ปชป. ยื่นหนังสือถึงนายกฯ สนับสนุนให้จัดทำงบฯรายจ่ายปี 51
วันที่ 4 มีนาคม 50 นายสาธิต ปิตุเตชะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้ทำหนังสือลงวันที่ 26 กพ. 2550 ถึงฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เพื่อให้รัฐบาลได้สนับสนุนและจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551 ให้เกิดความเป็นธรรมและเสมอภาคต่อประชาชน เพื่อชดเชยความสูญเสียโอกาสของจังหวัดต่าง ๆ ที่เกิดจากการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยหลักคุณธรรม ไม่ชอบด้วยหลักเสมอภาคของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ทำให้หลายจังหวัดที่มีประชาชนจำนวนมากไม่ได้รับงบประมาณโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ และเขตเลือกตั้งในจังหวัดอื่น ๆ บางพื้นที่ ที่ได้รับผลจากการปฏิบัติของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ได้ทำไว้ ซึ่งสร้างความไม่พอใจและเครียดแค้นให้กับประชาชนในจังหวัดดังกล่าว หนังสือฉบับนี้ลงนามโดยหัวหน้าพรรค นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และอดีตหัวหน้าพรรค นายชวน หลีกภัย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน และบรรดาอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค นายสาธิตกล่าวว่า หนังสือฉบับดังกล่าวทางพรรคได้ดำเนินการยื่นถึงนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ ไปแล้ว
ในวันเดียวกัน นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการยกร่างรัฐธรรมนูญว่าในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์มีความเห็นว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้จะต้องมีเป้าหมายชัดเจนในการนำไปสู่การปฏิรูปการเมือง และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นจากการใช้รัฐธรรมนูญของอดีตผู้นำประเทศในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการใช้รัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องเพื่อการแสวงหาอำนาจ และนำอำนาจไปสู่การทุจริตคอร์รัปชั่นหลายรูปแบบ ฉะนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาคือเรื่องของธรรมาภิบาล
ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายองอาจ เห็นว่า เรื่องธรรมาภิบาลเป็นความจำเป็นที่จะต้องทำให้ปรากฎไว้ในทุก ๆ ส่วนของรัฐธรรมนูญ และสามารถที่จะนำธรรมาธิบาลที่ปรากฎในรัฐธรรมนูญนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปได้ นายองอาจย้ำว่าตรงนี้จะเป็นหัวใจสำคัญในการทำให้รัฐธรรมนูญนั้นเกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ยังเห็นว่า รัฐธรรมนูญปี 2540 นั้นมีส่วนที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย ดังนั้นจึงไม่ต้องการให้คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญละเลยส่วนที่ดีและเป็นประโยชน์ของรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว อย่างไรก็ดีในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวแม้ว่าจะมีส่วนดีและเป็นประโยชน์แต่ไม่มีผลในทางปฏิบัติ หรือก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ อาทิ บทบัญญัติถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน แต่จะเห็นได้ว่าในทางปฏิบัตินั้นประชาชนต้องแบกรับภาระในการมีส่วนร่วมเช่นการเสนอกฎหมายของประชาชน และประชาชนต้องมีภาระไปล่ารายชื่อมาให้ได้ 50,000 ชื่อเป็นต้น ต้องเสียค่าถ่ายเอกสาร ทะเบียนบ้าน ฯลฯ มากมาย ซึ่งไม่มีหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรใดที่จะเข้ามาสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในลักษณะนี้
“กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อไปในอนาคตต้องมีบทบัญญัติที่เข้ามาสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่ใช่ปล่อยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองและต้องมีภาระมีต้นทุน มีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มากมายหลายเรื่องด้วยกัน ซึ่งทำให้ประชาชนจำนวนมากเกิดความเบื่อหน่าย เกิดความไม่พร้อมที่จะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ดังนั้นจะต้องหาทางลดภาระของประชาชนให้มากที่สุด และก็ต้องทำให้ไม่ยุ่งยากซับซ้อนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง” นายองอาจกล่าว
นอกจากประเด็นการมีส่วนร่วมของประชาชนแล้ว โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยังกล่าวถึงเรื่องการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นกระบวนการของการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของผู้มีอำนาจ ทั้งในทางการเมือง และข้าราชการทั่วไปว่ามีความยุ่งยาก สลับซับซ้อนและมีเงื่อนไขมาก ทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ยาก ฉะนั้นการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เคยยุ่งยาก น่าเบื่อหน่ายที่ผ่านมานั้น หลาย ๆ กรณีพบว่า หน่วยงานของรัฐเองพยายามหลีกเลี่ยง และมีข้ออ้างต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ข้อมูลแก่ประชาชนนั้น และแทนที่ผู้มีอำนาจทางการเมือง จะเข้าไปจัดการเพื่อไม่ให้มีปัญหาดังกล่าว กลับเป็นผู้ทำให้เกิดการปกปิดข้อมูลข่าวสารเสียเอง
ส่วนเรื่องความรับผิดชอบของผู้มีอำนาจในบ้านเมือง พรรคประชาธิปัตย์เห็นว่ารัฐธรรมนูญควรกำหนดกลไกความรับผิดชอบของผู้มีอำนาจทางการเมืองทุกระดับไปจนถึงข้าราชการผู้ปฏิบัติงาน นั่นคือความรับผิดชอบที่มีต่อประชาชนเพื่อให้รัฐได้คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชนที่ควรได้รับ นอกเหนือจากนั้นทางพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายองอาจ เห็นว่าขณะนี้ในการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ให้ความสนใจกันมากในประเด็นเรื่องโครงสร้างเชิงอำนาจเพื่อตอบสนองการเลือกตั้ง ทั้ง ๆ ที่ความจริงการร่างรัฐธรรมนูญควรเป็นการร่างเพื่อไม่ให้ปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตเกิดขึ้นมาอีก
“การร่างรัฐธรรมนูญควรเป็นการร่างเพื่อไม่ให้ปรากฎการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในช่วงที่คุณทักษิณ ครองเมืองเกิดขึ้นมาอีก ไม่ว่าจะเป็นการทุจริตคอร์รัปชั่น การใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรม ผลประโยชน์ทับซ้อน หรือการแทรกแซงองค์กรอิสระต่าง ๆ” นายองอาจกล่าว
สำหรับในเรื่องการปรับครม. นายองอาจ เห็นว่าการปรับคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้จะเป็นการพิสูจน์ภาวะการเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรี ว่าจะสามารถปรับคณะรัฐมนตรี เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ ได้อย่างแท้จริงหรือไม่ โดยจะเป็นการชี้ให้เห็นว่านายกฯ มีความสามารถในการบริหารงานบุคคลโดยการหาบุคคลที่เหมาะสมมาทำงานด้านเศรษฐกิจกับรัฐบาลชุดนี้ได้หรือไม่
นายองอาจ กล่าวต่อไปว่า การปรับคณะรัฐมนตรีในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ ตนไม่ต้องการให้นายกฯ หาเพียงคนมาอยู่ในตำแหน่ง เพียงเพื่อรับผิดชอบงานด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่การปรับครม.ครั้งนี้ควรเป็นการปรับเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนด้วย โดยนายองอาจได้เสนอแนวทางการพิจารณาตัวบุคคลที่จะเข้ามารับงานในด้านนี้ควรเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์ ไฟแรงและพร้อมจะเดินหน้าลุยงานได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ควรจะต้องมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์โดยเป็นผู้ที่พร้อมที่จะทนต่อแรงเสียดทานจากทุก ๆ ทาง และเป็นบุคคลที่สามารถเรียกความเชื่อมั่นให้รัฐบาลได้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 มี.ค. 2550--จบ--
วันที่ 4 มีนาคม 50 นายสาธิต ปิตุเตชะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้ทำหนังสือลงวันที่ 26 กพ. 2550 ถึงฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เพื่อให้รัฐบาลได้สนับสนุนและจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551 ให้เกิดความเป็นธรรมและเสมอภาคต่อประชาชน เพื่อชดเชยความสูญเสียโอกาสของจังหวัดต่าง ๆ ที่เกิดจากการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยหลักคุณธรรม ไม่ชอบด้วยหลักเสมอภาคของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ทำให้หลายจังหวัดที่มีประชาชนจำนวนมากไม่ได้รับงบประมาณโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ และเขตเลือกตั้งในจังหวัดอื่น ๆ บางพื้นที่ ที่ได้รับผลจากการปฏิบัติของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ได้ทำไว้ ซึ่งสร้างความไม่พอใจและเครียดแค้นให้กับประชาชนในจังหวัดดังกล่าว หนังสือฉบับนี้ลงนามโดยหัวหน้าพรรค นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และอดีตหัวหน้าพรรค นายชวน หลีกภัย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน และบรรดาอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค นายสาธิตกล่าวว่า หนังสือฉบับดังกล่าวทางพรรคได้ดำเนินการยื่นถึงนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ ไปแล้ว
ในวันเดียวกัน นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการยกร่างรัฐธรรมนูญว่าในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์มีความเห็นว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้จะต้องมีเป้าหมายชัดเจนในการนำไปสู่การปฏิรูปการเมือง และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นจากการใช้รัฐธรรมนูญของอดีตผู้นำประเทศในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการใช้รัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องเพื่อการแสวงหาอำนาจ และนำอำนาจไปสู่การทุจริตคอร์รัปชั่นหลายรูปแบบ ฉะนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาคือเรื่องของธรรมาภิบาล
ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายองอาจ เห็นว่า เรื่องธรรมาภิบาลเป็นความจำเป็นที่จะต้องทำให้ปรากฎไว้ในทุก ๆ ส่วนของรัฐธรรมนูญ และสามารถที่จะนำธรรมาธิบาลที่ปรากฎในรัฐธรรมนูญนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปได้ นายองอาจย้ำว่าตรงนี้จะเป็นหัวใจสำคัญในการทำให้รัฐธรรมนูญนั้นเกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ยังเห็นว่า รัฐธรรมนูญปี 2540 นั้นมีส่วนที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย ดังนั้นจึงไม่ต้องการให้คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญละเลยส่วนที่ดีและเป็นประโยชน์ของรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว อย่างไรก็ดีในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวแม้ว่าจะมีส่วนดีและเป็นประโยชน์แต่ไม่มีผลในทางปฏิบัติ หรือก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ อาทิ บทบัญญัติถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน แต่จะเห็นได้ว่าในทางปฏิบัตินั้นประชาชนต้องแบกรับภาระในการมีส่วนร่วมเช่นการเสนอกฎหมายของประชาชน และประชาชนต้องมีภาระไปล่ารายชื่อมาให้ได้ 50,000 ชื่อเป็นต้น ต้องเสียค่าถ่ายเอกสาร ทะเบียนบ้าน ฯลฯ มากมาย ซึ่งไม่มีหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรใดที่จะเข้ามาสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในลักษณะนี้
“กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อไปในอนาคตต้องมีบทบัญญัติที่เข้ามาสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่ใช่ปล่อยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองและต้องมีภาระมีต้นทุน มีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มากมายหลายเรื่องด้วยกัน ซึ่งทำให้ประชาชนจำนวนมากเกิดความเบื่อหน่าย เกิดความไม่พร้อมที่จะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ดังนั้นจะต้องหาทางลดภาระของประชาชนให้มากที่สุด และก็ต้องทำให้ไม่ยุ่งยากซับซ้อนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง” นายองอาจกล่าว
นอกจากประเด็นการมีส่วนร่วมของประชาชนแล้ว โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยังกล่าวถึงเรื่องการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นกระบวนการของการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของผู้มีอำนาจ ทั้งในทางการเมือง และข้าราชการทั่วไปว่ามีความยุ่งยาก สลับซับซ้อนและมีเงื่อนไขมาก ทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ยาก ฉะนั้นการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เคยยุ่งยาก น่าเบื่อหน่ายที่ผ่านมานั้น หลาย ๆ กรณีพบว่า หน่วยงานของรัฐเองพยายามหลีกเลี่ยง และมีข้ออ้างต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ข้อมูลแก่ประชาชนนั้น และแทนที่ผู้มีอำนาจทางการเมือง จะเข้าไปจัดการเพื่อไม่ให้มีปัญหาดังกล่าว กลับเป็นผู้ทำให้เกิดการปกปิดข้อมูลข่าวสารเสียเอง
ส่วนเรื่องความรับผิดชอบของผู้มีอำนาจในบ้านเมือง พรรคประชาธิปัตย์เห็นว่ารัฐธรรมนูญควรกำหนดกลไกความรับผิดชอบของผู้มีอำนาจทางการเมืองทุกระดับไปจนถึงข้าราชการผู้ปฏิบัติงาน นั่นคือความรับผิดชอบที่มีต่อประชาชนเพื่อให้รัฐได้คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชนที่ควรได้รับ นอกเหนือจากนั้นทางพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายองอาจ เห็นว่าขณะนี้ในการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ให้ความสนใจกันมากในประเด็นเรื่องโครงสร้างเชิงอำนาจเพื่อตอบสนองการเลือกตั้ง ทั้ง ๆ ที่ความจริงการร่างรัฐธรรมนูญควรเป็นการร่างเพื่อไม่ให้ปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตเกิดขึ้นมาอีก
“การร่างรัฐธรรมนูญควรเป็นการร่างเพื่อไม่ให้ปรากฎการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในช่วงที่คุณทักษิณ ครองเมืองเกิดขึ้นมาอีก ไม่ว่าจะเป็นการทุจริตคอร์รัปชั่น การใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรม ผลประโยชน์ทับซ้อน หรือการแทรกแซงองค์กรอิสระต่าง ๆ” นายองอาจกล่าว
สำหรับในเรื่องการปรับครม. นายองอาจ เห็นว่าการปรับคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้จะเป็นการพิสูจน์ภาวะการเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรี ว่าจะสามารถปรับคณะรัฐมนตรี เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ ได้อย่างแท้จริงหรือไม่ โดยจะเป็นการชี้ให้เห็นว่านายกฯ มีความสามารถในการบริหารงานบุคคลโดยการหาบุคคลที่เหมาะสมมาทำงานด้านเศรษฐกิจกับรัฐบาลชุดนี้ได้หรือไม่
นายองอาจ กล่าวต่อไปว่า การปรับคณะรัฐมนตรีในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ ตนไม่ต้องการให้นายกฯ หาเพียงคนมาอยู่ในตำแหน่ง เพียงเพื่อรับผิดชอบงานด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่การปรับครม.ครั้งนี้ควรเป็นการปรับเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนด้วย โดยนายองอาจได้เสนอแนวทางการพิจารณาตัวบุคคลที่จะเข้ามารับงานในด้านนี้ควรเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์ ไฟแรงและพร้อมจะเดินหน้าลุยงานได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ควรจะต้องมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์โดยเป็นผู้ที่พร้อมที่จะทนต่อแรงเสียดทานจากทุก ๆ ทาง และเป็นบุคคลที่สามารถเรียกความเชื่อมั่นให้รัฐบาลได้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 มี.ค. 2550--จบ--