รายงานพิเศษ ทัวร์อมตะนคร : ศักยภาพอุตสาหกรรมไทย
โดย อลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
“ผมจะเป็นคนดี”คือชื่อหนังสือขายดีของ”วิกรม กรมดิษฐ์” ประธาน บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (AMATA) ที่มอบให้กับพวกเราพร้อมกับมุมมองวิสัยทัศน์ที่กว้างและลุ่มลึกบนโต๊ะสนทนาระหว่างอาหารกลางวันที่คลับเฮ้าส์ของสนามกอล์ฟอมตะสปริงค์เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคมที่ผ่านมา
ชาวคณะประชาธิปัตย์ประกอบไปด้วย ท่านอภิสิทธิ์ เวชาชาชีวะ หัวหน้าพรรค วิฑูร นามบุตร กรณ์ จาติกวณิช เกียรติ สิทธีอมร พิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล คุณหญิง ดร.กัลยา โสภณพนิช นพ.บูรณัช สมุทรวณิช องอาจ คล้ามไพบูลย์ และผม อลงกรณ์ พลบุตร พร้อมคณะทำงานเดินทางไปเยี่ยมชมนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครและแลกเปลี่ยนยความคิดเห็นกับ คณะผู้บริหารของกลุ่มอมตะ คือคุณวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานใหญ่ คุณวิบูลย์ กรมดิษฐ์ รองประธานใหญ่ คุณ สมหะทัย พานิชชีวะรองประธานอาวุโสฝ่ายพัฒนาธุรกิจและคุณ กำจร วรวงศากุล รองประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
ต้องยอมรับว่า AMATA เติบโตก้าวหน้าอย่างมั่นคงทั้งกิจการในประเทศไทยคือที่ อมตะนครในจังหวัดชลบุรีและอมตะซิตี้ในจังหวัดระยองรวมถึงการบุกเบิกนิคมอุตสาหกรรมอมตะเวียดนามตั้งแต่เมื่อ ๑๑ ปีก่อนจนถึงปัจจุบัน
โดยเฉพาะอมตะนครที่เราไปเยี่ยมชมมีพื้นที่เกือบ ๒ หมื่นไร่และมีบริษัทต่างประเทศและของคนไทยซื้อพื้นที่และบริการในนิคมอมตะนครกว่า ๘๐ % ของพื้นที่ทั้งหมด
พวกเราไม่แปลกใจในความสำเร็จของAMATA เมื่อรับทราบถึงวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ธุรกิจของบริษัทนี้โดยเฉพาะคอนเซปต์ PERFECT CITY ที่สร้างอมตะนครไม่ใช่เป็นเพียงนิคมอุตสาหกรรมเท่านั้นแค่เปรียบเสมือนเมืองน่าอยู่เป็นระเบียบสะอาดสวยงามเพียบพร้อมไปด้วยโครงสร้างพื้นฐาน การบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับผมแล้ว อมตะนครดูจะเหนือกว่านิคมอุตสาหกรรมซูโจวของจีนที่ได้เดินทางไปดูงานเมื่อปลายปีที่แล้ว
จุดได้เปรียบของอมตะนครคือ ที่ตั้งและลอจิสติกส์(Logistics) ซึ่งเป็นจุดแข็งของธุรกิจในโลกแห่งการแข่งขันทุกวันนี้ เพราะอมตะนครขนาบด้วย ถนนบางนา - ตลาดและมอเตอร์เวย์ และอยู่ใกล้กับสนามบินสุวรรณภูมิและท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง
ตัวบ่งชี้ประการหนึ่งคือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แอร์คาร์โก(Air cargo) เพิ่มจำนวนในรายชื่อลูกค้าของอมตะนครมากขึ้น
ความก้าวหน้าของกลุ่มนี้มาจากความสามารถในการบริหารจัดการและการวางตำแหน่งธุรกิจได้อย่างเหมาะสมกับจุดแข็งของทำเลที่ตั้งและการกำหนด “แผนธุรกิจ ๕ ปี” ซึ่งรวมถึงการขยายการลงทุนนิคมอุตสาหกรรมในประเทศเวียดนามแสดงถึงการมองไกลไปข้างหน้าตามกระแสการลงทุนของโลก
ไม่น่าเชื่อว่า AMATA สามารถสร้างผลผลิตมวลรวมคิดเป็น ๖ % ของจีดีพี.ประเทศไทยและตั้งเป้าหมายจะทำให้ได้ ๑๐ % ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า วันนี้จีดีพี.ประเทศไทยอยู่ที่ ๒๐๐,๐๐๐ ล้านเหรียญ ๑๐ % คือ ๗๕๐,๐๐๐ ล้านบาท
คณะผู้บริหารอมตะตอบคำถามเรื่องจุดแข็งของประเทศไทยกับเวียดนามว่า ประเทศไทยได้เปรียบเรื่อง Infrastructure, logistics และ skill labour แต่เวียดนามมีจุดแข็งที่ ค่าแรง, ค่าเช่าที่ดินและค่าก่อสร้างที่ถูกกว่าไทย รวมถึงความรวดเร็วในการออกใบอนุญาตการลงทุนซึ่งใช้เวลา ๖ ชั่วโมง เทียบกับ ๒ สัปดาห์ของไทย นอกจากนี้เวียดนามยังเก็บภาษีนิติบุคคลในนิคมอุตสาหกรรมเพียง ๑๐ %ของ net profit และให้เช่าที่ดิน ๕๐ ปีไม่ต้องลงทุนซื้อ และการที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกเมื่อปลายปีที่แล้วก็ยิ่งดึงดูดความน่าสนใจในการลงทุนของเวียดนาม
“อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็ยังเหนือกว่า อย่างเช่น ฝีมือแรงงานและประสิทธิภาพการทำงาน เรามีโรงงานประกอบรถบีเอ็ม.ซึ่งสำนักงานใหญ่ของเยอรมันเลือกให้โรงงานในประเทศไทยประกอบรถบีเอ็ม.ซีรี่ ๗ แต่เพียงแห่งเดียว หรือโตโยต้าทุ่มเทลงทุนจนไทยกลายเป็นฐานผลิตใหญ่อันดับ ๓ ของโลกสำหรับโตโยต้าเป็นรองเพียงในญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาเท่านั้น” คุณวิกรมเล่าให้ฟังพร้อมฝากให้รัฐให้ความสำคัญกับการสนับสนุนส่งเสริมศักยภาพของนิคมอุตสาหกรรมและนโยบายการพัฒนาฝีมือแรงงาน
“สมัยประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลเห็นความสำคัญในเรื่องนี้จึงดำเนินนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนนิคมอุตสาหกรรมและกำหนด Zoning การลงทุนรวมทั้งตั้งกระทรวงแรงงานและทุ่มงบให้กับการศึกษาอย่างเต็มที่” ท่านอภิสิทธิ์กล่าวอย่างหนักแน่นถึงผลงานในอดีตของพรรค และกำลังจะสานต่อในอนาคตหากว่ามีโอกาส
สถาบันฝึกอบรมไทย-เยอรมัน (TGI) คืดจุดที่ ๒ ที่พวกเราไปเยี่ยมชมและพบกับชาวซูดานที่มาฝึกอบรมรวมถึงพนักงานคนไทยจากบริษัทต่างๆ ที่ถูกส่งมาพัฒนาฝีมือและทักษะโดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ที่ปีหนึ่งประเทศไทยต้องนำเข้าหลายหมื่นล้านบาทและระบบ computer control และระบบ automation ที่เป็นระบบสำคัญของโรงงานอุตสาหกรรม
มร. โยชิฮิเดะ ซูซูกิ เอ็มดี.บริษัทสยามโตโยต้าแมนูแฟคเธอริงก์ ผู้ผลิตเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซินให้กับรถโตโยต้าทั้งเก๋งและกระบะทั้งใช้ในประเทศไทยและส่งออกบอกว่า เมื่อปี ๒๕๔๘ บริษัทฉลองการผลิตครบ ๒ ล้านเครื่อง และปีนี้จะฉลองเครื่องที่ ๓ ล้าน เรามีพนักงาน ๒,๑๐๐ คนและตั้งเป้าหมายที่จะเป็นโรงงานผลิตเครื่องยนต์ดีที่สุดของโลกในปี ค.ศ. ๒๐๑๐ โดยใช้แนวคิดการบริหารแบบ KIJ คือ “ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และ ยืนด้วยตัวเอง”
บริษัทสยามโตโยต้าเป็นหนึ่งในกลุ่มซัพพลายเออร์ของกลุ่มโตโยต้าที่ใช้ระบบ mute run คือการรวมรวบชิ้นส่วนประกอบรถยนต์จากโรงงานซัพพลายเออร์ ๗๓ บริษัทภายในตารางเวลาที่กำหนดในแต่ละวันอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ผมสังเกตบุคลิกของพนักงงานบริษัทนี้แล้วทำให้เชื่อว่าได้รับการพัฒนาเป็นอย่างดีและนั่นหมายถึงคุณภาพและประสิทธิภาพของบุคลากรที่ระบบโตโยต้าสรรค์สร้างขึ้นมาพร้อมกับจดจำป้ายใหญ่ข้างฝาผนังที่เขียนกลยุทธ์การบริหารภายในว่า “Communication & cooperation” และเรายังได้ยินคำพูดของ มร.ซูซูกิที่ย้ำว่า ความภาคภูมิใจในการทำงานกับบริษัทคือหัวใจสำคัญ
โรงงาน คอบร้า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (Cobra International Co., Ltd.) คือบริษัทสุดท้ายที่เป็นของคนไทยโดยคนไทยที่ชาวคณะประชาธิปัตย์ไปเยือน
ไม่น่าเชื่อว่า บริษัทนี้ผลิตวินด์เซอร์ฟใหญ่ที่สุดในโลกครองมาร์เก็ตแชร์ถึง ๘๕ % ของตลาดโลกและยังเป็นผู้นำในการผลิตเซิร์ฟบอร์ด , เรือยอร์ชทั้งแบบนอคดาวน์และสำเร็จรูป และอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ค่ายออดี้ของเยอรมันโดยใช้ เทคโนโลยี่และวัสดุคอมโพสิท คาร์บอน มีพนักงานถึง ๔ พันคน
ดนู โชติกพนิช ซีอีโอ.หนุ่มเล่าว่า การทำธุรกิจ Sport Industry ต้องมีการโปรโมทแม้เราจะเป็นโรงงาน OEM แต่ยี่ห้อของเราเองคือ Cobra ก็ต้องสร้างและรักษาแบรนด์ เช่น การสนับสนุนเป็นสปอนเซอร์กิจกรรมทางกีฬา พร้อมกับการพัฒนาคุณภาพสินค้า “Cobra Touch” คือคุณภาพที่ลูกค้าสัมผัสได้เมื่อจับต้องสินค้าของเรา ลูกค้าจะรู้ได้ทันทีว่า นี่คือวินเซิร์ฟที่ผลิตจากคอบร้า
ปัญหาที่ดนูบอกกล่าวคือ การขาดแคลนแรงงานมีฝีมือและระบบบริหารจัดการภายในจากการขยายตัวที่เร็วเกินไป
ผมคิดว่า พวกเราได้เก็บเกี่ยวข้อมูล ความรู้และทรรศนะของผู้บริหารกิจการนิคมอุตสาหกรรมและบริษัทเอกชนทั้งของคนไทยและต่างประเทศเพื่อเป็นวัตถุดิบในการกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ตามแนวทางใหม่ของหัวหน้าพรรค อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
วันนี้ประเทศไทยต้องการการมองไกลไปข้างหน้าและการมีส่วนร่วมจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ไม่เช่นนั้นเราจะสูญเสียโอกาสในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การพัฒนาที่เข้มแข็งและแข่งขันได้ในเวทีโลก.
***********************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 พ.ค. 2550--จบ--
โดย อลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
“ผมจะเป็นคนดี”คือชื่อหนังสือขายดีของ”วิกรม กรมดิษฐ์” ประธาน บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (AMATA) ที่มอบให้กับพวกเราพร้อมกับมุมมองวิสัยทัศน์ที่กว้างและลุ่มลึกบนโต๊ะสนทนาระหว่างอาหารกลางวันที่คลับเฮ้าส์ของสนามกอล์ฟอมตะสปริงค์เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคมที่ผ่านมา
ชาวคณะประชาธิปัตย์ประกอบไปด้วย ท่านอภิสิทธิ์ เวชาชาชีวะ หัวหน้าพรรค วิฑูร นามบุตร กรณ์ จาติกวณิช เกียรติ สิทธีอมร พิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล คุณหญิง ดร.กัลยา โสภณพนิช นพ.บูรณัช สมุทรวณิช องอาจ คล้ามไพบูลย์ และผม อลงกรณ์ พลบุตร พร้อมคณะทำงานเดินทางไปเยี่ยมชมนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครและแลกเปลี่ยนยความคิดเห็นกับ คณะผู้บริหารของกลุ่มอมตะ คือคุณวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานใหญ่ คุณวิบูลย์ กรมดิษฐ์ รองประธานใหญ่ คุณ สมหะทัย พานิชชีวะรองประธานอาวุโสฝ่ายพัฒนาธุรกิจและคุณ กำจร วรวงศากุล รองประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
ต้องยอมรับว่า AMATA เติบโตก้าวหน้าอย่างมั่นคงทั้งกิจการในประเทศไทยคือที่ อมตะนครในจังหวัดชลบุรีและอมตะซิตี้ในจังหวัดระยองรวมถึงการบุกเบิกนิคมอุตสาหกรรมอมตะเวียดนามตั้งแต่เมื่อ ๑๑ ปีก่อนจนถึงปัจจุบัน
โดยเฉพาะอมตะนครที่เราไปเยี่ยมชมมีพื้นที่เกือบ ๒ หมื่นไร่และมีบริษัทต่างประเทศและของคนไทยซื้อพื้นที่และบริการในนิคมอมตะนครกว่า ๘๐ % ของพื้นที่ทั้งหมด
พวกเราไม่แปลกใจในความสำเร็จของAMATA เมื่อรับทราบถึงวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ธุรกิจของบริษัทนี้โดยเฉพาะคอนเซปต์ PERFECT CITY ที่สร้างอมตะนครไม่ใช่เป็นเพียงนิคมอุตสาหกรรมเท่านั้นแค่เปรียบเสมือนเมืองน่าอยู่เป็นระเบียบสะอาดสวยงามเพียบพร้อมไปด้วยโครงสร้างพื้นฐาน การบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับผมแล้ว อมตะนครดูจะเหนือกว่านิคมอุตสาหกรรมซูโจวของจีนที่ได้เดินทางไปดูงานเมื่อปลายปีที่แล้ว
จุดได้เปรียบของอมตะนครคือ ที่ตั้งและลอจิสติกส์(Logistics) ซึ่งเป็นจุดแข็งของธุรกิจในโลกแห่งการแข่งขันทุกวันนี้ เพราะอมตะนครขนาบด้วย ถนนบางนา - ตลาดและมอเตอร์เวย์ และอยู่ใกล้กับสนามบินสุวรรณภูมิและท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง
ตัวบ่งชี้ประการหนึ่งคือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แอร์คาร์โก(Air cargo) เพิ่มจำนวนในรายชื่อลูกค้าของอมตะนครมากขึ้น
ความก้าวหน้าของกลุ่มนี้มาจากความสามารถในการบริหารจัดการและการวางตำแหน่งธุรกิจได้อย่างเหมาะสมกับจุดแข็งของทำเลที่ตั้งและการกำหนด “แผนธุรกิจ ๕ ปี” ซึ่งรวมถึงการขยายการลงทุนนิคมอุตสาหกรรมในประเทศเวียดนามแสดงถึงการมองไกลไปข้างหน้าตามกระแสการลงทุนของโลก
ไม่น่าเชื่อว่า AMATA สามารถสร้างผลผลิตมวลรวมคิดเป็น ๖ % ของจีดีพี.ประเทศไทยและตั้งเป้าหมายจะทำให้ได้ ๑๐ % ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า วันนี้จีดีพี.ประเทศไทยอยู่ที่ ๒๐๐,๐๐๐ ล้านเหรียญ ๑๐ % คือ ๗๕๐,๐๐๐ ล้านบาท
คณะผู้บริหารอมตะตอบคำถามเรื่องจุดแข็งของประเทศไทยกับเวียดนามว่า ประเทศไทยได้เปรียบเรื่อง Infrastructure, logistics และ skill labour แต่เวียดนามมีจุดแข็งที่ ค่าแรง, ค่าเช่าที่ดินและค่าก่อสร้างที่ถูกกว่าไทย รวมถึงความรวดเร็วในการออกใบอนุญาตการลงทุนซึ่งใช้เวลา ๖ ชั่วโมง เทียบกับ ๒ สัปดาห์ของไทย นอกจากนี้เวียดนามยังเก็บภาษีนิติบุคคลในนิคมอุตสาหกรรมเพียง ๑๐ %ของ net profit และให้เช่าที่ดิน ๕๐ ปีไม่ต้องลงทุนซื้อ และการที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกเมื่อปลายปีที่แล้วก็ยิ่งดึงดูดความน่าสนใจในการลงทุนของเวียดนาม
“อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็ยังเหนือกว่า อย่างเช่น ฝีมือแรงงานและประสิทธิภาพการทำงาน เรามีโรงงานประกอบรถบีเอ็ม.ซึ่งสำนักงานใหญ่ของเยอรมันเลือกให้โรงงานในประเทศไทยประกอบรถบีเอ็ม.ซีรี่ ๗ แต่เพียงแห่งเดียว หรือโตโยต้าทุ่มเทลงทุนจนไทยกลายเป็นฐานผลิตใหญ่อันดับ ๓ ของโลกสำหรับโตโยต้าเป็นรองเพียงในญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาเท่านั้น” คุณวิกรมเล่าให้ฟังพร้อมฝากให้รัฐให้ความสำคัญกับการสนับสนุนส่งเสริมศักยภาพของนิคมอุตสาหกรรมและนโยบายการพัฒนาฝีมือแรงงาน
“สมัยประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลเห็นความสำคัญในเรื่องนี้จึงดำเนินนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนนิคมอุตสาหกรรมและกำหนด Zoning การลงทุนรวมทั้งตั้งกระทรวงแรงงานและทุ่มงบให้กับการศึกษาอย่างเต็มที่” ท่านอภิสิทธิ์กล่าวอย่างหนักแน่นถึงผลงานในอดีตของพรรค และกำลังจะสานต่อในอนาคตหากว่ามีโอกาส
สถาบันฝึกอบรมไทย-เยอรมัน (TGI) คืดจุดที่ ๒ ที่พวกเราไปเยี่ยมชมและพบกับชาวซูดานที่มาฝึกอบรมรวมถึงพนักงานคนไทยจากบริษัทต่างๆ ที่ถูกส่งมาพัฒนาฝีมือและทักษะโดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ที่ปีหนึ่งประเทศไทยต้องนำเข้าหลายหมื่นล้านบาทและระบบ computer control และระบบ automation ที่เป็นระบบสำคัญของโรงงานอุตสาหกรรม
มร. โยชิฮิเดะ ซูซูกิ เอ็มดี.บริษัทสยามโตโยต้าแมนูแฟคเธอริงก์ ผู้ผลิตเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซินให้กับรถโตโยต้าทั้งเก๋งและกระบะทั้งใช้ในประเทศไทยและส่งออกบอกว่า เมื่อปี ๒๕๔๘ บริษัทฉลองการผลิตครบ ๒ ล้านเครื่อง และปีนี้จะฉลองเครื่องที่ ๓ ล้าน เรามีพนักงาน ๒,๑๐๐ คนและตั้งเป้าหมายที่จะเป็นโรงงานผลิตเครื่องยนต์ดีที่สุดของโลกในปี ค.ศ. ๒๐๑๐ โดยใช้แนวคิดการบริหารแบบ KIJ คือ “ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และ ยืนด้วยตัวเอง”
บริษัทสยามโตโยต้าเป็นหนึ่งในกลุ่มซัพพลายเออร์ของกลุ่มโตโยต้าที่ใช้ระบบ mute run คือการรวมรวบชิ้นส่วนประกอบรถยนต์จากโรงงานซัพพลายเออร์ ๗๓ บริษัทภายในตารางเวลาที่กำหนดในแต่ละวันอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ผมสังเกตบุคลิกของพนักงงานบริษัทนี้แล้วทำให้เชื่อว่าได้รับการพัฒนาเป็นอย่างดีและนั่นหมายถึงคุณภาพและประสิทธิภาพของบุคลากรที่ระบบโตโยต้าสรรค์สร้างขึ้นมาพร้อมกับจดจำป้ายใหญ่ข้างฝาผนังที่เขียนกลยุทธ์การบริหารภายในว่า “Communication & cooperation” และเรายังได้ยินคำพูดของ มร.ซูซูกิที่ย้ำว่า ความภาคภูมิใจในการทำงานกับบริษัทคือหัวใจสำคัญ
โรงงาน คอบร้า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (Cobra International Co., Ltd.) คือบริษัทสุดท้ายที่เป็นของคนไทยโดยคนไทยที่ชาวคณะประชาธิปัตย์ไปเยือน
ไม่น่าเชื่อว่า บริษัทนี้ผลิตวินด์เซอร์ฟใหญ่ที่สุดในโลกครองมาร์เก็ตแชร์ถึง ๘๕ % ของตลาดโลกและยังเป็นผู้นำในการผลิตเซิร์ฟบอร์ด , เรือยอร์ชทั้งแบบนอคดาวน์และสำเร็จรูป และอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ค่ายออดี้ของเยอรมันโดยใช้ เทคโนโลยี่และวัสดุคอมโพสิท คาร์บอน มีพนักงานถึง ๔ พันคน
ดนู โชติกพนิช ซีอีโอ.หนุ่มเล่าว่า การทำธุรกิจ Sport Industry ต้องมีการโปรโมทแม้เราจะเป็นโรงงาน OEM แต่ยี่ห้อของเราเองคือ Cobra ก็ต้องสร้างและรักษาแบรนด์ เช่น การสนับสนุนเป็นสปอนเซอร์กิจกรรมทางกีฬา พร้อมกับการพัฒนาคุณภาพสินค้า “Cobra Touch” คือคุณภาพที่ลูกค้าสัมผัสได้เมื่อจับต้องสินค้าของเรา ลูกค้าจะรู้ได้ทันทีว่า นี่คือวินเซิร์ฟที่ผลิตจากคอบร้า
ปัญหาที่ดนูบอกกล่าวคือ การขาดแคลนแรงงานมีฝีมือและระบบบริหารจัดการภายในจากการขยายตัวที่เร็วเกินไป
ผมคิดว่า พวกเราได้เก็บเกี่ยวข้อมูล ความรู้และทรรศนะของผู้บริหารกิจการนิคมอุตสาหกรรมและบริษัทเอกชนทั้งของคนไทยและต่างประเทศเพื่อเป็นวัตถุดิบในการกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ตามแนวทางใหม่ของหัวหน้าพรรค อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
วันนี้ประเทศไทยต้องการการมองไกลไปข้างหน้าและการมีส่วนร่วมจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ไม่เช่นนั้นเราจะสูญเสียโอกาสในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การพัฒนาที่เข้มแข็งและแข่งขันได้ในเวทีโลก.
***********************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 พ.ค. 2550--จบ--