กรุงเทพ--2 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. เมื่อศุกร์ที่ 30 มีนาคม 2550 ประเทศไทยได้ลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของคนพิการ ณ สำนักงานสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นวันแรกที่เปิดให้มีการลงนามในอนุสัญญาดังกล่าว โดยผู้ลงนามของไทยคือ นายประวิตร ชัยมงคล อุปทูต รักษาการเอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้เป็นผู้มีอำนาจเต็มจากรัฐบาลไทย
2. สาระสำคัญของอนุสัญญาฯ
รัฐภาคีมีพันธกรณีที่จะต้องขจัดการเลือกประติบัติต่อคนพิการในทุกรูปแบบ ทั้งในด้านกฎหมาย การปกครอง และการปฏิบัติต่างๆ ซึ่งรวมถึงการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อประกันการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกันของคนพิการในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ การขนส่ง ข้อมูลข่าวสารและบริการสาธารณะ การยอมรับความเท่าเทียมกันของคนพิการในทางกฎหมายสำหรับโอกาสในการรับการศึกษา การเข้าทำงาน การรักษาพยาบาล การประกันสิทธิและโอกาสที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเท่าเทียมกันกับบุคคลทั่วไป
รัฐภาคีจะต้องกำหนดผู้ประสานงาน (focal points) และกลไกประสานงานในรัฐบาลเพื่อเป็นกลไกหลักในการผลักดันและตรวจสอบการอนุวัติอนุสัญญาฯ โดยจะต้องเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการอย่างเต็มที่และรัฐภาคีมีพันธกรณีที่จะต้องเผยแพร่อนุสัญญาฯ ให้ประชาชนทั่วไปทราบอย่างทั่วถึง โดยรวมถึงการเผยแพร่ในรูปแบบที่คนพิการในด้านต่างๆ สามารถเข้าถึงได้
รัฐภาคีต้องเสนอรายงานต่อคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิของคนพิการภายใน 2 ปี นับจากวันที่อนุสัญญาฯ มีผลใช้บังคับกับรัฐภาคีนั้นๆ
3. คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2549 ให้ไทยลงนามในอนุสัญญาว่าด้วย
สิทธิของคนพิการในแรกที่เปิดให้มีการลงนามตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอเพื่อแสดงถึงการที่ไทยให้ความสำคัญอย่างสูงต่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการและการผลักดันการจัดทำอนุสัญญาฯ ฉบับนี้ในกรอบสหประชาชาติ เนื่องจากไทยมีบทบาทแข็งขันในการเจรจาร่างอนุสัญญาฯ ฉบับนี้มาโดยตลอดโดยกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และนายมณเฑียร บุญตัน ผู้แทนคนพิการและนายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยได้ร่วมการเจรจาในคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อยกร่างอนุสัญญาฯ ตั้งแต่ต้น
4. แม้ว่าการลงนามอนุสัญญาฯ โดยยังไม่ให้สัตยาบันนั้นยังมิได้มีผลผูกพันกับไทยในฐานะรัฐภาคี อย่างไรก็ดี ตามอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยการทำสนธิสัญญา ค.ศ.1969 ซึ่งถือเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ รัฐที่ทำการลงนามความตกลงระหว่างประเทศโดยยังมิได้ให้สัตยาบันความตกลงระหว่างประเทศนั้นๆ จะต้องละเว้นจากการกระทำที่จะขัดต่อจุดประสงค์และจุดมุ่งหมายของความตกลงฯ ฉบับนั้น สำหรับขั้นตอนการดำเนินการต่อไปภายหลังจากที่มีการลงนามอนุสัญญาฯ แล้ว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ดังกล่าว จะจัดประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาการให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ โดยพิจารณาว่ามีกฎหมายภายในเพียงพอที่จะรองรับพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาฯ แล้วหรือไม่ มีความจำเป็นต้องแก้ไขหรือออกกฎหมายเพิ่มเติมใดบ้างเพื่อจะได้สามารถให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ ดังกล่าวต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
1. เมื่อศุกร์ที่ 30 มีนาคม 2550 ประเทศไทยได้ลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของคนพิการ ณ สำนักงานสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นวันแรกที่เปิดให้มีการลงนามในอนุสัญญาดังกล่าว โดยผู้ลงนามของไทยคือ นายประวิตร ชัยมงคล อุปทูต รักษาการเอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้เป็นผู้มีอำนาจเต็มจากรัฐบาลไทย
2. สาระสำคัญของอนุสัญญาฯ
รัฐภาคีมีพันธกรณีที่จะต้องขจัดการเลือกประติบัติต่อคนพิการในทุกรูปแบบ ทั้งในด้านกฎหมาย การปกครอง และการปฏิบัติต่างๆ ซึ่งรวมถึงการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อประกันการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกันของคนพิการในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ การขนส่ง ข้อมูลข่าวสารและบริการสาธารณะ การยอมรับความเท่าเทียมกันของคนพิการในทางกฎหมายสำหรับโอกาสในการรับการศึกษา การเข้าทำงาน การรักษาพยาบาล การประกันสิทธิและโอกาสที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเท่าเทียมกันกับบุคคลทั่วไป
รัฐภาคีจะต้องกำหนดผู้ประสานงาน (focal points) และกลไกประสานงานในรัฐบาลเพื่อเป็นกลไกหลักในการผลักดันและตรวจสอบการอนุวัติอนุสัญญาฯ โดยจะต้องเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการอย่างเต็มที่และรัฐภาคีมีพันธกรณีที่จะต้องเผยแพร่อนุสัญญาฯ ให้ประชาชนทั่วไปทราบอย่างทั่วถึง โดยรวมถึงการเผยแพร่ในรูปแบบที่คนพิการในด้านต่างๆ สามารถเข้าถึงได้
รัฐภาคีต้องเสนอรายงานต่อคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิของคนพิการภายใน 2 ปี นับจากวันที่อนุสัญญาฯ มีผลใช้บังคับกับรัฐภาคีนั้นๆ
3. คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2549 ให้ไทยลงนามในอนุสัญญาว่าด้วย
สิทธิของคนพิการในแรกที่เปิดให้มีการลงนามตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอเพื่อแสดงถึงการที่ไทยให้ความสำคัญอย่างสูงต่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการและการผลักดันการจัดทำอนุสัญญาฯ ฉบับนี้ในกรอบสหประชาชาติ เนื่องจากไทยมีบทบาทแข็งขันในการเจรจาร่างอนุสัญญาฯ ฉบับนี้มาโดยตลอดโดยกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และนายมณเฑียร บุญตัน ผู้แทนคนพิการและนายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยได้ร่วมการเจรจาในคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อยกร่างอนุสัญญาฯ ตั้งแต่ต้น
4. แม้ว่าการลงนามอนุสัญญาฯ โดยยังไม่ให้สัตยาบันนั้นยังมิได้มีผลผูกพันกับไทยในฐานะรัฐภาคี อย่างไรก็ดี ตามอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยการทำสนธิสัญญา ค.ศ.1969 ซึ่งถือเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ รัฐที่ทำการลงนามความตกลงระหว่างประเทศโดยยังมิได้ให้สัตยาบันความตกลงระหว่างประเทศนั้นๆ จะต้องละเว้นจากการกระทำที่จะขัดต่อจุดประสงค์และจุดมุ่งหมายของความตกลงฯ ฉบับนั้น สำหรับขั้นตอนการดำเนินการต่อไปภายหลังจากที่มีการลงนามอนุสัญญาฯ แล้ว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ดังกล่าว จะจัดประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาการให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ โดยพิจารณาว่ามีกฎหมายภายในเพียงพอที่จะรองรับพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาฯ แล้วหรือไม่ มีความจำเป็นต้องแก้ไขหรือออกกฎหมายเพิ่มเติมใดบ้างเพื่อจะได้สามารถให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ ดังกล่าวต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-