ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ให้สถาบันการเงินเข้มงวดการทำธุรกรรมเพื่อป้องกันการฟอกเงินและการให้เงินสนับสนุนการก่อการร้าย
นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผอ.อาวุโส ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง ธปท. เปิดเผยว่า สนง.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
ได้ออกมาตรการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การรู้จัก
ลูกค้าหรือการตรวจสอบ เพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าของสถาบันการเงินและหน่วยงานธุรกิจหรือผู้ประกอบวิชาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
ให้มากขึ้น โดย ธปท. ได้ส่งจดหมายเวียนในประเด็นดังกล่าวถึงสถาบันการเงินทุกแห่งที่ทำธุรกิจประเภท ธ.พาณิชย์ บริษัทเงินทุน
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน บริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล
ภายใต้การกำกับที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เพื่อให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ ปปง. ขณะเดียวกันเพื่อป้องกันการฟอกเงินซึ่งถือเป็นอาชญากรรม
ที่ส่งผลโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศและเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ โดยให้สถาบันการเงินเก็บหลักฐานการแสดงตน
ของลูกค้า รวมทั้งที่อยู่อาศัยและให้ตรวจสอบข้อมูลลูกค้าให้เข้มข้นมากขึ้นหากพบว่าลูกค้ามีความเสี่ยงที่จะกระทำความผิด โดยจะต้องมีการ
ประเมินความเสี่ยงและตรวตสอบวิเคราะห์ความถูกต้องตามความเหมาะสม รวมทั้งสถาบันการเงินจะต้องป้องกันไม่ให้ใช้ชื่อปลอม ชื่อแฝง
หรือปกปิดชื่อในการเปิดบัญชี และกรณีที่ให้ผู้ดำเนินการแทนจะต้องดูข้อมูลทั้งผู้ดำเนินการแทนและตัวเจ้าของบัญชีด้วย นอกจากนี้ ลูกค้าที่ต้อง
ให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ ลูกค้าที่สถานะหรือความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเมือง ลูกค้าที่มีถิ่นที่อยู่หรือแหล่งเงินที่มาจากประเทศที่ไม่มีการ
ใช้กฎหมายการฟอกเงิน และลูกค้าที่มีการทำธุรกรรมที่น่าสงสัย (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ)
2. ธปท. จะพิจารณาการขอนำเงินออกนอกประเทศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ นายสุชาติ สักการโกศล
ผอ.ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ สายตลาดการเงิน ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับหนังสือเพื่อขอนำเงินออกประเทศไปซื้อ
หุ้นสโมสรแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ที่ประเทศอังกฤษของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หากยื่นขอมาก็พร้อมจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ โดยต้องหารือกับ
คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) และ สนง.ปปง. ด้วย เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ระหว่างถูก
ตรวจสอบว่ากระทำผิดต่อรัฐและคดีอยู่ในระหว่างการสอบสวน ซึ่งตามปกติจะใช้เวลา 7 วันในการพิจารณา แต่กรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ
อาจต้องใช้เวลาเป็นเดือนจึงจะทราบผล เพราะต้องหารือกับ คตส. และ ปปง. อย่างไรก็ตาม ธปท. ไม่ห่วงเรื่องการขนเงินออกไป
ซื้อหุ้นแล้วขายทิ้งภายหลัง เพราะมีกฎหมายควบคุมอยู่ว่าต้องนำเงินกลับมาประเทศในทันที (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
3. ยอดการส่งออก 4 เดือนแรกปีนี้มีมูลค่ากว่า 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.27 นายเกริกไกร จีระแพทย์
รมว.พาณิชย์ แถลงตัวเลขการส่งออกเดือน เม.ย.50 ว่า มีมูลค่า 10,874.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 18.51 ลดลงจากเดือน มี.ค.50 ที่มีมูลค่า 13,103.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากเป็นฤดูกาลส่งออกตามปกติที่เดือน เม.ย.
จะขยายตัวต่ำกว่าเดือน มี.ค. ส่วนการนำเข้าในเดือน เม.ย. มีมูลค่า 10,618.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.86 ทำให้
ดุลการค้าเดือน เม.ย. เกินดุล 255.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับยอดการส่งออกในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้มีมูลค่า 45,698.5 ล้านดอลลาร์
สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.27 การนำเข้ามีมูลค่า 41,171.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.68 ทำให้ดุลการค้าเกินดุล
4,526.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดดุล 1,071 ล้านดอลลาร์สรอ. ด้านนายการุณ กิตติสถาพร ปลัด
ก.พาณิชย์ กล่าวว่า ขณะนี้เรื่องการส่งออกไม่ต้องเป็นห่วงเพราะขยายตัวดีต่อเนื่อง ส่งผลให้ ก.พาณิชย์อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะต้อง
ปรับประมาณการส่งออกปีนี้ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.5 หรือไม่ แต่ตอนนี้ถือว่าเหมาะสมแล้ว แม้ว่าค่าเงินบาทจะอยู่ที่ระดับ 34 บาท
ต่อดอลลาร์ สรอ. แต่ถือว่าแข็งค่าในระดับใกล้เคียงกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาค ทำให้ผู้ประกอบการมั่นใจที่จะทำการค้ามากขึ้น (มติชน, เดลินิวส์)
4. ก.คลังเตรียมเสนอ ครม. เพิ่มวงเงินค่าลดหย่อนดอกเบี้ยซื้อบ้านจาก 5 หมื่นบาท เป็น 1 แสนบาท นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับคณะที่ปรึกษาและกรมสรรพากรว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปร่วมกันที่จะเพิ่มวงเงินค่าลดหย่อนดอกเบี้ยซื้อบ้าน
ให้กับประชาชนเพิ่มขึ้นจาก 50,000 บาท เป็น 100,000 บาท ในการนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งคาดว่า ก.คลังจะนำเสนอ
ให้ที่ประชุม ครม. พิจารณาได้ในวันที่ 29 พ.ค.นี้ ซึ่งประชาชนที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยสามารถตัดสินใจได้เลยและมาตรการนี้สามารถนำไป
หักลดหย่อนภาษีได้ในปีบัญชีภาษี 2550 ที่จะต้องยื่นแบบและชำระภาษีตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. — 31 มี.ค.51 ส่วนมาตรการเพิ่มการหักค่าใช้จ่าย
ของบุคคลธรรมเป็น 1 แสนบาท ยังไม่รีบดำเนินการ เพราะการขาดดุลการคลังที่มากกว่าปกติก็ช่วยเศรษฐกิจอยู่แล้ว และคาดว่าในไตรมาส 3
เศรษฐกิจจะดีขึ้น โดยมาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้มีกำลังซื้อออกมาในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ส่วนการที่ ก.คลังไม่ใช้มาตรการปรับลดภาษีธุรกิจ
เฉพาะให้ผู้ประกอบการเพราะเห็นว่าหากลดภาษีธุรกิจเฉพาะให้แล้วก็ไม่สามารถเป็นหลักประกันได้ว่าผู้ประกอบการจะลดราคาอสังหาริมทรัพย์
ลงมา ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือเฉพาะผู้ประกอบการ ขณะที่การลดค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนองจะทำให้กระทบต่อรายได้ของท้องถิ่น
(เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าของ สรอ. และของจีนร่วมลงนามในความตกลงด้านการเงิน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
วันที่ 21 พ.ค. 50 ธ. เพื่อการส่งออกและนำเข้า(ex-im banks) ของสรอ.และจีนได้ร่วมลงนามในข้อตกลงด้านการเงินเมื่อวันจันทร์
ที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าจาก สรอ. ไปยังจีน โดยข้อตกลงเกือบทั้งหมดครอบคลุมการส่งออกสินค้าของสรอ. ที่มีมูลค่ากว่า
20 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ ex-im banks ของ สรอ. ได้ประกาศที่จะพิจารณาให้การสนับสนุนทางการเงินจำนวน 164 ล้าน ดอลลาร์
สรอ. ให้แก่จีนเพื่อใช้ในการบำรุงรักษาเครื่องมือเครื่องจักรภายใต้โครงการ heavy-duty railway ซึ่งเครื่องจักรอุปกรณ์ดังกล่าวมี
บริษัท Harsco ในเพนซิลวาเนียเป็นผู้จัดจำหน่ายให้แก่ทางการจีนที่มีมูลค่าการสั่งซื้อมากกว่า 350 ล้านดอลล่าร์ สรอ. นอกจากนั้น
รมว.คลังสรอ. และนาย Wu Yi นรม.จีนและคณะจะได้หารือกันในประเด็นทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศด้วย ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว สรอ.
ขาดดุลการค้าจำนวนมหาศาลกับจีนทำสถิติสูงสุด 233 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. และเป็นจุดที่สมาชิกสภาของปธน. บุชหลายคน ไม่พอใจ
และเห็นว่าการลงนามข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุดที่สามารถลดการขาดดุลการค้าลงได้โดยการกระตุ้นการส่งออก แทนการใช้
มาตรการการนำเข้าที่เข้มงวด นอกจากนั้น ex-im banks ของทั้ง 2 ประเทศยังได้ร่วมลงนามในข้อตกลงที่จะเร่งให้การสนับสนุนทาง
การเงินในการจำหน่ายยาและเวชภัณฑ์ในแก่โรงพยาบาลของจีนด้วย (รอยเตอร์)
2. คาดว่าในเดือน เม.ย.50 ญี่ปุ่นจะเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.2 และดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานลดลงร้อยละ 0.1
เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ 22 พ.ค.50 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าญี่ปุ่นจะมียอดเกินดุลการค้า
ในเดือน เม.ย.50 จำนวน 953.7 พันล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.2 เทียบต่อปี หลังจากในเดือน มี.ค.50 มียอดเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 73.9 มีจำนวน 1.6335 ล้านล้านเยนหรือประมาณ 13.47 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยคาดว่ายอดส่งออกในเดือน เม.ย.50
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 ในขณะที่ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ทั้งนี้ คาดว่าเป็นผลมาจากเศรษฐกิจ สรอ.ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของญี่ปุ่น
ชะลอตัวลง แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่ายอดเกินดุลการค้ายังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อไปจากความต้องการของลูกค้าในเอเชีย
และยุโรปที่ยังขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ในขณะที่คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่ราคาอาหารจะลดลงร้อยละ 0.1 ต่อปีในเดือน เม.ย.50
หลังจากลดลงร้อยละ 0.3 และร้อยละ 0.1 ต่อปีในเดือน มี.ค.และ ก.พ.50 ตามลำดับ โดย ธ.กลางญี่ปุ่นคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ใน
ระดับคงที่ในช่วงระยะสั้น ผลจากราคาน้ำมันที่ชะลอตัวลง แต่ในระยะยาวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเมื่ออัตราการใช้กำลังการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น
และ ธ.กลางญี่ปุ่นอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกหากมีสัญญาณว่าอัตราเงินเฟ้อในอนาคตจะสูงขึ้น แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในระยะสั้นจะลดลง
ก็ตาม ทั้งนี้ ธ.กลางญี่ปุ่นได้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปีมาตั้งแต่เดือน ก.พ.50 ซึ่งมีการปรับอัตราดอกเบี้ยจาก
ร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 0.50 ต่อปี หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกจากร้อยละ 0 เป็นร้อยละ 0.25 ต่อปีตั้งแต่เดือน ก.ค.49 (รอยเตอร์)
3. OPEC ยืนยันอุปทานน้ำมันในตลาดโลกยังคงอยู่ในระดับที่ดี ขณะที่ราคาน้ำมันยังคงสูงขึ้น รายงานจากโซลเมื่อ 21 พ.ค.50
ประธานกลุ่มประเทศ OPEC กล่าวยืนยันความเห็นเดิมที่เคยกล่าวไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า อุปทานน้ำมันในตลาดโลกยังคงอยู่ในระดับที่ดี และอาจ
มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะอุปทานล้นเกินได้ แต่การที่ราคาน้ำมันยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง น่าจะเป็นผลมาจากการที่ สรอ.ประสบปัญหาในเรื่อง
การกลั่นน้ำมัน รวมทั้งการที่ สรอ.ยังไม่ได้ใช้กำลังการผลิตอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยราคาน้ำมันดิบในตลาดเบรนท์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้น
เหนือระดับ 70 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.49 อย่างไรก็ตาม ในเดือน พ.ย.49 และ ก.พ.50
ที่ผ่านมา OPEC ได้ลดปริมาณการผลิตน้ำมันลงเหลือ 1.7 พัน ล.บาร์เรลต่อวัน (รอยเตอร์)
4. ดัชนีขายส่งของสิงคโปร์ในไตรมาสแรกปี 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เทียบต่อปี รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 21 พ.ค.50
สำนักงานสถิติสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ดัชนีขายส่งของสิงคโปร์ (ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสิงคโปร์) ในไตรมาสแรกปี 50
เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เทียบจากปีก่อนหน้า หลังจากที่ลดลงร้อยละ 4 ในไตรมาส 4 ปี 49 ซึ่งเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี และหาก
ไม่นับรวมยอดขายส่งเชื้อเพลิง (ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 32 ของดัชนีขายส่งโดยรวม) จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เทียบต่อปี ทั้งนี้ สาเหตุ
สำคัญที่ส่งผลให้ดัชนีขายส่งของสิงคโปร์ในไตรมาสแรกเพิ่มขึ้น เนื่องจากยอดขายส่งสินค้าหมวดอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบเพิ่มขึ้นอย่าง
แข็งแกร่ง นอกจากนี้ ยอดขายน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมันในไตรมาสแรกก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เทียบต่อปีเช่นเดียวกัน ขณะที่ผลิตภัณฑ์
เคมีภัณฑ์ลดลงร้อยละ 6.7 และยอดขายผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 14 ของดัชนีขายส่งโดยรวม) ใน
ไตรมาสแรกปี 50 ลดลงร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบต่อปี อนึ่ง สำหรับดัชนีขายส่งเมื่อเทียบต่อไตรมาสในไตรมาส 4 ปี 49 ลดลงร้อยละ 7.5
หลังจากที่รายงานเบื้องต้นก่อนหน้านี้ว่าลดลงร้อยละ 6.9 ทั้งนี้ ดัชนีขายส่งได้จากการสำรวจผู้ประกอบการค้าส่งประมาณ 810 แห่ง และ
เป็นตัวเลขที่สามารถบ่งชี้ถึงสภาวะการขายปลีก รวมทั้งเป็นทิศทางและแนวโน้มของดัชนีราคาผู้บริโภคในอนาคตได้อีกด้วย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 พ.ค. 50 21 พ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.591 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3683/34.7109 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.02391 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 728.22/12.53 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,850/10,950 10,850/10,950 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.75 65.98 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 30.39*/25.34** 29.99/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มเมื่อ 19 พ.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. ให้สถาบันการเงินเข้มงวดการทำธุรกรรมเพื่อป้องกันการฟอกเงินและการให้เงินสนับสนุนการก่อการร้าย
นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผอ.อาวุโส ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง ธปท. เปิดเผยว่า สนง.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
ได้ออกมาตรการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การรู้จัก
ลูกค้าหรือการตรวจสอบ เพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าของสถาบันการเงินและหน่วยงานธุรกิจหรือผู้ประกอบวิชาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
ให้มากขึ้น โดย ธปท. ได้ส่งจดหมายเวียนในประเด็นดังกล่าวถึงสถาบันการเงินทุกแห่งที่ทำธุรกิจประเภท ธ.พาณิชย์ บริษัทเงินทุน
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน บริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล
ภายใต้การกำกับที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เพื่อให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ ปปง. ขณะเดียวกันเพื่อป้องกันการฟอกเงินซึ่งถือเป็นอาชญากรรม
ที่ส่งผลโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศและเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ โดยให้สถาบันการเงินเก็บหลักฐานการแสดงตน
ของลูกค้า รวมทั้งที่อยู่อาศัยและให้ตรวจสอบข้อมูลลูกค้าให้เข้มข้นมากขึ้นหากพบว่าลูกค้ามีความเสี่ยงที่จะกระทำความผิด โดยจะต้องมีการ
ประเมินความเสี่ยงและตรวตสอบวิเคราะห์ความถูกต้องตามความเหมาะสม รวมทั้งสถาบันการเงินจะต้องป้องกันไม่ให้ใช้ชื่อปลอม ชื่อแฝง
หรือปกปิดชื่อในการเปิดบัญชี และกรณีที่ให้ผู้ดำเนินการแทนจะต้องดูข้อมูลทั้งผู้ดำเนินการแทนและตัวเจ้าของบัญชีด้วย นอกจากนี้ ลูกค้าที่ต้อง
ให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ ลูกค้าที่สถานะหรือความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเมือง ลูกค้าที่มีถิ่นที่อยู่หรือแหล่งเงินที่มาจากประเทศที่ไม่มีการ
ใช้กฎหมายการฟอกเงิน และลูกค้าที่มีการทำธุรกรรมที่น่าสงสัย (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ)
2. ธปท. จะพิจารณาการขอนำเงินออกนอกประเทศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ นายสุชาติ สักการโกศล
ผอ.ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ สายตลาดการเงิน ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับหนังสือเพื่อขอนำเงินออกประเทศไปซื้อ
หุ้นสโมสรแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ที่ประเทศอังกฤษของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หากยื่นขอมาก็พร้อมจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ โดยต้องหารือกับ
คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) และ สนง.ปปง. ด้วย เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ระหว่างถูก
ตรวจสอบว่ากระทำผิดต่อรัฐและคดีอยู่ในระหว่างการสอบสวน ซึ่งตามปกติจะใช้เวลา 7 วันในการพิจารณา แต่กรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ
อาจต้องใช้เวลาเป็นเดือนจึงจะทราบผล เพราะต้องหารือกับ คตส. และ ปปง. อย่างไรก็ตาม ธปท. ไม่ห่วงเรื่องการขนเงินออกไป
ซื้อหุ้นแล้วขายทิ้งภายหลัง เพราะมีกฎหมายควบคุมอยู่ว่าต้องนำเงินกลับมาประเทศในทันที (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
3. ยอดการส่งออก 4 เดือนแรกปีนี้มีมูลค่ากว่า 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.27 นายเกริกไกร จีระแพทย์
รมว.พาณิชย์ แถลงตัวเลขการส่งออกเดือน เม.ย.50 ว่า มีมูลค่า 10,874.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 18.51 ลดลงจากเดือน มี.ค.50 ที่มีมูลค่า 13,103.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากเป็นฤดูกาลส่งออกตามปกติที่เดือน เม.ย.
จะขยายตัวต่ำกว่าเดือน มี.ค. ส่วนการนำเข้าในเดือน เม.ย. มีมูลค่า 10,618.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.86 ทำให้
ดุลการค้าเดือน เม.ย. เกินดุล 255.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับยอดการส่งออกในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้มีมูลค่า 45,698.5 ล้านดอลลาร์
สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.27 การนำเข้ามีมูลค่า 41,171.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.68 ทำให้ดุลการค้าเกินดุล
4,526.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดดุล 1,071 ล้านดอลลาร์สรอ. ด้านนายการุณ กิตติสถาพร ปลัด
ก.พาณิชย์ กล่าวว่า ขณะนี้เรื่องการส่งออกไม่ต้องเป็นห่วงเพราะขยายตัวดีต่อเนื่อง ส่งผลให้ ก.พาณิชย์อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะต้อง
ปรับประมาณการส่งออกปีนี้ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.5 หรือไม่ แต่ตอนนี้ถือว่าเหมาะสมแล้ว แม้ว่าค่าเงินบาทจะอยู่ที่ระดับ 34 บาท
ต่อดอลลาร์ สรอ. แต่ถือว่าแข็งค่าในระดับใกล้เคียงกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาค ทำให้ผู้ประกอบการมั่นใจที่จะทำการค้ามากขึ้น (มติชน, เดลินิวส์)
4. ก.คลังเตรียมเสนอ ครม. เพิ่มวงเงินค่าลดหย่อนดอกเบี้ยซื้อบ้านจาก 5 หมื่นบาท เป็น 1 แสนบาท นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับคณะที่ปรึกษาและกรมสรรพากรว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปร่วมกันที่จะเพิ่มวงเงินค่าลดหย่อนดอกเบี้ยซื้อบ้าน
ให้กับประชาชนเพิ่มขึ้นจาก 50,000 บาท เป็น 100,000 บาท ในการนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งคาดว่า ก.คลังจะนำเสนอ
ให้ที่ประชุม ครม. พิจารณาได้ในวันที่ 29 พ.ค.นี้ ซึ่งประชาชนที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยสามารถตัดสินใจได้เลยและมาตรการนี้สามารถนำไป
หักลดหย่อนภาษีได้ในปีบัญชีภาษี 2550 ที่จะต้องยื่นแบบและชำระภาษีตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. — 31 มี.ค.51 ส่วนมาตรการเพิ่มการหักค่าใช้จ่าย
ของบุคคลธรรมเป็น 1 แสนบาท ยังไม่รีบดำเนินการ เพราะการขาดดุลการคลังที่มากกว่าปกติก็ช่วยเศรษฐกิจอยู่แล้ว และคาดว่าในไตรมาส 3
เศรษฐกิจจะดีขึ้น โดยมาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้มีกำลังซื้อออกมาในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ส่วนการที่ ก.คลังไม่ใช้มาตรการปรับลดภาษีธุรกิจ
เฉพาะให้ผู้ประกอบการเพราะเห็นว่าหากลดภาษีธุรกิจเฉพาะให้แล้วก็ไม่สามารถเป็นหลักประกันได้ว่าผู้ประกอบการจะลดราคาอสังหาริมทรัพย์
ลงมา ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือเฉพาะผู้ประกอบการ ขณะที่การลดค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนองจะทำให้กระทบต่อรายได้ของท้องถิ่น
(เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าของ สรอ. และของจีนร่วมลงนามในความตกลงด้านการเงิน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
วันที่ 21 พ.ค. 50 ธ. เพื่อการส่งออกและนำเข้า(ex-im banks) ของสรอ.และจีนได้ร่วมลงนามในข้อตกลงด้านการเงินเมื่อวันจันทร์
ที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าจาก สรอ. ไปยังจีน โดยข้อตกลงเกือบทั้งหมดครอบคลุมการส่งออกสินค้าของสรอ. ที่มีมูลค่ากว่า
20 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ ex-im banks ของ สรอ. ได้ประกาศที่จะพิจารณาให้การสนับสนุนทางการเงินจำนวน 164 ล้าน ดอลลาร์
สรอ. ให้แก่จีนเพื่อใช้ในการบำรุงรักษาเครื่องมือเครื่องจักรภายใต้โครงการ heavy-duty railway ซึ่งเครื่องจักรอุปกรณ์ดังกล่าวมี
บริษัท Harsco ในเพนซิลวาเนียเป็นผู้จัดจำหน่ายให้แก่ทางการจีนที่มีมูลค่าการสั่งซื้อมากกว่า 350 ล้านดอลล่าร์ สรอ. นอกจากนั้น
รมว.คลังสรอ. และนาย Wu Yi นรม.จีนและคณะจะได้หารือกันในประเด็นทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศด้วย ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว สรอ.
ขาดดุลการค้าจำนวนมหาศาลกับจีนทำสถิติสูงสุด 233 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. และเป็นจุดที่สมาชิกสภาของปธน. บุชหลายคน ไม่พอใจ
และเห็นว่าการลงนามข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุดที่สามารถลดการขาดดุลการค้าลงได้โดยการกระตุ้นการส่งออก แทนการใช้
มาตรการการนำเข้าที่เข้มงวด นอกจากนั้น ex-im banks ของทั้ง 2 ประเทศยังได้ร่วมลงนามในข้อตกลงที่จะเร่งให้การสนับสนุนทาง
การเงินในการจำหน่ายยาและเวชภัณฑ์ในแก่โรงพยาบาลของจีนด้วย (รอยเตอร์)
2. คาดว่าในเดือน เม.ย.50 ญี่ปุ่นจะเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.2 และดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานลดลงร้อยละ 0.1
เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ 22 พ.ค.50 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าญี่ปุ่นจะมียอดเกินดุลการค้า
ในเดือน เม.ย.50 จำนวน 953.7 พันล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.2 เทียบต่อปี หลังจากในเดือน มี.ค.50 มียอดเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 73.9 มีจำนวน 1.6335 ล้านล้านเยนหรือประมาณ 13.47 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยคาดว่ายอดส่งออกในเดือน เม.ย.50
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 ในขณะที่ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ทั้งนี้ คาดว่าเป็นผลมาจากเศรษฐกิจ สรอ.ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของญี่ปุ่น
ชะลอตัวลง แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่ายอดเกินดุลการค้ายังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อไปจากความต้องการของลูกค้าในเอเชีย
และยุโรปที่ยังขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ในขณะที่คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่ราคาอาหารจะลดลงร้อยละ 0.1 ต่อปีในเดือน เม.ย.50
หลังจากลดลงร้อยละ 0.3 และร้อยละ 0.1 ต่อปีในเดือน มี.ค.และ ก.พ.50 ตามลำดับ โดย ธ.กลางญี่ปุ่นคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ใน
ระดับคงที่ในช่วงระยะสั้น ผลจากราคาน้ำมันที่ชะลอตัวลง แต่ในระยะยาวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเมื่ออัตราการใช้กำลังการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น
และ ธ.กลางญี่ปุ่นอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกหากมีสัญญาณว่าอัตราเงินเฟ้อในอนาคตจะสูงขึ้น แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในระยะสั้นจะลดลง
ก็ตาม ทั้งนี้ ธ.กลางญี่ปุ่นได้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปีมาตั้งแต่เดือน ก.พ.50 ซึ่งมีการปรับอัตราดอกเบี้ยจาก
ร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 0.50 ต่อปี หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกจากร้อยละ 0 เป็นร้อยละ 0.25 ต่อปีตั้งแต่เดือน ก.ค.49 (รอยเตอร์)
3. OPEC ยืนยันอุปทานน้ำมันในตลาดโลกยังคงอยู่ในระดับที่ดี ขณะที่ราคาน้ำมันยังคงสูงขึ้น รายงานจากโซลเมื่อ 21 พ.ค.50
ประธานกลุ่มประเทศ OPEC กล่าวยืนยันความเห็นเดิมที่เคยกล่าวไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า อุปทานน้ำมันในตลาดโลกยังคงอยู่ในระดับที่ดี และอาจ
มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะอุปทานล้นเกินได้ แต่การที่ราคาน้ำมันยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง น่าจะเป็นผลมาจากการที่ สรอ.ประสบปัญหาในเรื่อง
การกลั่นน้ำมัน รวมทั้งการที่ สรอ.ยังไม่ได้ใช้กำลังการผลิตอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยราคาน้ำมันดิบในตลาดเบรนท์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้น
เหนือระดับ 70 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.49 อย่างไรก็ตาม ในเดือน พ.ย.49 และ ก.พ.50
ที่ผ่านมา OPEC ได้ลดปริมาณการผลิตน้ำมันลงเหลือ 1.7 พัน ล.บาร์เรลต่อวัน (รอยเตอร์)
4. ดัชนีขายส่งของสิงคโปร์ในไตรมาสแรกปี 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เทียบต่อปี รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 21 พ.ค.50
สำนักงานสถิติสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ดัชนีขายส่งของสิงคโปร์ (ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสิงคโปร์) ในไตรมาสแรกปี 50
เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เทียบจากปีก่อนหน้า หลังจากที่ลดลงร้อยละ 4 ในไตรมาส 4 ปี 49 ซึ่งเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี และหาก
ไม่นับรวมยอดขายส่งเชื้อเพลิง (ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 32 ของดัชนีขายส่งโดยรวม) จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เทียบต่อปี ทั้งนี้ สาเหตุ
สำคัญที่ส่งผลให้ดัชนีขายส่งของสิงคโปร์ในไตรมาสแรกเพิ่มขึ้น เนื่องจากยอดขายส่งสินค้าหมวดอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบเพิ่มขึ้นอย่าง
แข็งแกร่ง นอกจากนี้ ยอดขายน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมันในไตรมาสแรกก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เทียบต่อปีเช่นเดียวกัน ขณะที่ผลิตภัณฑ์
เคมีภัณฑ์ลดลงร้อยละ 6.7 และยอดขายผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 14 ของดัชนีขายส่งโดยรวม) ใน
ไตรมาสแรกปี 50 ลดลงร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบต่อปี อนึ่ง สำหรับดัชนีขายส่งเมื่อเทียบต่อไตรมาสในไตรมาส 4 ปี 49 ลดลงร้อยละ 7.5
หลังจากที่รายงานเบื้องต้นก่อนหน้านี้ว่าลดลงร้อยละ 6.9 ทั้งนี้ ดัชนีขายส่งได้จากการสำรวจผู้ประกอบการค้าส่งประมาณ 810 แห่ง และ
เป็นตัวเลขที่สามารถบ่งชี้ถึงสภาวะการขายปลีก รวมทั้งเป็นทิศทางและแนวโน้มของดัชนีราคาผู้บริโภคในอนาคตได้อีกด้วย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 พ.ค. 50 21 พ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.591 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3683/34.7109 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.02391 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 728.22/12.53 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,850/10,950 10,850/10,950 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.75 65.98 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 30.39*/25.34** 29.99/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มเมื่อ 19 พ.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--