องค์การน้ำตาลทรายระหว่างประเทศ (International Sugar Organization : ISO) คาดการณ์สถานการณ์น้ำตาลทรายโลกปี
การผลิต 2549/50 มีรายละเอียด ดังนี้
ปริมาณ ปีการผลิต 2548/49 ปีการผลิต 2549/50f อัตราขยายตัว (%)
(ล้านตัน) (ล้านตัน)
การผลิต 152.5 158.3 3.8
การบริโภค 149.8 152.5 1.8
การนำเข้า 46.7 44.9 -3.9
การส่งออก 46.7 47.7 2.1
หมายเหตุ : f = คาดการณ์
ที่มา : ISO Quarterly Outlook, November 2006
* การผลิต ผลผลิตน้ำตาลทรายของโลกในปีการผลิต 2549/50 คาดว่าจะมีปริมาณ 158.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากปีการผลิต
2548/49 เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกอ้อยของประเทศผู้ผลิตรายสำคัญ อาทิ บราซิล (ผู้ผลิตและผู้ส่งออกน้ำตาลทรายอันดับ 1 ของโลก) และอินเดีย (ผู้
ผลิตน้ำตาลทรายสำคัญอันดับ 3 ของโลก) เพิ่มขึ้นมาก อีกทั้งสภาพอากาศในหลายประเทศเริ่มกลับสู่ภาวะปกติหลังเกิดภัยแล้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
* การบริโภค การบริโภคน้ำตาลทรายโดยรวมของโลกในปีการผลิต 2549/50 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 โดยภูมิภาคที่มีแนวโน้ม
บริโภคน้ำตาลทรายเพิ่มขึ้นมาก คือ แอฟริกาตอนใต้ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1) รองลงมา คือ ตะวันออกกลางและแอฟริกาตอนเหนือ (ร้อยละ 3) เอเชีย
ใต้ (ร้อยละ 2.8) อเมริกาใต้ (ร้อยละ 1.7) เอเชียตะวันออกและโอเชียเนีย1/(ร้อยละ 1.6) อเมริกาเหนือ (ร้อยละ 1.5) และยุโรป (ร้อย
ละ 1.2)
* การส่งออกและการนำเข้า การส่งออกน้ำตาลทรายของโลกในปีการผลิต 2549/50 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ตามปริมาณผลผลิต
น้ำตาลทรายของโลกที่เพิ่มขึ้น ขณะที่คาดว่าการนำเข้าน้ำตาลทรายของโลกจะมีปริมาณ 44.9 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 3.9 จากปีการผลิต 2548/49
เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าน้ำตาลทรายรายสำคัญอาทิ สหรัฐฯ รัสเซีย และจีน มีแนวโน้มนำเข้าลดลง เพราะสามารถผลิตน้ำตาลทรายได้ใกล้เคียงกับ
ความต้องการบริโภคในประเทศ อีกทั้งบางประเทศหันไปใช้สารให้ความหวานชนิดอื่นทดแทนน้ำตาลทราย
การส่งออกน้ำตาลทรายของไทย
จากทิศทางของตลาดน้ำตาลทรายโลกปีการผลิต 2549/50 ที่คาดว่าจะมีผลผลิตส่วนเกินถึง 5.8 ล้านตัน จึงอาจกดดันให้ราคาน้ำตาล
ทรายในตลาดโลกปรับลดลง ปัจจัยด้านราคาจึงเป็นสิ่งที่ผู้ส่งออกน้ำตาลทรายควรจับตามองเป็นพิเศษในปี 2550 (ทั้งนี้ ราคาน้ำตาลทรายดิบในเดือน
มกราคม 2550 ลดลงอยู่ที่ 10-11 เซนต์ต่อปอนด์ จาก 19 เซนต์ต่อปอนด์
ในช่วงเดียวกันของปี 2549) นอกจากนี้ การแข่งขันจากบราซิลมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นจากปริมาณส่งออกน้ำตาลทรายของบราซิลที่จะเพิ่ม
ขึ้นอีกราว 2 ล้านตันในปีการผลิต 2549/50 และการเข้ามารุกขยายตลาดในประเทศแถบเอเชียซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญของไทย โดยอาศัยข้อได้เปรียบจาก
คุณภาพน้ำตาลทรายทั้งด้านสีและค่าความหวานที่ดีกว่าไทย ประกอบกับจีน (ตลาดส่งออกน้ำตาลทรายสำคัญอันดับ 4 ของไทย) มีแนวโน้มลดการนำเข้า
น้ำตาลทรายลงราว 5 แสนตัน เพราะคาดว่าปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายในประเทศจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 27 จากการขยายพื้นที่เพาะปลูก ปัจจัยต่าง ๆ
ดังกล่าวจึงอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกน้ำตาลทรายของไทยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การส่งออกน้ำตาลทรายของไทยในปี 2550 ยังคงมีปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญจากปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายของไทยที่มีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้นถึง 1 ล้านตัน (หลังจากลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีการผลิต 2546/47 จากปัญหาภัยแล้ง) ส่งผลดีต่อโอกาสในการขยายปริมาณส่งออกน้ำตาล
ทราย และอาจช่วยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดน้ำตาลทรายของไทยในตลาดโลกด้วยการเข้าทดแทนส่วนแบ่งตลาดน้ำตาลทรายส่งออกของสหภาพยุโรป (ผู้ส่ง
ออกน้ำตาลทรายสำคัญอันดับ 2 ของโลก) ที่คาดว่าจะลดลง รวมทั้งขยายการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย เนื่องจากปริมาณผล
ผลิตน้ำตาลทรายของออสเตรเลีย (ผู้ส่งออกน้ำตาลทรายสำคัญของโลก และคู่แข่งสำคัญในการส่งออกไปประเทศในแถบเอเชีย) มีแนวโน้มลดลง
เพราะแหล่งเพาะปลูกอ้อยสำคัญได้รับความเสียหายจากพายุไซโคลน Larry (ในช่วงเดือนมีนาคม 2549) และการแพร่ระบาดของเชื้อรา (ในช่วง
เดือนมิถุนายน 2549)
หมายเหตุ 1/ โอเชียเนีย (Oceania) คือ ประเทศในทวีปออสเตรเลีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2550--
-พห-
การผลิต 2549/50 มีรายละเอียด ดังนี้
ปริมาณ ปีการผลิต 2548/49 ปีการผลิต 2549/50f อัตราขยายตัว (%)
(ล้านตัน) (ล้านตัน)
การผลิต 152.5 158.3 3.8
การบริโภค 149.8 152.5 1.8
การนำเข้า 46.7 44.9 -3.9
การส่งออก 46.7 47.7 2.1
หมายเหตุ : f = คาดการณ์
ที่มา : ISO Quarterly Outlook, November 2006
* การผลิต ผลผลิตน้ำตาลทรายของโลกในปีการผลิต 2549/50 คาดว่าจะมีปริมาณ 158.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากปีการผลิต
2548/49 เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกอ้อยของประเทศผู้ผลิตรายสำคัญ อาทิ บราซิล (ผู้ผลิตและผู้ส่งออกน้ำตาลทรายอันดับ 1 ของโลก) และอินเดีย (ผู้
ผลิตน้ำตาลทรายสำคัญอันดับ 3 ของโลก) เพิ่มขึ้นมาก อีกทั้งสภาพอากาศในหลายประเทศเริ่มกลับสู่ภาวะปกติหลังเกิดภัยแล้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
* การบริโภค การบริโภคน้ำตาลทรายโดยรวมของโลกในปีการผลิต 2549/50 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 โดยภูมิภาคที่มีแนวโน้ม
บริโภคน้ำตาลทรายเพิ่มขึ้นมาก คือ แอฟริกาตอนใต้ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1) รองลงมา คือ ตะวันออกกลางและแอฟริกาตอนเหนือ (ร้อยละ 3) เอเชีย
ใต้ (ร้อยละ 2.8) อเมริกาใต้ (ร้อยละ 1.7) เอเชียตะวันออกและโอเชียเนีย1/(ร้อยละ 1.6) อเมริกาเหนือ (ร้อยละ 1.5) และยุโรป (ร้อย
ละ 1.2)
* การส่งออกและการนำเข้า การส่งออกน้ำตาลทรายของโลกในปีการผลิต 2549/50 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ตามปริมาณผลผลิต
น้ำตาลทรายของโลกที่เพิ่มขึ้น ขณะที่คาดว่าการนำเข้าน้ำตาลทรายของโลกจะมีปริมาณ 44.9 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 3.9 จากปีการผลิต 2548/49
เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าน้ำตาลทรายรายสำคัญอาทิ สหรัฐฯ รัสเซีย และจีน มีแนวโน้มนำเข้าลดลง เพราะสามารถผลิตน้ำตาลทรายได้ใกล้เคียงกับ
ความต้องการบริโภคในประเทศ อีกทั้งบางประเทศหันไปใช้สารให้ความหวานชนิดอื่นทดแทนน้ำตาลทราย
การส่งออกน้ำตาลทรายของไทย
จากทิศทางของตลาดน้ำตาลทรายโลกปีการผลิต 2549/50 ที่คาดว่าจะมีผลผลิตส่วนเกินถึง 5.8 ล้านตัน จึงอาจกดดันให้ราคาน้ำตาล
ทรายในตลาดโลกปรับลดลง ปัจจัยด้านราคาจึงเป็นสิ่งที่ผู้ส่งออกน้ำตาลทรายควรจับตามองเป็นพิเศษในปี 2550 (ทั้งนี้ ราคาน้ำตาลทรายดิบในเดือน
มกราคม 2550 ลดลงอยู่ที่ 10-11 เซนต์ต่อปอนด์ จาก 19 เซนต์ต่อปอนด์
ในช่วงเดียวกันของปี 2549) นอกจากนี้ การแข่งขันจากบราซิลมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นจากปริมาณส่งออกน้ำตาลทรายของบราซิลที่จะเพิ่ม
ขึ้นอีกราว 2 ล้านตันในปีการผลิต 2549/50 และการเข้ามารุกขยายตลาดในประเทศแถบเอเชียซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญของไทย โดยอาศัยข้อได้เปรียบจาก
คุณภาพน้ำตาลทรายทั้งด้านสีและค่าความหวานที่ดีกว่าไทย ประกอบกับจีน (ตลาดส่งออกน้ำตาลทรายสำคัญอันดับ 4 ของไทย) มีแนวโน้มลดการนำเข้า
น้ำตาลทรายลงราว 5 แสนตัน เพราะคาดว่าปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายในประเทศจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 27 จากการขยายพื้นที่เพาะปลูก ปัจจัยต่าง ๆ
ดังกล่าวจึงอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกน้ำตาลทรายของไทยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การส่งออกน้ำตาลทรายของไทยในปี 2550 ยังคงมีปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญจากปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายของไทยที่มีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้นถึง 1 ล้านตัน (หลังจากลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีการผลิต 2546/47 จากปัญหาภัยแล้ง) ส่งผลดีต่อโอกาสในการขยายปริมาณส่งออกน้ำตาล
ทราย และอาจช่วยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดน้ำตาลทรายของไทยในตลาดโลกด้วยการเข้าทดแทนส่วนแบ่งตลาดน้ำตาลทรายส่งออกของสหภาพยุโรป (ผู้ส่ง
ออกน้ำตาลทรายสำคัญอันดับ 2 ของโลก) ที่คาดว่าจะลดลง รวมทั้งขยายการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย เนื่องจากปริมาณผล
ผลิตน้ำตาลทรายของออสเตรเลีย (ผู้ส่งออกน้ำตาลทรายสำคัญของโลก และคู่แข่งสำคัญในการส่งออกไปประเทศในแถบเอเชีย) มีแนวโน้มลดลง
เพราะแหล่งเพาะปลูกอ้อยสำคัญได้รับความเสียหายจากพายุไซโคลน Larry (ในช่วงเดือนมีนาคม 2549) และการแพร่ระบาดของเชื้อรา (ในช่วง
เดือนมิถุนายน 2549)
หมายเหตุ 1/ โอเชียเนีย (Oceania) คือ ประเทศในทวีปออสเตรเลีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2550--
-พห-