จากกรณีการเผยแพร่คลิปการกระทำความรุนแรงของครูด้วยการลงโทษตีลูกศิษย์อย่างรุนแรงผ่านเว็บไซต์ และในทางตรงกันข้าม สภานักเรียนแห่งประเทศไทย ก็เรียกร้องให้ ศธ. แก้ไขระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 เพื่อให้นำไม้เรียวกลับมาใช้อีกครั้ง โดย ศธ. ได้มอบหมายให้ รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานดำเนินงาน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ทำการสำรวจความคิดเห็นจากครู นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไปต่อกรณีดังกล่าวทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,476 คน ระหว่างวันที่ 13-15 มกราคม 2554 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 เป็นการกระทำที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ 48.19% อันดับ 2 การลงโทษด้วยไม้เรียวเป็นสิ่งที่มามานานในสังคมไทยแต่ต้องใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 19.88% อันดับ 3 ผู้บริหารโรงเรียนทุกแห่งควรดูแลเรื่องกฎ ระเบียบ การลงโทษนักเรียนของครูอย่างใกล้ชิด 18.24% อันดับ 4 ไม่ควรด่วนสรุปก่อนที่จะมีการสอบถามข้อเท็จจริงจากครูและนักเรียน 13.69% 2. การลงโทษเด็ก ด้วยการใช้ “ไม้เรียว” มีผลดี — ผลเสีย อย่างไร? ผลดี ผลเสีย ทำให้เด็กหลาบจำ ไม่กล้าทำผิดซ้ำอีก 52.03% ส่งผลต่อจิตใจทำให้เด็กกลัว อายเพื่อน 44.57% เป็นวิธีลงโทษที่ได้ผล ทำให้เด็กกลัวและเชื่อฟัง 26.64% ทางโรงเรียนและครูอาจถูกฟ้องหรือร้องเรียนได้ 30.83% ทำให้เด็กเป็นคนดี ไม่ออกนอกลู่นอกทาง 21.33% ทำให้ครูไม่กล้าลงโทษเด็ก 24.60% 3. ความผิดแบบใด? หรือ ลักษณะใด? จึงจะควรลงโทษด้วยการใช้ไม้เรียว อันดับ 1 การมั่วสุม เช่น กินเหล้า สูบบุหรี่ เล่นการพนัน เรื่องชู้สาว 34.28% อันดับ 2 การทะเลาะวิวาท ชกต่อย ตบ ตีกัน 27.97% อันดับ 3 หนีเรียน โดดเรียน 20.92% อันดับ 4 ทำผิดระเบียบวินัยของโรงเรียน เช่น ทุจริตในการสอบ ขโมยของ แต่งกายผิดระเบียบ 16.83% 4. ถ้าไม่ใช่การลงโทษด้วยการใช้ “ไม้เรียว” จะใช้วิธีการลงโทษด้วยวิธีใด? แทน อันดับ 1 บำเพ็ญประโยชน์ เช่น เก็บขยะ กวาดพื้น ทำเวร ทำความสะอาดห้องเรียน ล้างห้องน้ำ 43.16% อันดับ 2 ตักเตือน ตัดคะแนน ทำทัณฑ์บน เรียกผู้ปกครอง 30.43% อันดับ 3 สั่งทำรายงานเพิ่ม /มอบหมายงานอื่นๆให้ทำ 15.65% อันดับ 4 วิ่งรอบสนาม กระโดดตบ วิดพื้น /ยืนหน้าห้อง 10.76% 5. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่? กับ สภานักเรียนแห่งประเทศไทยที่เรียกร้องให้ ศธ. แก้ไขระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548 โดยการเพิ่มโทษให้ครูใช้ไม้เรียวทำโทษเด็กได้ อันดับ 1 เห็นด้วย 53.84%
เพราะ ทำให้เด็กหลาบจำ ไม่กล้าทำผิดซ้ำอีก ,ผู้ที่มีชื่อเสียง ผู้หลักผู้ใหญ่หลายคนที่ประสบความสำเร็จก็เคยโดนไม้เรียวมาก่อน แต่การลงโทษต้องอยู่ขอบเขต สมเหตุสมผล ไม่ใช้อารมณ์ ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่เห็นด้วย 24.85%
เพราะ ยุคสมัยเปลี่ยนไปควรเปลี่ยนวิธีการลงโทษแบบอื่นๆแทนการใช้ไม้เรียวจะดีกว่า ทำให้เด็กกลัว ไม่กล้าแสดงออก ,ครูแต่ละคนมีวุฒิภาวะที่แตกต่างกัน
อันดับ 3 เฉยๆ 21.31%
เพราะ การลงโทษด้วยไม้เรียวมีทั้งข้อดี ข้อเสีย ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้และผู้ที่ถูกลงโทษมากกว่า ฯลฯ
อันดับ 1 เห็นด้วย 65.08%
เพราะ การลงโทษด้วยไม้เรียวมีมานานตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย เพื่อทำให้เด็กเกิดการหลาบจำ ไม่ออกนอนกลู่นอกทาง แต่จะต้องใช้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ไม่ใช่ตีพร่ำเพรื่อ ,มีการกำหนดขนาดมาตรฐานของไม้เรียว ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่เห็นด้วย 18.93%
เพราะ อาจส่งผลกระทบทางด้านจิตใจกับเด็ก ทำให้เด็กกลัว ไม่อยากมาโรงเรียน ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ,เป็นการใช้ความรุนแรง ควรใช้เหตุผล พูดคุยและการลงโทษแบบอื่นจะดีกว่า ฯลฯ
อันดับ 3 เฉยๆ 15.99%
เพราะ จากกรณีนี้มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เพราะสมัยนี้จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของเด็กและครูบางคนต่างก็ไม่เหมาะสมพอๆกัน ฯลฯ
อันดับ 1 ทางกระทรวงฯ จะต้องมีการออกกฎระเบียบข้อบังคับในการลงโทษเด็กอย่างชัดเจน 37.18% อันดับ 2 ทั้งครูและนักเรียนควรช่วยกันสอดส่องดูแลเป็นหูเป็นตาหากเกิดการลงโทษที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ 25.03% อันดับ 3 ทุกๆฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน ครู นักเรียนและผู้ปกครองควรมีการพูดคุยหรือมีข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับ วิธีการหรือรูปแบบการลงโทษที่เป็นที่พอใจของทุกฝ่าย 23.56% อันดับ 4 ควรมีการคัดกรองครูที่มีใจรักในวิชาชีพอย่างแท้จริง และมีการทดสอบทางจิตวิทยาเป็นระยะๆ 14.23% --สวนดุสิตโพลล์-- -พห-