ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ครม. อนุมัติ 6 มาตรการบรรเทาผลกระทบค่าเงินบาทตามที่ ธปท. เสนอ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า
ที่ประชุม ครม. อนุมัติมาตรการบรรเทาผลกระทบค่าเงินบาทตามที่ ธปท. เสนอ 6 มาตรการ เพื่อสร้างสมดุลในการปรับตัวของภาคธุรกิจมากขึ้น
ประกอบด้วย 1) การเปิดให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สามารถลงทุนในหุ้นหรือการฝากเงินในต่างประเทศได้ไม่เกิน 100 ล้านดอลลาร์
สรอ. ต่อปี และขยายเพดานการลงทุนของบริษัทจดทะเบียนจากปีละ 6.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เป็น 1 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. 2) ผู้ที่มี
รายได้จากต่างประเทศ เช่น ผู้ส่งออกหรือกู้เงินจากต่างประเทศ ที่มีภาระผูกพันภายใน 12 เดือน สามารถฝากเงินได้ไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์
สรอ. สำหรับบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลไม่เกิน 100 ล้านดอลลาร์ สรอ. 3) ปรับเพิ่มวงเงินที่ต้องการโอนไปต่างประเทศในรูปแบบต่าง ๆ
เช่น การโอนเงินให้ญาติในต่างประเทศ หรือซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ 1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อรายต่อปี 4) ขยายเวลาให้บุคคลที่มีรายรับ
เงินตราต่างประเทศต้องนำเงินดังกล่าวเข้าประเทศภายใน 120 วัน เป็นไม่เกิน 360 วัน 5) ยกเลิกข้อกำหนดผู้มีรายได้เป็นเงินตรา
ต่างประเทศต้องขายออกหรือฝากภายใน 15 วัน เป็นไม่มีกำหนด และ 6) ให้นักลงทุนประเภทสถาบันสามารถลงทุนในหลักทรัพย์หรือฝากเงิน
กับสถาบันการเงินต่างประเทศได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงาน ส่วนมาตรการที่จะพิจารณาเพิ่มเติม ได้แก่ การอนุญาตให้ผู้ค้าทองคำ
สามารถทำประกันความเสี่ยงโดยการซื้อสัญญาล่วงหน้าได้ (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
2. ยอดเอ็นพีแอลของสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือน มิ.ย.50 มีจำนวน 2.54 แสนล้านบาท ธปท. เผยแพร่ข้อมูลเอ็นพีแอลของ
สถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือน มิ.ย.50 มีจำนวนทั้งสิ้น 254,510 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.41 ของสินเชื่อทั้งระบบ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน
14,192 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.18 โดย ธ.พาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศมียอดเอ็นพีแอล 249,473 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.8 เพิ่มขึ้น
จากไตรมาสก่อน 14,263 ล้านบาท ซึ่งน่าสังเกตว่าในไตรมาสนี้ ธ.พาณิชย์ขนาดใหญ่เกือบทั้งหมดมีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น ยกเว้น ธ.กรุงเทพ และ
ธ.กสิกรไทย โดยในไตรมาส 2 ธ.กรุงเทพ มียอดเอ็นพีแอล 37,298 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.96 ลดลงจากไตรมาสก่อน
3,121 ล้านบาท ธ.กสิกรไทย 20,816 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.05 ลดลงจากไตรมาสก่อน 1,181 ล้านบาท ส่วนธนาคารที่มีเอ็นพีแอล
ต่อสินเชื่อเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ ธ.กรุงศรีอยุธยา 37,291ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.84 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 9,248 ล้านบาท ธ.กรุงไทย
37,298 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.3 เพิ่มขึ้น 6,444 ล้านบาท ธ.ทหารไทย 33,983 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.05 เพิ่มขึ้น
3,094 ล้านบาท และ ธ.ไทยพาณิชย์ 27,100 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.84 เพิ่มขึ้น 3,673 ล้านบาท (มติชน, โพสต์ทูเดย์,
กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
3. ธปท. อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติซื้อเงินบาทในประเทศเพื่อปิดสัญญาล่วงหน้าในตลาดต่างประเทศแล้ว นายสุชาติ สักการโกศล
ผอ.ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ สายตลาดการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (24 ก.ค.) ได้อนุญาตให้ผู้มีถิ่นฐานต่างประเทศ
ซึ่งเป็นรายใหญ่ 1 ราย เข้าซื้อเงินบาทในตลาดเงินบาทในประเทศเพื่อนำไปปิดสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศและการทำประกันความเสี่ยง
ในตลาดเงินบาทต่างประเทศตามมาตรการที่จะช่วยให้ค่าเงินบาทในตลาดเงินบาทในประเทศและต่างประเทศบีบเข้าหากันแล้ว ซึ่งคาดว่า
สถานการณ์ในตลาดต่างประเทศจะเริ่มดีขึ้น เพราะ ธปท. จะทยอยอนุญาตเพิ่มเติมมากขึ้น ด้าน นางนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการ
ธปท. กล่าวถึงกรณีที่มีข้อเสนอให้ ธปท. ปิดตลาดซื้อขายเงินบาทในต่างประเทศว่า ตลาดเงินบาทในต่างประเทศ ธปท. ไม่ได้เป็นคนเปิด
ให้มีการซื้อขาย เป็นตลาดเงินบาทที่นักลงทุนต่างชาติมาซื้อขายเงินบาทกันเองในต่างประเทศ ธปท. คงเข้าไปปิดไม่ได้ แต่ในขณะนี้หลังจาก
การออกมาตรการสำรองเงินร้อยละ 30 แล้ว สภาพคล่องเงินบาทในตลาดเงินบาทในต่างประเทศก็ลดลงมากและมีธุรกรรมน้อยมาก เพราะ
เงินบาทในประเทศไม่สามารถออกไปนอกประเทศได้ เมื่อมีสัญญาซื้อขายที่ครบกำหนดต้องการเงินบาทมาส่งมอบ ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศ
ก็จะปรับขึ้นแรง ๆ ครั้งหนึ่ง โดยไม่เกี่ยวกับปัจจัยภายใน จึงพูดได้ว่าเงินบาทใน 2 ตลาด ไม่ได้เชื่อมโยงกัน สำหรับตลาดเงินบาทใน
ต่างประเทศนั้น ธปท. ไม่เคยเข้าไปแทรกแซงหรือดูแลค่าเงินบาท เพราะไม่ใช่อัตราที่ใช้อัตราอ้างอิง แต่ยอมรับว่ามีบางครั้งที่เข้าไปดูแล
อัตราดอกเบี้ยการซื้อขายล่วงหน้าเพื่อไม่ให้ราคาบิดเบือนมากจนเกินไป (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
4. ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ค.50 มีจำนวน 3.21 ล้านล้านบาท นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผอ.สนง.บริหาร
หนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ค.50 มีจำนวนทั้งสิ้น 3,211,592 ล้านบาท หรือร้อยละ 38.24 ของจีดีพี
เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 10,093 ล้านบาท โดยแยกเป็นหนี้ต่างประเทศ 415,773 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.95 และหนี้ในประเทศ
2,795,819 ล้านบาท หรือร้อยละ 87.05 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,790,332 ล้านบาท หรือร้อยละ 86.88 และหนี้ระยะสั้น
421,260 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.12 ซึ่ง ก.คลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศจาก ธ.เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น
โดยชำระคืนก่อนครบกำหนด 35,762 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 10,183 ล้านบาท ทำให้สามารถลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 1,805 ล้านบาท
ส่วนช่วง 9 เดือนที่ของปี งปม.50 ได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศโดยชำระคืนก่อนครบกำหนด 28,890 ล้านบาท และรีไฟแนนซ์
เงินกู้ต่างประเทศด้วยเงินบาท 17,200 ล้านบาท สามารถลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 2,370 ล้านบาท (มติชน, ผู้จัดการรายวัน,
โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อใหม่ในสินค้าอุตสาหกรรมของยูโรโซนเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น รายงานจากบรัสเซล เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 50
สำนักงานสถิติแห่งชาติสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ในเดือน พ.ค. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของ 13 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7
จากที่ลดลงร้อยละ 0.6 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ในเดือน เม.ย. ขณะที่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้วคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมใน
เดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 11.8 ในเดือน เม.ย. และมากกว่าผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดย
รอยเตอร์ก่อนหน้านั้นที่คาดว่าคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมในเดือน พ.ค. จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 และร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบต่อเดือนและ
เทียบต่อปีตามลำดับ ทั้งนี้นาย Stephane Deo นักเศรษฐศาสตร์จากUBS กล่าวว่า แนวโน้มการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซน
ยังคงเป็นไปอย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้คำสั่งซื้อใหม่สามารถบ่งชี้ผลผลิตอุตสาหกรรมในอนาคตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมได้ซึ่งจะส่งผล
ต่อการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลางทำให้คาดว่าธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายราวร้อยละ 0.25 ในเดือน ก.ย.
เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์)
2. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.4 มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากโตเกียว เมื่อ 25 ก.ค.50
ก.คลังญี่ปุ่นเปิดเผยข้อมูลจากกรมศุลกากรว่า ญี่ปุ่นส่งออกในเดือน มิ.ย. 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 เทียบต่อปี ที่จำนวน 7.28 ล้านล้านเยน
(60.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ที่
จำนวน 6.06 ล้านล้านเยน ต่ำกว่าที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 ส่งผลให้ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 53.4 ที่จำนวน
1.23 ล้านล้านเยน สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเกินดุลการค้าจำนวน 948.5 พันล้านเยน ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้ญี่ปุ่นเกินดุลการค้า
ในเดือน มิ.ย.จำนวนมากกว่าที่คาดการณ์ เนื่องจากมีการส่งไปยังประเทศ สรอ. (ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าสินค้ารายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น)
เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.7 เทียบต่อปี ที่จำนวน 1.45 ล้านล้านเยน เทียบกับเดือน พ.ค.50 ที่ส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 และในเดือน
เม.ย.50 ที่ส่งออกลดลงร้อยละ 5.0 (ซึ่งนับเป็นการครั้งแรกในรอบมากกว่า 2 ปีที่ส่งออกไปยัง สรอ.ลดลง) ทั้งนี้ สัญญาณเกี่ยวกับภาวะ
การส่งออกสินค้าไปยังประเทศ สรอ.ที่เพิ่งฟื้นตัว ทำให้เกิดความกังวลเล็กน้อยว่า การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ อาจส่งผลต่อการ
ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้ อย่างไรก็ตาม หัวหน้านักวิเคราะห์ของบริษัท Mitsui Sumitomo Asset Management กล่าวว่า
การส่งออกสินค้าไปยัง สรอ. น่าจะกลับฟื้นตัวเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ทั้งนี้ สำหรับการส่งออกสินค้าของญี่ปุ่นไปยังประเทศอื่นยังคงอยู่
ในระดับใกล้เคียงกับระดับเดิม อาทิเช่น การส่งออกสินค้าไปยังภูมิภาคเอเชียในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 15.8 เทียบต่อปี
อยู่ที่จำนวน 3.54 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในระดับต่ำต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 64 ส่วนการส่งออกไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.6
ที่จำนวน 1.13 ล้านล้านเยน นอกจากนี้ การส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 ที่จำนวน 1.08 ล้านล้านเยน
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนให้ค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับเงินยูโรอ่อนค่าลง อนึ่ง ธ.กลางญี่ปุ่นกล่าวว่า ธ.กลางอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
อย่างค่อยเป็นค่อยไปให้สอดคล้องกับการฟื้นตัวทางญี่ปุ่นของญี่ปุ่นและภาวะเงินเฟ้อของประเทศ ขณะที่นักวิเคราะห์บางรายคาดการณ์ว่า
ธ.กลางอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งถัดไปในเดือน ส.ค.50 ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายของญี่ปุ่นล่าสุดคงอยู่ที่
ระดับเดิม คือ ร้อยละ 0.50 ซึ่ง ธ.กลางญี่ปุ่นปรับเพิ่มเมื่อเดือน ก.พ.50 นับเป็นครั้งแรกที่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่เดือน ก.ค.49.
(รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 2 ปี 50 ขยายตัวร้อยละ 1.7 สูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจากโซล เมื่อ 25 ก.ค.50
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 2 ปี 50 ที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.3
ต่อไตรมาส นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 17 ติดต่อกัน ขยายตัวต่อเนื่องยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 40 ทั้งนี้ เป็นผล
จากการส่งออกซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน สูงสุดในรอบ 1 ปีนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 49 จากความต้องการจาก
ต่างประเทศโดยเฉพาะจีน ในขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคก็ขยายตัวดีขึ้น โดยหากเทียบต่อปี เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปี 50 ขยายตัว
ร้อยละ 4.9 สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 ต่อปี หลังจากขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อปีในไตรมาสก่อน ธ.กลางเกาหลีใต้เมื่อ
ต้นเดือนที่ผ่านมาได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้จากร้อยละ 4.4 เป็นร้อยละ 4.5 ต่อปี นักวิเคราะห์จึง
คาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้อาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งภายในปีนี้หลังจากเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
ร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.75 ต่อปี สูงสุดในรอบ 6 ปีและนับเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือน (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางมาเลเซียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิมที่ร้อยละ 3.50 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ
วันที่ 24 ก.ค. 50 ในการประชุมนโยบายการเงินของธ.กลางมาเลเซียเมื่อวานนี้ ที่ประชุมมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่
ร้อยละ 3.50 เช่นเดิมแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีก็ตาม สอดคล้องกับที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น อย่างไร
ก็ตามมีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินในไม่ช้านี้ เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจจะเร่งตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังปีนี้ ทั้งนี้ตัวเลขทางการค้า
ชี้ว่าเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญของมาเลเซียเติบโตอย่างต่อเนื่องซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนให้การส่งออกของมาเลเซียขยายตัวทำให้
การบริโภคและการลงทุนขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.0 - 2.5
เป็นไปตามเป้าหมายเงินเฟ้อ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 ก.ค. 50 24 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.616 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.4494/33.7700 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.40000 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 880.95/43.88 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/10,850 10,800/10,900 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 70.14 70.60 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 29.59*/25.74** 29.59*/25.74** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 19 ก.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 11 ก.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ครม. อนุมัติ 6 มาตรการบรรเทาผลกระทบค่าเงินบาทตามที่ ธปท. เสนอ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า
ที่ประชุม ครม. อนุมัติมาตรการบรรเทาผลกระทบค่าเงินบาทตามที่ ธปท. เสนอ 6 มาตรการ เพื่อสร้างสมดุลในการปรับตัวของภาคธุรกิจมากขึ้น
ประกอบด้วย 1) การเปิดให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สามารถลงทุนในหุ้นหรือการฝากเงินในต่างประเทศได้ไม่เกิน 100 ล้านดอลลาร์
สรอ. ต่อปี และขยายเพดานการลงทุนของบริษัทจดทะเบียนจากปีละ 6.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เป็น 1 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. 2) ผู้ที่มี
รายได้จากต่างประเทศ เช่น ผู้ส่งออกหรือกู้เงินจากต่างประเทศ ที่มีภาระผูกพันภายใน 12 เดือน สามารถฝากเงินได้ไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์
สรอ. สำหรับบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลไม่เกิน 100 ล้านดอลลาร์ สรอ. 3) ปรับเพิ่มวงเงินที่ต้องการโอนไปต่างประเทศในรูปแบบต่าง ๆ
เช่น การโอนเงินให้ญาติในต่างประเทศ หรือซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ 1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อรายต่อปี 4) ขยายเวลาให้บุคคลที่มีรายรับ
เงินตราต่างประเทศต้องนำเงินดังกล่าวเข้าประเทศภายใน 120 วัน เป็นไม่เกิน 360 วัน 5) ยกเลิกข้อกำหนดผู้มีรายได้เป็นเงินตรา
ต่างประเทศต้องขายออกหรือฝากภายใน 15 วัน เป็นไม่มีกำหนด และ 6) ให้นักลงทุนประเภทสถาบันสามารถลงทุนในหลักทรัพย์หรือฝากเงิน
กับสถาบันการเงินต่างประเทศได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงาน ส่วนมาตรการที่จะพิจารณาเพิ่มเติม ได้แก่ การอนุญาตให้ผู้ค้าทองคำ
สามารถทำประกันความเสี่ยงโดยการซื้อสัญญาล่วงหน้าได้ (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
2. ยอดเอ็นพีแอลของสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือน มิ.ย.50 มีจำนวน 2.54 แสนล้านบาท ธปท. เผยแพร่ข้อมูลเอ็นพีแอลของ
สถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือน มิ.ย.50 มีจำนวนทั้งสิ้น 254,510 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.41 ของสินเชื่อทั้งระบบ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน
14,192 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.18 โดย ธ.พาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศมียอดเอ็นพีแอล 249,473 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.8 เพิ่มขึ้น
จากไตรมาสก่อน 14,263 ล้านบาท ซึ่งน่าสังเกตว่าในไตรมาสนี้ ธ.พาณิชย์ขนาดใหญ่เกือบทั้งหมดมีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น ยกเว้น ธ.กรุงเทพ และ
ธ.กสิกรไทย โดยในไตรมาส 2 ธ.กรุงเทพ มียอดเอ็นพีแอล 37,298 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.96 ลดลงจากไตรมาสก่อน
3,121 ล้านบาท ธ.กสิกรไทย 20,816 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.05 ลดลงจากไตรมาสก่อน 1,181 ล้านบาท ส่วนธนาคารที่มีเอ็นพีแอล
ต่อสินเชื่อเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ ธ.กรุงศรีอยุธยา 37,291ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.84 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 9,248 ล้านบาท ธ.กรุงไทย
37,298 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.3 เพิ่มขึ้น 6,444 ล้านบาท ธ.ทหารไทย 33,983 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.05 เพิ่มขึ้น
3,094 ล้านบาท และ ธ.ไทยพาณิชย์ 27,100 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.84 เพิ่มขึ้น 3,673 ล้านบาท (มติชน, โพสต์ทูเดย์,
กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
3. ธปท. อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติซื้อเงินบาทในประเทศเพื่อปิดสัญญาล่วงหน้าในตลาดต่างประเทศแล้ว นายสุชาติ สักการโกศล
ผอ.ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ สายตลาดการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (24 ก.ค.) ได้อนุญาตให้ผู้มีถิ่นฐานต่างประเทศ
ซึ่งเป็นรายใหญ่ 1 ราย เข้าซื้อเงินบาทในตลาดเงินบาทในประเทศเพื่อนำไปปิดสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศและการทำประกันความเสี่ยง
ในตลาดเงินบาทต่างประเทศตามมาตรการที่จะช่วยให้ค่าเงินบาทในตลาดเงินบาทในประเทศและต่างประเทศบีบเข้าหากันแล้ว ซึ่งคาดว่า
สถานการณ์ในตลาดต่างประเทศจะเริ่มดีขึ้น เพราะ ธปท. จะทยอยอนุญาตเพิ่มเติมมากขึ้น ด้าน นางนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการ
ธปท. กล่าวถึงกรณีที่มีข้อเสนอให้ ธปท. ปิดตลาดซื้อขายเงินบาทในต่างประเทศว่า ตลาดเงินบาทในต่างประเทศ ธปท. ไม่ได้เป็นคนเปิด
ให้มีการซื้อขาย เป็นตลาดเงินบาทที่นักลงทุนต่างชาติมาซื้อขายเงินบาทกันเองในต่างประเทศ ธปท. คงเข้าไปปิดไม่ได้ แต่ในขณะนี้หลังจาก
การออกมาตรการสำรองเงินร้อยละ 30 แล้ว สภาพคล่องเงินบาทในตลาดเงินบาทในต่างประเทศก็ลดลงมากและมีธุรกรรมน้อยมาก เพราะ
เงินบาทในประเทศไม่สามารถออกไปนอกประเทศได้ เมื่อมีสัญญาซื้อขายที่ครบกำหนดต้องการเงินบาทมาส่งมอบ ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศ
ก็จะปรับขึ้นแรง ๆ ครั้งหนึ่ง โดยไม่เกี่ยวกับปัจจัยภายใน จึงพูดได้ว่าเงินบาทใน 2 ตลาด ไม่ได้เชื่อมโยงกัน สำหรับตลาดเงินบาทใน
ต่างประเทศนั้น ธปท. ไม่เคยเข้าไปแทรกแซงหรือดูแลค่าเงินบาท เพราะไม่ใช่อัตราที่ใช้อัตราอ้างอิง แต่ยอมรับว่ามีบางครั้งที่เข้าไปดูแล
อัตราดอกเบี้ยการซื้อขายล่วงหน้าเพื่อไม่ให้ราคาบิดเบือนมากจนเกินไป (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
4. ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ค.50 มีจำนวน 3.21 ล้านล้านบาท นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผอ.สนง.บริหาร
หนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ค.50 มีจำนวนทั้งสิ้น 3,211,592 ล้านบาท หรือร้อยละ 38.24 ของจีดีพี
เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 10,093 ล้านบาท โดยแยกเป็นหนี้ต่างประเทศ 415,773 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.95 และหนี้ในประเทศ
2,795,819 ล้านบาท หรือร้อยละ 87.05 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,790,332 ล้านบาท หรือร้อยละ 86.88 และหนี้ระยะสั้น
421,260 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.12 ซึ่ง ก.คลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศจาก ธ.เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น
โดยชำระคืนก่อนครบกำหนด 35,762 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 10,183 ล้านบาท ทำให้สามารถลดภาระดอกเบี้ยในอนาคตได้ 1,805 ล้านบาท
ส่วนช่วง 9 เดือนที่ของปี งปม.50 ได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศโดยชำระคืนก่อนครบกำหนด 28,890 ล้านบาท และรีไฟแนนซ์
เงินกู้ต่างประเทศด้วยเงินบาท 17,200 ล้านบาท สามารถลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 2,370 ล้านบาท (มติชน, ผู้จัดการรายวัน,
โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อใหม่ในสินค้าอุตสาหกรรมของยูโรโซนเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น รายงานจากบรัสเซล เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 50
สำนักงานสถิติแห่งชาติสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ในเดือน พ.ค. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของ 13 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7
จากที่ลดลงร้อยละ 0.6 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ในเดือน เม.ย. ขณะที่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้วคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมใน
เดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 11.8 ในเดือน เม.ย. และมากกว่าผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดย
รอยเตอร์ก่อนหน้านั้นที่คาดว่าคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมในเดือน พ.ค. จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 และร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบต่อเดือนและ
เทียบต่อปีตามลำดับ ทั้งนี้นาย Stephane Deo นักเศรษฐศาสตร์จากUBS กล่าวว่า แนวโน้มการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซน
ยังคงเป็นไปอย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้คำสั่งซื้อใหม่สามารถบ่งชี้ผลผลิตอุตสาหกรรมในอนาคตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมได้ซึ่งจะส่งผล
ต่อการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลางทำให้คาดว่าธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายราวร้อยละ 0.25 ในเดือน ก.ย.
เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์)
2. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.4 มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากโตเกียว เมื่อ 25 ก.ค.50
ก.คลังญี่ปุ่นเปิดเผยข้อมูลจากกรมศุลกากรว่า ญี่ปุ่นส่งออกในเดือน มิ.ย. 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 เทียบต่อปี ที่จำนวน 7.28 ล้านล้านเยน
(60.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ที่
จำนวน 6.06 ล้านล้านเยน ต่ำกว่าที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 ส่งผลให้ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 53.4 ที่จำนวน
1.23 ล้านล้านเยน สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเกินดุลการค้าจำนวน 948.5 พันล้านเยน ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้ญี่ปุ่นเกินดุลการค้า
ในเดือน มิ.ย.จำนวนมากกว่าที่คาดการณ์ เนื่องจากมีการส่งไปยังประเทศ สรอ. (ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าสินค้ารายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น)
เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.7 เทียบต่อปี ที่จำนวน 1.45 ล้านล้านเยน เทียบกับเดือน พ.ค.50 ที่ส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 และในเดือน
เม.ย.50 ที่ส่งออกลดลงร้อยละ 5.0 (ซึ่งนับเป็นการครั้งแรกในรอบมากกว่า 2 ปีที่ส่งออกไปยัง สรอ.ลดลง) ทั้งนี้ สัญญาณเกี่ยวกับภาวะ
การส่งออกสินค้าไปยังประเทศ สรอ.ที่เพิ่งฟื้นตัว ทำให้เกิดความกังวลเล็กน้อยว่า การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ อาจส่งผลต่อการ
ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้ อย่างไรก็ตาม หัวหน้านักวิเคราะห์ของบริษัท Mitsui Sumitomo Asset Management กล่าวว่า
การส่งออกสินค้าไปยัง สรอ. น่าจะกลับฟื้นตัวเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ทั้งนี้ สำหรับการส่งออกสินค้าของญี่ปุ่นไปยังประเทศอื่นยังคงอยู่
ในระดับใกล้เคียงกับระดับเดิม อาทิเช่น การส่งออกสินค้าไปยังภูมิภาคเอเชียในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 15.8 เทียบต่อปี
อยู่ที่จำนวน 3.54 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในระดับต่ำต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 64 ส่วนการส่งออกไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.6
ที่จำนวน 1.13 ล้านล้านเยน นอกจากนี้ การส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 ที่จำนวน 1.08 ล้านล้านเยน
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนให้ค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับเงินยูโรอ่อนค่าลง อนึ่ง ธ.กลางญี่ปุ่นกล่าวว่า ธ.กลางอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
อย่างค่อยเป็นค่อยไปให้สอดคล้องกับการฟื้นตัวทางญี่ปุ่นของญี่ปุ่นและภาวะเงินเฟ้อของประเทศ ขณะที่นักวิเคราะห์บางรายคาดการณ์ว่า
ธ.กลางอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งถัดไปในเดือน ส.ค.50 ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายของญี่ปุ่นล่าสุดคงอยู่ที่
ระดับเดิม คือ ร้อยละ 0.50 ซึ่ง ธ.กลางญี่ปุ่นปรับเพิ่มเมื่อเดือน ก.พ.50 นับเป็นครั้งแรกที่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่เดือน ก.ค.49.
(รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 2 ปี 50 ขยายตัวร้อยละ 1.7 สูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจากโซล เมื่อ 25 ก.ค.50
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 2 ปี 50 ที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.3
ต่อไตรมาส นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 17 ติดต่อกัน ขยายตัวต่อเนื่องยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 40 ทั้งนี้ เป็นผล
จากการส่งออกซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน สูงสุดในรอบ 1 ปีนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 49 จากความต้องการจาก
ต่างประเทศโดยเฉพาะจีน ในขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคก็ขยายตัวดีขึ้น โดยหากเทียบต่อปี เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปี 50 ขยายตัว
ร้อยละ 4.9 สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 ต่อปี หลังจากขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อปีในไตรมาสก่อน ธ.กลางเกาหลีใต้เมื่อ
ต้นเดือนที่ผ่านมาได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้จากร้อยละ 4.4 เป็นร้อยละ 4.5 ต่อปี นักวิเคราะห์จึง
คาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้อาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งภายในปีนี้หลังจากเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
ร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.75 ต่อปี สูงสุดในรอบ 6 ปีและนับเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือน (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางมาเลเซียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิมที่ร้อยละ 3.50 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ
วันที่ 24 ก.ค. 50 ในการประชุมนโยบายการเงินของธ.กลางมาเลเซียเมื่อวานนี้ ที่ประชุมมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่
ร้อยละ 3.50 เช่นเดิมแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีก็ตาม สอดคล้องกับที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น อย่างไร
ก็ตามมีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินในไม่ช้านี้ เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจจะเร่งตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังปีนี้ ทั้งนี้ตัวเลขทางการค้า
ชี้ว่าเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญของมาเลเซียเติบโตอย่างต่อเนื่องซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนให้การส่งออกของมาเลเซียขยายตัวทำให้
การบริโภคและการลงทุนขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.0 - 2.5
เป็นไปตามเป้าหมายเงินเฟ้อ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 ก.ค. 50 24 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.616 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.4494/33.7700 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.40000 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 880.95/43.88 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/10,850 10,800/10,900 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 70.14 70.60 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 29.59*/25.74** 29.59*/25.74** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 19 ก.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 11 ก.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--