สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา จากข่าวการพบเชื้อไวรัสไข้หวัดนกในไทยรอบที่ 5 ภายใน 3 สัปดาห์ เพิ่มขึ้นเป็น 3 จุด ส่งผลให้ความต้องการบริโภคลดลง แต่จากการตรวจสอบและเฝ้าระวังทั้งในคนและในสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคเนื้อไก่มีความมั่นใจ ประกอบกับใกล้ช่วงเทศกาลตรุษจีน ความต้องการบริโภคเนื้อไก่อาจจะเพิ่มขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
กรมปศุสัตว์ได้รายงานเพิ่มเติมพร้อมยืนยันว่าพบเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1 เป็นจุดที่ 3 ในวันที่ 31 ม.ค.ที่ผ่านมา หลังจากพบในเป็ดที่จ.พิษณุโลก ในไก่ไข่ที่จ.หนองคาย และล่าสุดในไก่ชนและไก่พื้นเมืองที่ อ.สามโก้ จ.อ่างทอง จากการสุ่มตัวอย่างไก่จำนวน 16 ตัว ป่วยตายไป 6 ตัว จึงได้สั่งทำลายสัตว์ปีกทั้งหมดในฝูง ตั้งแต่วันที่ 23 ม.ค. ที่ผ่านมา ทั้งนี้ได้ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในจุดพบโรคและจุดเสี่ยง โดยตั้งจุดตรวจสอบการลักลอบเคลื่อนย้าย เข้า — ออก ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสจำนวน 2 ครัวเรือน รวม 7 ราย และได้เฝ้าระวังติดตามอาการเป็นเวลา 14 วัน ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด
เจ้าหน้าที่รัฐบาลทางอินโดนีเซีย รายงานว่าขณะนี้สถานการณ์ไข้หวัดนกในอินโดนีเซีย อยู่ในขั้น “ระบาด” โดยที่ประธานาธิบดีจะประกาศให้เป็นสถานการณ์ภัยพิบัติแห่งชาติ ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณจากกองทุนหายนภัยแห่งชาติได้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 30.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.83 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.49 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.60 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 24.39 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 29.02 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 6.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.50 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 31.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 29 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2550--
-พห-
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา จากข่าวการพบเชื้อไวรัสไข้หวัดนกในไทยรอบที่ 5 ภายใน 3 สัปดาห์ เพิ่มขึ้นเป็น 3 จุด ส่งผลให้ความต้องการบริโภคลดลง แต่จากการตรวจสอบและเฝ้าระวังทั้งในคนและในสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคเนื้อไก่มีความมั่นใจ ประกอบกับใกล้ช่วงเทศกาลตรุษจีน ความต้องการบริโภคเนื้อไก่อาจจะเพิ่มขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
กรมปศุสัตว์ได้รายงานเพิ่มเติมพร้อมยืนยันว่าพบเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1 เป็นจุดที่ 3 ในวันที่ 31 ม.ค.ที่ผ่านมา หลังจากพบในเป็ดที่จ.พิษณุโลก ในไก่ไข่ที่จ.หนองคาย และล่าสุดในไก่ชนและไก่พื้นเมืองที่ อ.สามโก้ จ.อ่างทอง จากการสุ่มตัวอย่างไก่จำนวน 16 ตัว ป่วยตายไป 6 ตัว จึงได้สั่งทำลายสัตว์ปีกทั้งหมดในฝูง ตั้งแต่วันที่ 23 ม.ค. ที่ผ่านมา ทั้งนี้ได้ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในจุดพบโรคและจุดเสี่ยง โดยตั้งจุดตรวจสอบการลักลอบเคลื่อนย้าย เข้า — ออก ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสจำนวน 2 ครัวเรือน รวม 7 ราย และได้เฝ้าระวังติดตามอาการเป็นเวลา 14 วัน ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด
เจ้าหน้าที่รัฐบาลทางอินโดนีเซีย รายงานว่าขณะนี้สถานการณ์ไข้หวัดนกในอินโดนีเซีย อยู่ในขั้น “ระบาด” โดยที่ประธานาธิบดีจะประกาศให้เป็นสถานการณ์ภัยพิบัติแห่งชาติ ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณจากกองทุนหายนภัยแห่งชาติได้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 30.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.83 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.49 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.60 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 24.39 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 29.02 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 6.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.50 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 31.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 29 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2550--
-พห-