้ปรับครม. ด้วยการปรับใหญ่ พร้อมทั้งปรับวิธีการทำงานเสียใหม่ ในบทความหลายบทความอย่างต่อเนื่อง ทั้ง “ปรับครม. เพื่อประสิทธิภาพความมั่นคงปลอดภัย” “ปรับครม.สร้างทีมใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหาชาติ” “รัฐบาลกับความพร้อมที่ควรมีมากกว่าเดิม” และ “ถึงเวลาปรับใหญ่ ครม.” ซึ่งก็มีความเห็นทำนองเดียวกันนี้จากคอลัมนิสต์และใครต่อใครหลายคนผ่านทางสื่อเช่นเดียวกัน
มีการปรับ ครม. เกิดขึ้นแต่ก็เป็นการปรับเล็ก คือมีการแต่งตั้งครม.เพิ่มขึ้นทีละคน สองคน เท่านั้น จึงไม่เพียงพอแก่การจะรับมือกับปัญหาและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่สำคัญก็คือไม่สามารถที่จะสร้างความหวังและความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนได้เท่าที่ควร ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อนายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จึงลดลงเรื่อยมาจนน่าวิตก
เมื่อมาถึงขณะนี้ในขณะที่หลายฝ่ายแม้กระทั่งคมช.เองยอมรับว่าได้มองเห็นเค้าลางแห่งความยุ่งยากเพิ่มมากยิ่งขึ้นแล้ว ผมก็ยังไม่ค่อยแน่ใจว่า นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์จะได้มองเห็นเช่นเดียวกันหรือไม่ เพราะก็เพียงแต่ได้เห็นนายกรัฐมนตรีเริ่มเคลื่อนไหวในลักษณะเป็นศูนย์กลางของการปรึกษาหารือเมื่อรับมือกับปัญหาและสถานการณ์มากขึ้น แต่ก็ยังไม่น่าจะเพียงพอสำหรับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ซึ่งผมเห็นว่า
1. นายกรัฐมนตรีควรจะได้มองเห็นและมีความเข้าใจว่าปัญหาและสถานการณ์จะเพิ่มความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน ทั้งปัญหาและสถานการณ์ที่พัฒนาขึ้นตามความเป็นจริง และทั้งที่มีคนสร้างขึ้นเพื่อรุมเร้ารัฐบาล คมช. และผู้เกี่ยวข้องเพื่อลดความเชื่อมั่น และลดโอกาสในการทำงานเพื่อพิสูจน์ความจริงของข้อกล่าวอ้างในการยึดอำนาจ
2. การเพิ่มความเชื่อมั่นในรัฐบาลเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลต้องสร้างขึ้นมาให้ได้และโดยที่การปรับ ครม. เท่าที่รับฟังตามข่าวก็คงไม่อาจที่สร้างความเชื่อมั่นได้มากนัก การปรับวิธีการทำงานเสียใหม่ ที่ทันต่อปัญหาและสถานการณ์และทันเกมการเมืองมากขึ้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง การมีทีมงานเฉพาะกิจเพื่อจัดการกับปัญหาสำคัญเร่งด่วนเป็นเรื่อง ๆ ไป รวมทั้งทีมงานประชาสัมพันธ์เชิงรุกที่มีอยู่ก็ควรจะได้ปรับปรุงขึ้นมาใหม่
3. ภาพที่ทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นอย่างสำคัญก็คือภาพที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจว่า มีความไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างรัฐบาลและคมช. ทั้งรัฐบาลและคมช. จึงควรจะได้ระมัดระวังเรื่องนี้
4. การเคลื่อนไหวของนายกรัฐมนตรีในลักษณะเป็นศูนย์กลางระหว่างรัฐบาล คมช. และองค์กรต่าง ๆ เพื่อเตรียมการรับมือกับปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องดีและควรทำให้มากยิ่งขึ้น
5. การยืนยันของนายกรัฐมนตรีในการให้การสนับสนุน คตส. ก็เป็นเรื่องดี แต่ควรจะได้ทำให้เป็นจริง ด้วยการกำหนดเป็นมติครม. ให้ข้าราชการและพนักงานของรัฐ ต้องถือเป็นหน้าที่ในการให้ความร่วมมือกับ คตส. โดยไม่ชักช้า มิฉะนั้นจะถือเป็นการทำผิดวินัยและกฎหมายที่ว่าด้วยการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
6. เมื่อนายกรัฐมนตรียังคงยืนยันที่จะมีให้มีการเลือกตั้งในตอนปลายปี 2550 นี้ นายกรัฐมนตรีก็ควรที่จะได้ประกาศกำหนดให้การเลือกตั้งที่สุจริต และเที่ยงธรรม เป็นวาระแห่งชาติ พร้อม ๆ กับประกาศให้การสนับสนุนกกต. และองค์กรที่เกี่ยวข้องทุกองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรภาคประชาชนให้ได้มีความพร้อมและมีส่วนร่วมในการนี้
7. รัฐบาลต้องจัดดำเนินการให้มีการใช้สื่อของรัฐในการเสริมสร้างบรรยากาศของการจัดทำรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่เพื่อสร้างความเข้าใจและความมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อลดบรรยากาศของความขัดแย้งเพราะขาดความเข้าใจและความไม่ไว้วางใจพร้อม ๆ กับการสร้างบรรยากาศของการเตรียมการเลือกตั้งไปในเวลาเดียวกันด้วย
ผมมั่นใจว่าหากรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ ทำได้ครบถ้วนเพียงเท่านี้ก็คงจะเรียกคืนความเชื่อมั่นได้มากขึ้นเพราะถือได้ว่ามีความพร้อมพอที่จะรับมือกับปัญหาและสถานการณ์ทั้งที่เป็นจริงและที่มีคนสร้างขึ้นได้และที่เกรงกันว่าอาจจะวิกฤตถึงขั้นนองเลือดก็คงไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าขาดความอดทนที่จะต้องทำงานหนักและตั้งอยู่ในความประมาท ชาติวิกฤตแน่นอน.
*****************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20 เม.ย. 2550--จบ--