นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยสถานะหนี้สาธารณะล่าสุด ณ สิ้นเดือนมกราคม 2550 ซึ่งลดลงจากเดือนก่อน 3,896 ล้านบาท และผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ของภาครัฐประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2550 และในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2550 ดังนี้
1. การปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐ
1.1 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550
ด้านต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการบริหารความเสี่ยงหนี้เงินกู้ Floating Rate Notes (FRNs) โดยการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Outright Forward) วงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ
ด้านในประเทศ
กระทรวงการคลังออกพันธบัตรรัฐบาล วงเงิน 12,500 ล้านบาท เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF1) ที่ครบกำหนดไถ่ถอน เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2549 ซึ่งได้ดำเนินการประมูลพันธบัตรในเดือนนี้ 12,500 ล้านบาท และนำเงินที่ได้รับจากการออกพันธบัตรมาชำระคืนเงินกู้ระยะสั้น 11,500 ล้านบาท (ส่วนต่างที่ได้รับจากการประมูลพันธบัตรดังกล่าว จำนวน 1,000 ล้านบาท ได้นำไปชำระคืน Premium ที่ยืมมาในเดือน ธ.ค. 49 และ ม.ค. 50) ทำให้การชำระหนี้เงินกู้และการปรับโครงสร้างครั้งนี้แล้วเสร็จลงเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2550
1.2 ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2550
ด้านต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศโดยชำระคืนก่อนครบกำหนด 18,416 ล้านบาท และ Refinance เงินกู้ ECP ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้ JBIC ด้วยเงินบาท 6,700 ล้านบาท และบริหารความเสี่ยงหนี้เงินกู้ FRNs 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 18,416 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 810 ล้านบาท สำหรับรัฐวิสาหกิจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศวงเงินรวม 9,451 ล้านบาท
ด้านในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศโดยการแปลงตั๋วเงินคลังที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 32,000 ล้านบาท เป็นพันธบัตรและปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรและตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ FIDF1 วงเงิน 45,000 ล้านบาท และ Roll over หนี้เดิมของรัฐวิสาหกิจรวม 8,900 ล้านบาท
2. การกู้เงินของภาครัฐ
2.1 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550
กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศโดยการออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ วงเงิน 25,000 ล้านบาท และได้จำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง (FIDF3) 500 ล้านบาท สำหรับรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินในประเทศรวม 1,000 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เพื่อลงทุน 989 ล้านบาท และกู้เงินบาทสมทบ 11 ล้านบาท
2.2 ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2550
ภาครัฐได้กู้เงินในประเทศรวม 98,356 ล้านบาท เป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง 64,500 ล้านบาท และ รัฐวิสาหกิจ 2,053 ล้านบาท นอกจากนี้ รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินจากต่างประเทศ 31,803 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้นอกแผนการก่อหนี้ต่างประเทศ
3. การชำระหนี้ของภาครัฐ
3.1 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 7,127 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 533 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 6,594 ล้านบาท
3.2 ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2550
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากงบประมาณรวม 55,193 ล้านบาท
สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2550
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มกราคม 2549 มีจำนวน 3,158,167 ล้านบาท หรือร้อยละ 37.43 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,968,749 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 904,944 ล้านบาท หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 232,269 ล้านบาท และหนี้องค์กรของรัฐอื่น 52,205 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหนี้สาธารณะลดลง 3,896 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น14,666 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลง 9,588 ล้านบาท หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้น 288 ล้านบาท และหนี้องค์กรของรัฐอื่นลดลง 9,262 ล้านบาท
หนี้สาธารณะจำแนกได้เป็นหนี้ต่างประเทศ 462,740 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.65 และหนี้ในประเทศ 2,695,427 ล้านบาท หรือร้อยละ 85.35 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,670,683 ล้านบาท หรือร้อยละ 84.56 และหนี้ระยะสั้น 487,484 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.44 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
ในเดือนมกราคม 2550 สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ลดลงต่ำกว่าร้อยละ 40 โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2549 สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากการปรับฐาน GDP ในปี 2550 สูงขึ้นจากปี 2549 ตามประมาณการของสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อ 6 มีนาคม 2550
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 19/2550 22 มีนาคม 50--
1. การปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐ
1.1 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550
ด้านต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการบริหารความเสี่ยงหนี้เงินกู้ Floating Rate Notes (FRNs) โดยการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Outright Forward) วงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ
ด้านในประเทศ
กระทรวงการคลังออกพันธบัตรรัฐบาล วงเงิน 12,500 ล้านบาท เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF1) ที่ครบกำหนดไถ่ถอน เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2549 ซึ่งได้ดำเนินการประมูลพันธบัตรในเดือนนี้ 12,500 ล้านบาท และนำเงินที่ได้รับจากการออกพันธบัตรมาชำระคืนเงินกู้ระยะสั้น 11,500 ล้านบาท (ส่วนต่างที่ได้รับจากการประมูลพันธบัตรดังกล่าว จำนวน 1,000 ล้านบาท ได้นำไปชำระคืน Premium ที่ยืมมาในเดือน ธ.ค. 49 และ ม.ค. 50) ทำให้การชำระหนี้เงินกู้และการปรับโครงสร้างครั้งนี้แล้วเสร็จลงเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2550
1.2 ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2550
ด้านต่างประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศโดยชำระคืนก่อนครบกำหนด 18,416 ล้านบาท และ Refinance เงินกู้ ECP ซึ่งใช้เป็น Bridge Financing ในการ Refinance เงินกู้ JBIC ด้วยเงินบาท 6,700 ล้านบาท และบริหารความเสี่ยงหนี้เงินกู้ FRNs 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 18,416 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 810 ล้านบาท สำหรับรัฐวิสาหกิจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศวงเงินรวม 9,451 ล้านบาท
ด้านในประเทศ
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศโดยการแปลงตั๋วเงินคลังที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 32,000 ล้านบาท เป็นพันธบัตรและปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรและตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ FIDF1 วงเงิน 45,000 ล้านบาท และ Roll over หนี้เดิมของรัฐวิสาหกิจรวม 8,900 ล้านบาท
2. การกู้เงินของภาครัฐ
2.1 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550
กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศโดยการออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ วงเงิน 25,000 ล้านบาท และได้จำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง (FIDF3) 500 ล้านบาท สำหรับรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินในประเทศรวม 1,000 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เพื่อลงทุน 989 ล้านบาท และกู้เงินบาทสมทบ 11 ล้านบาท
2.2 ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2550
ภาครัฐได้กู้เงินในประเทศรวม 98,356 ล้านบาท เป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง 64,500 ล้านบาท และ รัฐวิสาหกิจ 2,053 ล้านบาท นอกจากนี้ รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินจากต่างประเทศ 31,803 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้นอกแผนการก่อหนี้ต่างประเทศ
3. การชำระหนี้ของภาครัฐ
3.1 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 7,127 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 533 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 6,594 ล้านบาท
3.2 ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2550
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากงบประมาณรวม 55,193 ล้านบาท
สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2550
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มกราคม 2549 มีจำนวน 3,158,167 ล้านบาท หรือร้อยละ 37.43 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,968,749 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 904,944 ล้านบาท หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 232,269 ล้านบาท และหนี้องค์กรของรัฐอื่น 52,205 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหนี้สาธารณะลดลง 3,896 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น14,666 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลง 9,588 ล้านบาท หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้น 288 ล้านบาท และหนี้องค์กรของรัฐอื่นลดลง 9,262 ล้านบาท
หนี้สาธารณะจำแนกได้เป็นหนี้ต่างประเทศ 462,740 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.65 และหนี้ในประเทศ 2,695,427 ล้านบาท หรือร้อยละ 85.35 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,670,683 ล้านบาท หรือร้อยละ 84.56 และหนี้ระยะสั้น 487,484 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.44 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
ในเดือนมกราคม 2550 สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ลดลงต่ำกว่าร้อยละ 40 โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2549 สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากการปรับฐาน GDP ในปี 2550 สูงขึ้นจากปี 2549 ตามประมาณการของสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อ 6 มีนาคม 2550
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 19/2550 22 มีนาคม 50--