สวนดุสิตโพลล์: “การวิจัยและการประเมิน” เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นได้จริงหรือ?

ข่าวผลสำรวจ Friday January 14, 2011 09:08 —สวนดุสิตโพล

การวิจัยและการประเมินเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อความเจริญก้าวหน้า เป็นที่มาขององค์ความรู้ที่นำไปสู่การ บูรณาการ การบริการทางด้านวิชาการและเป็นฐานความรู้ให้แก่ชุมชน สังคมและประเทศชาติต่อไป แต่มักมีนักวิชาการนักวิเคราะห์หลายคน มองว่าการวิจัยมักจะถูกนำไปขึ้นหิ้ง การประเมินก็ไม่ได้นำไปใช้อะไร ถูกทิ้งไว้เฉยๆ ในแต่ละปีมีผลงานจำนวนไม่น้อยที่สร้างสรรค์ออกมา “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหาร นักวิชาการ และประชาชนทั่วประเทศ ต่อ กรณีดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 1,296 คน ระหว่างวันที่ 5-13 มกราคม 2554 สรุปผลได้ดังนี้

1. “การวิจัยของไทย” ณ วันนี้ ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นได้มากน้อยเพียงใด ?
อันดับ 1          ช่วยขับเคลื่อนได้บ้าง          48.44%

เพราะ ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้หรือการต่อยอดของงานวิจัยนั้นๆมากกว่า ผู้นำท้องถิ่นและชุมชนต้องมีส่วนร่วม ฯลฯ

อันดับ 2          ช่วยขับเคลื่อนได้มาก          27.60%

เพราะ ผลการวิจัยที่ได้สามารถนำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงแนวโน้มหรือภาพรวมในแต่ละเรื่องได้ดี ฯลฯ

อันดับ 3          ช่วยขับเคลื่อนไม่ค่อยได้        21.88%

เพราะ เมื่อผลการวิจัยออกมามักขาดการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ,ไม่มีการนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ฯลฯ

อันดับ 4          ไม่ช่วยขับเคลื่อนได้เลย         2.08%

เพราะ ผู้วิจัยส่วนมากจะทำการวิจัยตามความต้องการของตนเองมากกว่า , ไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ฯลฯ

2. “การประเมินผล” ในโครงการ/งานต่างๆ ณ วันนี้ ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นได้มากน้อย เพียงใด ?
อันดับ 1          ช่วยขับเคลื่อนได้บ้าง          47.12%

เพราะ สามารถนำผลการประเมินที่ได้มากำหนดเป็นแนวทางหรือข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารต่อไป ฯลฯ

อันดับ 2          ช่วยขับเคลื่อนได้มาก          31.41%

เพราะ ทำให้รับรู้ถึงข้อมูล ข้อเท็จจริงที่มีหลักวิชาการรองรับ ,เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงข้อดี-ข้อเสียในการดำเนินงาน ฯลฯ

อันดับ 3          ช่วยขับเคลื่อนไม่ค่อยได้        20.42%

เพราะ ขาดผู้นำที่มีฝีมือหรือนักบริหารมืออาชีพ ,ขึ้นอยู่กับเกณฑ์และมาตรฐานของการประเมินผลว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ ฯลฯ

อันดับ 4          ไม่ช่วยขับเคลื่อนได้เลย         1.05%

เพราะ ที่ผ่านมายังไม่มีการนำผลการประเมินไปใช้อย่างจริงจังหรือเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร ขาดการเผยแพร่ให้สังคมรับรู้ ฯลฯ

3. ทำอย่างไร? การวิจัยและการประเมินผลจะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างเป็นรูปธรรม
อันดับ 1          ภาครัฐต้องให้การส่งเสริม สนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่องทั้งด้านงบประมาณและบุคลากร            47.05%
อันดับ 2          ข้อมูลที่ได้ต้องเป็นข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของท้องถิ่น โดยผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ปฏิบัติสามารถนำไปใช้
                ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง และมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง                     26.58%
อันดับ 3          ผู้วิจัย/ผู้ประเมินต้องมีความรู้ความเข้าใจในงานที่ปฏิบัติเป็นอย่างดี ศึกษาสภาพปัญหาของท้องถิ่นให้ถ่องแท้
                หรือให้คนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม                                                    13.95%
อันดับ 4          การวิจัยและการประเมินผลต้องเป็นไปตามหลักการและขั้นตอนที่ถูกต้อง แหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เป็นจริง    12.42%

--สวนดุสิตโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ