สวนดุสิตโพลล์: ประชาชนคิดอย่างไร? ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กรณี จำนวน ส.ส. เขต และ ส.ส. สัดส่วน

ข่าวผลสำรวจ Monday January 10, 2011 07:49 —สวนดุสิตโพล

จากที่มีการประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งในที่ประชุมมีการเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 93-98 ว่าด้วยการแก้ไข ในเรื่องของจำนวน ส.ส.เขต และส.ส.สัดส่วน กลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมืองที่อาจจะกลายเป็นความขัดแย้งที่สังคมต้องจับตามองและติดตาม ข่าวอย่างใกล้ชิด “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนในกรุงเทพฯ ปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,108 คน ระหว่างวันที่ 5-8 มกราคม 2554 สรุปผลได้ดังนี้

1. ประชาชนคิดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในแต่ละแบบมีข้อดี - ข้อเสียอย่างไร?
(1.1) ส.ส. เขต 400 คน ส.ส. สัดส่วน 80 คน (ใช้ในปัจจุบัน)
                      ข้อดี                       ภาพรวม                        ข้อเสีย                 ภาพรวม
เป็นการเลือกแบบประชาธิปไตย 1 คน 1 เสียง             40.17%    ส.ส. สัดส่วนน้อยไป ส่งผลให้การทำงานยากขึ้น       38.02%
ส.ส. จะได้ลงพื้นที่และดูแลประชาชนได้ง่ายขึ้น              31.38%    เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบของพรรคการเมือง       35.41%
คนส่วนใหญ่ยอมรับกับ จำนวน ส.ส.เขต 400 คน            28.45%    ประชาชนตัดสินใจเลือกลำบากมากขึ้น               26.57%

(1.2)  ส.ส. เขต 375 คน  ส.ส. สัดส่วน 125 คน  (ข้อเสนอให้ปรับแก้ไข)
                      ข้อดี                       ภาพรวม                       ข้อเสีย                  ภาพรวม
พรรคใหญ่ได้ที่นั่งเพิ่มขึ้น ส่งผลให้พรรคเข้มแข็ง              35.92%  ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมืองต่างๆ       42.74%
ได้ ส.ส. หน้าใหม่ที่มีความรู้ความสามารถเพิ่มมากขึ้น         34.20%  ทำให้จำนวนที่นั่งของ ส.ส. บางพรรคลดลง            32.35%
การซื้อเสียงยากขึ้น เพราะพื้นที่มีขนาดใหญ่                 29.88%  จะต้องมีการจัดเขตใหม่ ประชาชนเกิดการสับสน         24.91%

(1.3)  ส.ส. เขต 400 คน  ส.ส. สัดส่วน 100 คน  (ใช้เมื่อปี 2540)
                      ข้อดี                       ภาพรวม                      ข้อเสีย                   ภาพรวม
จำนวน ส.ส. มีความเหมาะสมกับเขตเลือกตั้ง              39.58%  พรรคใหญ่ได้เปรียบ มีอำนาจมาก ขาดการตรวจสอบ      40.07%
ทำให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง บริหารงานง่ายขึ้น             36.68%  อาจเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตได้ง่ายขึ้น             33.14%
ไม่มีปัญหาในเรื่องของการจัดแบ่งพื้นที่                     23.74%  พรรคขนาดกลางและขนาดเล็กเสียเปรียบ              26.79%

2. ประชาชนเห็นด้วยกับแนวทางใด?
อันดับ 1          ส.ส. เขต 400 คน  ส.ส. สัดส่วน 100 คน            45.37%
อันดับ 2          ส.ส. เขต 400 คน  ส.ส. สัดส่วน 80 คน            32.98%
อันดับ 3          ส.ส. เขต 375 คน  ส.ส. สัดส่วน 125 คน            21.65%

3. ประชาชนคิดว่าการแก้ไข รธน. ม.92-98 จะมีผลทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองหรือไม่ ?
อันดับ 1          มีผลแน่นอน          53.04%

เพราะ เกิดการขัดแย้งในเรื่องของผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัว , เป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลต่อเสถียรภาพของพรรคการเมือง ฯลฯ

อันดับ 2          อาจจะมีผลบ้าง          33.42%

เพราะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดทางการเมืองย่อมมีความขัดแย้งอยู่บ้าง โดยเฉพาะความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่มีผลเลย           9.37%

เพราะ การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรานี้อาจไม่สำเร็จ หรือไม่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมาธิการ ฯลฯ

อันดับ 4          อาจจะไม่มีผล         4.17%

เพราะ ถ้าพรรคการเมืองทุกพรรคสามารถตกลงกันได้ และผลประโยชน์ลงตัว ฯลฯ

4. ประชาชนคิดว่าการแก้ไข รธน. ครั้งนี้จะช่วยลดปัญหาการซื้อสิทธิ - ขายเสียงได้หรือไม่ ?
อันดับ 1          ช่วยไม่ได้           74.27%

เพราะ การเมืองไทยกับการซื้อเสียงมีคู่กันมานาน ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของนักการเมือง ฯลฯ

อันดับ 2          ไม่แน่ใจ            20.58%

เพราะ ยังไม่รู้ว่า รธน.มาตราดังกล่าวจะได้รับการแก้ไขหรือไม่ คงต้องรอดูต่อไป ฯลฯ

อันดับ 3          ช่วยได้              5.15%

เพราะ เป็นการกลั่นกรองมาจากผู้ทรงคุณวุฒิหลายฝ่าย ประชาชนมีบทเรียนจากการเลือกตั้งที่ผ่านๆมา ฯลฯ

5. ประชาชนคิดว่าการแก้ไข รธน. ม.92-98 ครั้งนี้ ประชาชนจะได้รับประโยชน์เพียงใด?
อันดับ 1          ไม่ได้รับประโยชน์เลย          36.05%

เพราะ เป็นเกมการเมืองและเป็นเรื่องของการชิงความได้เปรียบเสียเปรียบก่อนที่จะมีการเลือกตั้งใหม่ ฯลฯ

อันดับ 2          อาจจะได้รับประโยชน์บ้าง       32.20%

เพราะ ส.ส. สามารถดูแลพื้นที่ที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างใกล้ชิดและทั่วถึงมากขึ้น ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่ค่อยได้รับประโยชน์          24.53%

เพราะ เป็นการแก้ไข รธน.ที่เอื้อประโยชน์ต่อพรรคการเมืองมากกว่าเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวม ฯลฯ

อันดับ 4          ได้รับประโยชน์                7.22%

เพราะ ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตัวเองว่าจะเลือกใครเข้ามาเป็น ส.ส. เพื่อเป็นกระบอกเสียงแทนประชาชน ฯลฯ

--สวนดุสิตโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ