จากกรณี นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย จากพรรคภูมิใจไทย กับ นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รมช.คมนาคม จากพรรคชาติไทยพัฒนา ถูกศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้พ้นสมาชิกภาพ ส.ส. นั้น แต่ทั้งสองคนยืนยันไม่ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีจนกว่าจะมีมติพรรคออกมาซึ่งนายกฯเห็นว่าควรใช้บรรทัดฐานทางการเมืองเดียวกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ (มติพรรคประชาธิปัตย์ให้ลาออกจากรองนายกฯ และลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส.สุราษฎร์) “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,189 คน ระหว่างวันที่ 4-8 พฤศจิกายน 2553 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 ควรจะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แสดงความรับผิดชอบในการลาออกจากตำแหน่ง 43.56% อันดับ 2 เป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง 24.86% อันดับ 3 อาจมาจากเหตุผลส่วนตัว / รอให้ทางพรรคพิจารณาก่อน 17.20% อันดับ 4 อาจกลายเป็นประเด็นที่ฝ่ายค้านหยิบมาโจมตีได้ 14.38% 2. จากเรื่องดังกล่าวควรใช้มาตรฐานเดียวกันกับ กรณี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ หรือไม่? อันดับ 1 ควร 69.07%
เพราะ ควรจะลาออกจากตำแหน่งเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ใหม่ ,เป็นการวินิจฉัยของศาลที่ถือว่าสิ้นสุดแล้ว ทุกคนควรเคารพการตัดสินและปฏิบัติตาม ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 20.02%
เพราะ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของทั้ง 2 ท่านและมติพรรคว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่ควร 10.91%
เพราะ เป็นคนละพรรคและคนละกรณี ไม่ควรนำมาเปรียบเทียบกัน ,รู้สึกสงสารและเห็นใจทั้ง 2 รมต. ฯลฯ
อันดับ 1 ควรลาออก 74.94%
เพราะ หากทั้ง 2 ท่านต้องการที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ในพื้นที่จริงก็ควรจะลาออกจากการเป็นรัฐมนตรีก่อน ,ป้องกันการถูกโจมตีและกลายเป็นประเด็นที่ทำให้เสียเปรียบคู่แข่งได้ ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 13.30%
เพราะ ต้องรอดูมติพรรคว่าจะพิจารณาอย่างไร? ,ขึ้นอยู่กับกระแสและแรงกดดันทางการเมืองมากกว่า ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่ควรลาออก 11.76%
เพราะ ไม่ควรนำกรณีของนายสุเทพมาเป็นบรรทัดฐาน ,เป็นเงินที่ได้มาจากการประกอบธุรกิจส่วนตัว ฯลฯ
อันดับ 1 ไม่เหมาะสม 70.05%
เพราะ กฎหมายระบุไว้ว่า ส.ส.และคู่สมรส จะต้องไม่มีการซื้อหุ้น ,สามี ภรรยาถือว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน กลายเป็นสภาผัว-เมีย ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 21.39%
เพราะ เป็นเพียงแค่แนวคิดออกมาเท่านั้น ยังไม่มีความชัดเจน ,ทางพรรคอาจส่งคนอื่นลงสมัครรับเลือกตั้งแทน ฯลฯ
อันดับ 3 เหมาะสม 8.56%
เพราะ จะได้มีความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน สามารถสานต่องานเดิมได้ , เป็นการรักษาผลประโยชน์ทั้งของตนเองและของพรรค ฯลฯ
อันดับ 1 ส่งผลกระทบ 52.94%
เพราะ ส่งผลต่อการดำเนินงานของรัฐบาล ต้องมีการปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีใหม่ ,ทำให้การบริหารงานต้องล่าช้าหรือหยุดชะงักออกไป ,อาจเป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาล ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่กระทบ 29.41%
เพราะ เป็นเรื่องภายในพรรค ไม่ควรนำมาเกี่ยวข้องกัน ,ทางรัฐบาลน่าจะมีการเตรียมการรองรับเอาไว้แล้ว ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 17.65%
เพราะ ที่ผ่านมารัฐบาลประสบปัญหาต่างๆมากมาย แต่ก็สามารถแก้ปัญหาต่างๆให้คลี่คลายลงได้ ,รัฐบาลจะมีเสถียรภาพมั่นคงหรือไม่ขึ้นอยู่กับความจริงใจ และความตั้งใจในการทำงานมากกว่า ฯลฯ
--สวนดุสิตโพลล์--