**ประชาชน 80.39% เห็นด้วยกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เป็น “วาระแห่งชาติ” แต่คงจะไม่สำเร็จเพียงแค่ลดลง**
จากที่คณะรัฐมนตรีเสนอให้เรื่องการรณรงค์เกี่ยวกับความซื่อสัตย์ สุจริตของส่วนราชการ และมียุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปราม การทุจริต เป็น “วาระแห่งชาติ” ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเองหลังจากที่ได้มีการประชุม ครม.ก็ได้สั่งการให้ทุกส่วนราชการเสนอ มาตรการคุม “ทุจริต” อย่างเป็นรูปธรรมภายใน 60 วัน ซึ่งมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการเสนอดังกล่าว เนื่องจากระบบราชการไทยไม่เข้ม แข็งและประสบปัญหาต่างๆมากมาย “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นทั้งข้าราชการและประชาชน ทั่วประเทศ จำนวน 2,326 คน ระหว่างวันที่ 12-16 ตุลาคม 2553 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 เป็นปัญหาสำคัญของประเทศที่แต่ละกระทรวงควรให้ความร่วมมือและให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ 45.14% อันดับ 2 เป็นแนวคิดที่ดีแต่ในทางปฏิบัติคงเป็นไปได้ยาก เพราะระบบราชการไทยมีการทุจริตมานาน 30.13% อันดับ 3 เป็นการกระตุ้นให้ทุกส่วนราชการเกิดการตื่นตัวและน่าจะมีบางมาตรการที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาการทุจริตได้จริง 16.09% อันดับ 4 เป็นการสร้างภาพ สร้างกระแสนิยมให้กับรัฐบาล / ขณะนี้รัฐบาลมีวาระแห่งชาติหลายเรื่อง 8.64% 2. ความคิดเห็นของประชาชน กับ ราชการไทย ณ วันนี้ (2.1) ระบบราชการไทย ในความคิดเห็นของประชาชน คือ อันดับ 1 เป็นระบบอุปถัมภ์ ใช้เส้นสาย /เป็นระบบพวกพ้อง 47.40% อันดับ 2 มีความล่าช้า ผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน /อำนาจตัดสินใจขึ้นอยู่กับผู้บังคับบัญชาระดับสูงเพียงคนเดียว 25.37% อันดับ 3 เป็นระบบใหญ่ที่ควบคุมดูแลได้ยาก / อาศัยช่องโหว่จากกฎระเบียบ หรือกฎหมายมาใช้หาผลประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้อง 14.43% อันดับ 4 ควรมีการปรับเปลี่ยนระบบราชการไทยทั้งหมดเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล / มีการตรวจสอบ ประเมินผลเพื่อความโปร่งใส 12.80% “ปราบคอรัปชั่น” อย่างไร? ให้ สำเร็จ” 2 (2.2) ข้าราชการไทย/เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในความคิดเห็นของประชาชน คือ อันดับ 1 ขาดความเป็นอิสระ ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ /ทุกเรื่องต้องอาศัยการตัดสินใจจากผู้บังคับบัญชา 34.51% อันดับ 2 ถูกดึงเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองมากเกินไป /ถูกนักการเมืองแทรกแซง 28.11% อันดับ 3 มีทั้งข้าราชการรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ที่ทำงานอยู่ร่วมกัน /ความคิดเห็นหรือมุมมองในการทำงานแตกต่างกัน 19.30% อันดับ 4 เป็นบุคลากรที่มีความสำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า / ประเทศจะล้าหลังหรือพัฒนาก็ขึ้นอยู่กับกลุ่มคนเหล่านี้ 18.08% 3. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอให้มีเครื่องชี้วัดความโปร่งใสและ ตรวจสอบได้ของส่วนราชการ โดยนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมและเป็นไปด้วยความสมัครใจของส่วนราชการนั้นๆ ประชาชนคิดว่า มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ? อันดับ 1 ไม่แน่ใจ 45.47%
เพราะ เป็นเพียงการนำเสนอให้แต่ละส่วนราชการสามารถนำไปใช้ได้แต่ไม่มีการบังคับอย่างจริงจัง ฯลฯ
อันดับ 2 เป็นไปไม่ได้ 31.80%
เพราะ ระบบราชการไทยมีการทุจริต คอรัปชั่นมานาน ,ข้าราชการบางคนอาจไม่ให้ความร่วมมือ ฯลฯ
อันดับ 3 เป็นไปได้ 22.73%
เพราะ คิดว่าเป็นเรื่องที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อระบบราชการไทย ,มั่นใจว่าเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพเพราะผ่านการพิจารณา
ตรวจสอบจาก ก.พ. และ ก.พ.ร. แล้ว ฯลฯ
อันดับ 1 ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย มีบทลงโทษที่เด็ดขาด ชัดเจน /มาตรการเข้มงวด เอาจริงจัง 53.46% อันดับ 2 การปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้กับข้าราชการไทย / ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ใช้หลักธรรมาภิบาลในการทำงาน 16.32% อันดับ 3 คิดว่าการปราบคอรัปชั่นของระบบราชการไทยไม่น่าจะสำเร็จได้แต่อาจจะลดลงได้ 13.79% อันดับ 4 สื่อมวลชนต้องเข้ามามีส่วนร่วม ช่วยเป็นหูเป็นตาในการตรวจสอบระบบราชการไทย 8.81% อันดับ 5 การดูแลเรื่องการแต่งตั้ง โยกย้ายข้าราชการ /เรื่องของเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการต่างๆที่เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ 7.62% 5. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ ? ที่คณะรัฐมนตรีเสนอให้เรื่องการรณรงค์เกี่ยวกับความซื่อสัตย์ สุจริตของส่วนราชการ และมียุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริต เป็น “วาระแห่งชาติ” อันดับ 1 เห็นด้วย 80.39%
เพราะ เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ควรได้รับการแก้ไข ,เป็นอีกหนทางหนึ่งที่อาจช่วยให้การคอรัปชั่นในบ้านเมืองลดลง
ประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้าถ้าไม่มีการคอรัปชั่น ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 13.73%
เพราะ ไม่มั่นใจว่ารัฐบาลชุดนี้จะทำสำเร็จได้ทันก่อนหมดวาระหรือไม่ ,กลัวว่าจะไม่มีการสานต่อในเรื่องนี้ ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่เห็นด้วย 5.88%
เพราะ เป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าประเทศไทยมีการคอรัปชั่นอย่างรุนแรงจนถึงขั้นต้องประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ ,
ควรแก้ไขอย่างค่อยเป็นค่อยไป ฯลฯ
--สวนดุสิตโพลล์--