จากกรณีที่นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีเป็นห่วงเรื่องการใช้ภาษาไทยของเยาวชน โดยเฉพาะ คำว่า “ชิมิ” ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย แทนคำว่า “ใช่ไหม? ” ว่าเกรงจะเป็นภาษาวิบัติ อีกทั้งการนำเสนอละคร หรือภาพยนตร์ต้องมีความระมัดระวัง เนื่องจากวัฒนธรรมไทยขณะนี้มีความเสื่อมถอยมากขึ้น เห็นได้จากการใช้ภาษาผ่านเพลง ละคร ภาพยนตร์ ที่ใช้คำไม่เหมาะสม และบางคำก็ไม่แน่ใจว่าเป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศกันแน่ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนในกรุงเทพฯ ปริมณฑล ที่มีช่วงอายุไม่ถึง 18 ปี และผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,208 คน ระหว่างวันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2553 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 เป็นคำที่ใช้พูดกันอย่างแพร่หลายเฉพาะในกลุ่มเพื่อนด้วยกันเอง ซึ่งทุกคนจะเข้าใจดีว่าหมายถึงอะไร 30.14% อันดับ 2 เป็นภาษาที่ลอกเลียนแบบมาจากสื่อโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต ภาพยนตร์ ฯลฯ /สื่อต่างๆจะต้องมีการควบคุมและ- ระมัดระวังในการเผยแพร่อย่างเข้มงวด 22.25% อันดับ 3 ไม่ควรนำมาพูดพร่ำเพรื่อ หรือบ่อยเกินไป /บางครั้งได้ยินแล้วรู้สึกว่าไม่น่าฟัง 17.48% อันดับ 4 เป็นคำพูดปกติของวัยรุ่นในปัจจุบัน และยังมีอีกหลายคำที่ออกเสียงหรือพูดเพี้ยนไป 15.17% อันดับ 5 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรออกมาชี้แจงหรือทำความเข้าใจในเรื่องของการใช้ภาษาไทยอย่างเร่งด่วน /ไม่ควรปล่อย- ให้เนิ่นนานเกินไป 14.96% 2. จากกรณีนี้เข้าข่ายทำให้ “ภาษาวิบัติ” หรือไม่? อันดับ 1 เข้าข่ายทำให้ภาษาวิบัติ 62.56%
เพราะ หากใช้คำพูดที่ผิดหรือพูดติดปากกันมากเกินไปอาจทำให้หลงลืมความหมายหรือคำที่ถูกต้องของคำที่แท้จริง ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่เข้าข่าย 22.49%
เพราะ เป็นภาษาที่ใช้พูดกันเล่นๆเฉพาะกลุ่ม ไม่น่าจะเสียหายอะไร ,เป็นเพียงแค่กระแสช่วงหนึ่งอีกไม่นานก็เปลี่ยนไป ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 14.95%
เพราะ บางครั้งการออกมาแสดงความเห็นหรือการออกมาให้ข่าว อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่โตทั้งๆที่ยังไม่มีอะไร ฯลฯ
อันดับ 1 มีผล 65.90%
เพราะ อาจทำให้เกิดความเคยชินหรือพูดจนติดเป็นนิสัย ทำให้ภาษาไทยผิดเพี้ยนไป ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่มีผล 17.61%
เพราะ เชื่อว่าคนไทยทุกคนคงจะเข้าใจหรือรู้ความหมายของคำต้นแบบที่แท้จริงว่าคำนี้คืออะไร ,ไม่ใช่คำหยาบคาย ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 16.49%
เพราะ ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป อาจทำให้การใช้ภาษาในการสื่อสารของคนแต่ละกลุ่มแต่ละวัยแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ฯลฯ
อันดับ 1 ควรแก้ไข 63.47%
เพราะ ไม่อยากให้วัยรุ่นใช้คำพูดที่ผิดๆ ,ภาษาไทยเป็นภาษาที่สวยงาม ควรรณรงค์การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่ควรแก้ไข 36.53%
เพราะ เป็นเพียงแค่กระแสช่วงหนึ่ง อีกไม่นานก็อาจมีคำอื่นๆมาแทน ฯลฯ
--สวนดุสิตโพลล์--