ชาวไร่อ้อยได้ เฮ ปีนี้อ้อยราคาดี หวานมากขึ้น เนื่องจากฝนมาช้า ด้าน สศข.5 เตือน ให้ระวังการเผาอ้อยและไฟป่า เพราะอากาศแห้ง แนะทำการตัดอ้อยโดยการสางใบระหว่างแถวด้วยมือแล้วไถกลบตออ้อยให้เป็นปุ๋ยจะดีกว่า
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในช่วงนี้เป็นฤดูของการเปิดหีบอ้อย (เดือนพฤศจิกายน — มีนาคม) เกษตรกรเริ่มทำการตัดอ้อยเพื่อที่จะส่งขายโรงงาน สำหรับราคาอ้อยของจังหวัดนครราชสีมาปีนี้ คือปีเพาะปลูก 2549/2550 เริ่มต้นราคาเฉลี่ย 846 บาท/ตัน ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้ว คือ ปีเพาะปลูก 2548/2549 ที่ราคาเฉลี่ย 599.75 บาท/ตัน จะเห็นได้ว่าเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมาจะขายอ้อยได้ราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิม สาเหตุหนึ่งมาจากการที่ปีนี้ฝนมาช้ามากจนถึงเดือนสิงหาคม ทำให้ความหวานของอ้อยมีเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นที่น่ายินดีของชาวไร่อ้อย แต่ทาง สศข.5 อยากขอเตือนเกษตรกรในช่วงฤดูนี้ว่าให้ระวังไฟป่าหรือการเผาอ้อย เพราะอากาศแห้ง มีลมแรงรวมทั้งใบอ้อยที่แห้งอยู่ด้วยแล้ว ซึ่งจะทำให้เกิดไฟไหม้ขึ้นได้ง่าย และสำหรับเกษตรกรที่ทำการตัดอ้อยโดยการเผาก่อนเพื่อง่ายต่อการตัดนั้น เกษตรกรบางท่านอาจยังไม่ทราบผลเสียของการเผาอ้อย ซึ่งนอกจากทำให้สภาพแวดล้อมเสีย แมลงสัตว์ต่างๆ ตายแล้ว เขม่าควันยังไปเกาะต้นอ้อยทำให้เป้นสิ่งเจือปนในน้ำตาลอีกด้วย เป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาอ้อยขายได้ในราคาต่ำ ดังนั้น เกาตรกรชาวไร่อ้อยจึงน่าจะทำการตัดอ้อยโดยการสางใบระหว่างแถวด้วยมือแล้วไถกลบตออ้อยให้เป็นปุ๋ยสำหรับอ้อยตอ 2 ตอ 3 ต่อไปจะดีกว่า
อ้อย นับเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อมนุษย์มากในแง่การใช้เป็นอาหาร ซึ่งมีความสำคัญอันดับ 4 ของโลก รองจากข้าวสาลี ข้าวโพดและข้าวตามลำดับ สำหรับปประเทศไทยได้มีการปลูกอ้อยมาตั้งแต่โบราณกาล โดยมีการเริ่มทำน้ำตาลอ้อยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยประมาณปี พ.ศ. 1920 แหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ที่เมืองสุโขทัย แต่ในปัจจุบันประเทศไทยมีการปลูกอ้อยกันทั่วไปยกเว้นภาคใต้ ทั้งนี้เพราะสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมแก่การปลูก กล่าวคือ มีฝนตกชุกและมีอากาศร้อนตลอดทั้งปี ซึ่งทำให้อ้อยไม่หวาน ส่วนภาคอื่นๆ การปลูกกันทั่วไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในช่วงนี้เป็นฤดูของการเปิดหีบอ้อย (เดือนพฤศจิกายน — มีนาคม) เกษตรกรเริ่มทำการตัดอ้อยเพื่อที่จะส่งขายโรงงาน สำหรับราคาอ้อยของจังหวัดนครราชสีมาปีนี้ คือปีเพาะปลูก 2549/2550 เริ่มต้นราคาเฉลี่ย 846 บาท/ตัน ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้ว คือ ปีเพาะปลูก 2548/2549 ที่ราคาเฉลี่ย 599.75 บาท/ตัน จะเห็นได้ว่าเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมาจะขายอ้อยได้ราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิม สาเหตุหนึ่งมาจากการที่ปีนี้ฝนมาช้ามากจนถึงเดือนสิงหาคม ทำให้ความหวานของอ้อยมีเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นที่น่ายินดีของชาวไร่อ้อย แต่ทาง สศข.5 อยากขอเตือนเกษตรกรในช่วงฤดูนี้ว่าให้ระวังไฟป่าหรือการเผาอ้อย เพราะอากาศแห้ง มีลมแรงรวมทั้งใบอ้อยที่แห้งอยู่ด้วยแล้ว ซึ่งจะทำให้เกิดไฟไหม้ขึ้นได้ง่าย และสำหรับเกษตรกรที่ทำการตัดอ้อยโดยการเผาก่อนเพื่อง่ายต่อการตัดนั้น เกษตรกรบางท่านอาจยังไม่ทราบผลเสียของการเผาอ้อย ซึ่งนอกจากทำให้สภาพแวดล้อมเสีย แมลงสัตว์ต่างๆ ตายแล้ว เขม่าควันยังไปเกาะต้นอ้อยทำให้เป้นสิ่งเจือปนในน้ำตาลอีกด้วย เป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาอ้อยขายได้ในราคาต่ำ ดังนั้น เกาตรกรชาวไร่อ้อยจึงน่าจะทำการตัดอ้อยโดยการสางใบระหว่างแถวด้วยมือแล้วไถกลบตออ้อยให้เป็นปุ๋ยสำหรับอ้อยตอ 2 ตอ 3 ต่อไปจะดีกว่า
อ้อย นับเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อมนุษย์มากในแง่การใช้เป็นอาหาร ซึ่งมีความสำคัญอันดับ 4 ของโลก รองจากข้าวสาลี ข้าวโพดและข้าวตามลำดับ สำหรับปประเทศไทยได้มีการปลูกอ้อยมาตั้งแต่โบราณกาล โดยมีการเริ่มทำน้ำตาลอ้อยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยประมาณปี พ.ศ. 1920 แหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ที่เมืองสุโขทัย แต่ในปัจจุบันประเทศไทยมีการปลูกอ้อยกันทั่วไปยกเว้นภาคใต้ ทั้งนี้เพราะสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมแก่การปลูก กล่าวคือ มีฝนตกชุกและมีอากาศร้อนตลอดทั้งปี ซึ่งทำให้อ้อยไม่หวาน ส่วนภาคอื่นๆ การปลูกกันทั่วไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-