นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยถึงผลการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 40 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 4 - 7 พฤษภาคม 2550 ณ Kyoto International Conference Center เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีนายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ว่าการของไทยในธนาคารพัฒนาเอเชีย เป็น หัวหน้าคณะผู?แทนไทย โดยมีผลการประชุมสรุปได?ดังนี้
1. การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 40
1.1 พิธีเปิดการประชุมในวันที่ 6 พฤษภาคม 2550 โดยมีนาย Koji Omi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่น ทำหน้าที่ประธานสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ได้กล่าวสุนทรพจน์ต้อนรับหัวหน้าคณะผู้แทนจากประเทศสมาชิกต่างๆ และกล่าวต้อนรับประเทศไอร์แลนด์และจอร์เจียเข้าเป็นสมาชิกใหม่ นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงความท้าทายใหม่ๆ ที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียจะต้องประสบ ได้แก่ การส่งเสริมการลงทุน ปัญหาสภาวะอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลง และความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.2 นาย Haruhiko Kuroda ประธานธนาคารพัฒนาเอเชียได้กล่าวรายงานผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาที่มุ่งเน้นการลดความยากจนในประเทศในภูมิภาคเอเชียว่าประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปัญหาความยากจนในภูมิภาคยังไม่หมดสิ้นไป ประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียจึงต้องเผชิญสถานการณ์ท้าทายในด้านความเจริญและความมั่งคั่งของภูมิภาคเอเชีย ในขณะที่ความยากจนในภูมิภาคที่ยังคงมีอยู่
1.3 นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะผู้ว่าการของไทยได้กล?วสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาผู้ว่าการฯ ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ การจัดทำกรอบยุทธศาสตร์ความเป?นหุ?นส?วนระหว?งรัฐบาลไทยและธนาคารพัฒนาเอเชีย เป็นระยะ 5 ปี (2550 - 2554) การจัดสัมมนานานาชาติในโอกาสครบรอบ 10 ปีของวิกฤตการณ์การเงินในเดือนกรกฎาคม 2550 ณ กรุงเทพฯ นอกจากนี้ ยังได้เน้นถึงสิ่งที่ท้าทายในปัจจุบัน คือ ปัญหาความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุน ซึ่งมีผลกระทบต่อค่าเงินในภูมิภาค โดยได้ขอให้ธนาคารฯ กำหนดมาตรการและแนวทางปฏิบัติสากลที่เหมาะสมที่จะช่วยสร้างเสถียรภาพของค่าเงินในภูมิภาคต่อไป
2. งาน Symposium "Towards Regional Prosperity in Asia: How Can Japan and other Asian Countries Contribute to Enhancing Regional Financial Markets?"
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เข้าร่วมงาน Symposium ดังกล่าว เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2550 ณ โรงแรม Grand Prince เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น โดยได้กล่าวถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาของไทยในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 การดำเนินนโยบายและมาตรการต่างๆ ของไทยเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ และความท้าทายที่ประเทศไทยและอีกหลายประเทศในภูมิภาคนี้กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งได้เน้นว่า ประเทศรายได้ปานกลางหรือ Middle Income Countries (MICs) กำลังประสบกับปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น และเห็นว่าหากประเทศ MICs ไม่มีมาตรการร่วมกันเพื่อป้องกันการแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยนประเทศเหล่านี้จะอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่อาจเกิดวิกฤตเศรษฐกิจตามมาได้ ซึ่งไทยกำลังเร่งศึกษาหามาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และสนับสนุนให้ประเทศญี่ปุ่นเร่งส่งเสริมให้เงินเยนมีบทบาทในตลาดการเงินโลกมากยิ่งขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาเงินเหรียญสหรัฐฯ
3. การประชุมหารือทวิภาคี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ประชุมหารือระดับทวิภาคีกับหัวหน?คณะผู?แทนประเทศต่างๆ ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และผู้บริหารระดับสูงองค์การการเงินระหว่างประเทศ และสถาบันการเงินต่างๆ ในระหว่างวันที่ 4-7 พฤษภาคม 2550 ดังนี้
3.1 หัวหน้าคณะผู?แทนประเทศสมาชิก ADB
3.1.1 หัวหน?คณะผู?แทนประเทศญี่ปุ่นได้แสดงความยินดีกับความสำเร็จในการจัดทำ Chiang Mai Initiatives Multilateral ภายใต้กรอบความร่วมมือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน + 3 และพร้อมที่จะร่วมมือกับไทยในการให้การสนับสนุนโครงการ Mass Transit ของไทยในอนาคต
3.1.2 นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังได้หารือทวิภาคีกับหัวหน้าคณะผู้แทนสาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ โดยได้ขอให้ทั้ง 3 ประเทศให้การสนับสนุนการดำเนินงานเรื่องตลาดพันธบัตรเอเชียและได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน
3.2 ผู้บริหารระดับสูงองค์กรการเงินระหว่างประเทศ
ประธานธนาคารพัฒนาเอเชียได?กล่าวขอบคุณประเทศไทยที่สนับสนุนข?อเสนอเรื่องการส?ง เสริมความเชื่อมโยงและความร่วมมือภายในภูมิภาคของธนาคารฯ และการจัดทำกรอบยุทธศาสตร์ความเป?นหุ?นส?วนระหว?งรัฐบาลไทยและธนาคารพัฒนาเอเชีย และแสดงความชื่นชมนโยบายเศรษฐกิจของประเทศไทยที่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจให?มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดี ท่ามกลางความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได?ขอการสนับสนุนความร?วมมือในมาตรการพัฒนาพันธบัตรเอเชีย ความร่วมมือภายใต้กรอบ GMSโดยเฉพาะสนับสนุนให้ภาคเอกชนในภูมิภาคมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น
3.3 ผู้บริหารระดับสูงของ International Financial Corporation (IFC) และ Japan Bank for International Corporation (JBIC) ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานได?สอบถามเรื่องสถานการณ์ทางการเมือง แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจ การดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ได้แก่ การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ทั้งในแง่การสนับสนุนเงินลงทุน/เงินกู้ การเป็นที่ปรึกษาโครงการ และการให้ Credit Enhancement ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยยินดีที่หน่วยงานดังกล่าวพร้อมที่จะให้การสนับสนุน
3.4 ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินต่างๆ ได?แก? Citigroup, Tokyo-Mitsubishi UFJ, Daiwa Securities SMBC, Sumitomo Mitsui Banking Corporation และ Merrill Lynch ได้ให้ความสนใจในสถานการณ์ทางการเมือง แนวโน?มสภาวะเศรษฐกิจและยินดีให้การสนับสนุนไทยในการดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ? การระดมทุนในและต่างประเทศ และการพัฒนาตลาดทุน เป็นต้น
สำหรับการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 41 จะจัดขึ้นที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน ในระหว่างวันที่ 6-8 พฤษภาคม 2551
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและระหว่างประเทศ
โทรศัพท์ 0-2273-9020 ต่อ 3604
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 41/2550 15 พฤษภาคม 50--
1. การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 40
1.1 พิธีเปิดการประชุมในวันที่ 6 พฤษภาคม 2550 โดยมีนาย Koji Omi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่น ทำหน้าที่ประธานสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ได้กล่าวสุนทรพจน์ต้อนรับหัวหน้าคณะผู้แทนจากประเทศสมาชิกต่างๆ และกล่าวต้อนรับประเทศไอร์แลนด์และจอร์เจียเข้าเป็นสมาชิกใหม่ นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงความท้าทายใหม่ๆ ที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียจะต้องประสบ ได้แก่ การส่งเสริมการลงทุน ปัญหาสภาวะอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลง และความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.2 นาย Haruhiko Kuroda ประธานธนาคารพัฒนาเอเชียได้กล่าวรายงานผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาที่มุ่งเน้นการลดความยากจนในประเทศในภูมิภาคเอเชียว่าประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปัญหาความยากจนในภูมิภาคยังไม่หมดสิ้นไป ประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียจึงต้องเผชิญสถานการณ์ท้าทายในด้านความเจริญและความมั่งคั่งของภูมิภาคเอเชีย ในขณะที่ความยากจนในภูมิภาคที่ยังคงมีอยู่
1.3 นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะผู้ว่าการของไทยได้กล?วสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาผู้ว่าการฯ ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ การจัดทำกรอบยุทธศาสตร์ความเป?นหุ?นส?วนระหว?งรัฐบาลไทยและธนาคารพัฒนาเอเชีย เป็นระยะ 5 ปี (2550 - 2554) การจัดสัมมนานานาชาติในโอกาสครบรอบ 10 ปีของวิกฤตการณ์การเงินในเดือนกรกฎาคม 2550 ณ กรุงเทพฯ นอกจากนี้ ยังได้เน้นถึงสิ่งที่ท้าทายในปัจจุบัน คือ ปัญหาความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุน ซึ่งมีผลกระทบต่อค่าเงินในภูมิภาค โดยได้ขอให้ธนาคารฯ กำหนดมาตรการและแนวทางปฏิบัติสากลที่เหมาะสมที่จะช่วยสร้างเสถียรภาพของค่าเงินในภูมิภาคต่อไป
2. งาน Symposium "Towards Regional Prosperity in Asia: How Can Japan and other Asian Countries Contribute to Enhancing Regional Financial Markets?"
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เข้าร่วมงาน Symposium ดังกล่าว เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2550 ณ โรงแรม Grand Prince เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น โดยได้กล่าวถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาของไทยในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 การดำเนินนโยบายและมาตรการต่างๆ ของไทยเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ และความท้าทายที่ประเทศไทยและอีกหลายประเทศในภูมิภาคนี้กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งได้เน้นว่า ประเทศรายได้ปานกลางหรือ Middle Income Countries (MICs) กำลังประสบกับปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น และเห็นว่าหากประเทศ MICs ไม่มีมาตรการร่วมกันเพื่อป้องกันการแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยนประเทศเหล่านี้จะอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่อาจเกิดวิกฤตเศรษฐกิจตามมาได้ ซึ่งไทยกำลังเร่งศึกษาหามาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และสนับสนุนให้ประเทศญี่ปุ่นเร่งส่งเสริมให้เงินเยนมีบทบาทในตลาดการเงินโลกมากยิ่งขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาเงินเหรียญสหรัฐฯ
3. การประชุมหารือทวิภาคี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ประชุมหารือระดับทวิภาคีกับหัวหน?คณะผู?แทนประเทศต่างๆ ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และผู้บริหารระดับสูงองค์การการเงินระหว่างประเทศ และสถาบันการเงินต่างๆ ในระหว่างวันที่ 4-7 พฤษภาคม 2550 ดังนี้
3.1 หัวหน้าคณะผู?แทนประเทศสมาชิก ADB
3.1.1 หัวหน?คณะผู?แทนประเทศญี่ปุ่นได้แสดงความยินดีกับความสำเร็จในการจัดทำ Chiang Mai Initiatives Multilateral ภายใต้กรอบความร่วมมือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน + 3 และพร้อมที่จะร่วมมือกับไทยในการให้การสนับสนุนโครงการ Mass Transit ของไทยในอนาคต
3.1.2 นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังได้หารือทวิภาคีกับหัวหน้าคณะผู้แทนสาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ โดยได้ขอให้ทั้ง 3 ประเทศให้การสนับสนุนการดำเนินงานเรื่องตลาดพันธบัตรเอเชียและได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน
3.2 ผู้บริหารระดับสูงองค์กรการเงินระหว่างประเทศ
ประธานธนาคารพัฒนาเอเชียได?กล่าวขอบคุณประเทศไทยที่สนับสนุนข?อเสนอเรื่องการส?ง เสริมความเชื่อมโยงและความร่วมมือภายในภูมิภาคของธนาคารฯ และการจัดทำกรอบยุทธศาสตร์ความเป?นหุ?นส?วนระหว?งรัฐบาลไทยและธนาคารพัฒนาเอเชีย และแสดงความชื่นชมนโยบายเศรษฐกิจของประเทศไทยที่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจให?มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดี ท่ามกลางความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได?ขอการสนับสนุนความร?วมมือในมาตรการพัฒนาพันธบัตรเอเชีย ความร่วมมือภายใต้กรอบ GMSโดยเฉพาะสนับสนุนให้ภาคเอกชนในภูมิภาคมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น
3.3 ผู้บริหารระดับสูงของ International Financial Corporation (IFC) และ Japan Bank for International Corporation (JBIC) ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานได?สอบถามเรื่องสถานการณ์ทางการเมือง แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจ การดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ได้แก่ การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ทั้งในแง่การสนับสนุนเงินลงทุน/เงินกู้ การเป็นที่ปรึกษาโครงการ และการให้ Credit Enhancement ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยยินดีที่หน่วยงานดังกล่าวพร้อมที่จะให้การสนับสนุน
3.4 ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินต่างๆ ได?แก? Citigroup, Tokyo-Mitsubishi UFJ, Daiwa Securities SMBC, Sumitomo Mitsui Banking Corporation และ Merrill Lynch ได้ให้ความสนใจในสถานการณ์ทางการเมือง แนวโน?มสภาวะเศรษฐกิจและยินดีให้การสนับสนุนไทยในการดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ? การระดมทุนในและต่างประเทศ และการพัฒนาตลาดทุน เป็นต้น
สำหรับการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 41 จะจัดขึ้นที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน ในระหว่างวันที่ 6-8 พฤษภาคม 2551
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและระหว่างประเทศ
โทรศัพท์ 0-2273-9020 ต่อ 3604
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 41/2550 15 พฤษภาคม 50--