จากที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เตรียมนำกฎหมายห้ามเด็กอายุไม่ถึง 18 ปี ออกจากบ้านหลัง เวลา 22.00 น. มาบังคับใช้ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นการแก้ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากการกระทำของเด็กวัยรุ่นและเยาวชน โดยมีหลายฝ่ายที่ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าวและอยากให้มีการสื่อสาร ชี้แจงอย่างละเอียดชัดเจนเพื่อไม่ให้สังคมเกิดความสับสน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,549 คน ระหว่างวันที่ 13-15 มกราคม 2554 สรุปผลได้ดังนี้
1. ประชาชนคิดว่าการห้ามเด็กอายุไม่ถึง 18 ปี ออกจากบ้านหลัง 4 ทุ่ม โดยไม่มีเหตุอันควรสามารถแก้ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดจากการกระทำ
ของเด็กวัยรุ่นและเยาวชนได้หรือไม่?
อันดับ 1 ได้ 62.87%
เพราะ เป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในระดับหนึ่ง เด็กจะได้ไม่ออกมามั่วสุมกันเนื่องจากข่าวที่เกิดขึ้นมีทั้งตัวเด็กเองที่เป็นผู้ก่อเหตุและโดนลูกหลง ,ช่วงเวลาที่เกิดเหตุส่วนใหญ่มักเป็นยามวิกาล ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่ได้ 37.13%
เพราะ ผู้ปกครองอาจดูแลไม่ทั่วถึง หากผู้ปกครองไม่อยู่หรือไปธุระก็ไม่สามารถควบคุมดูแลเด็กได้ , การแก้ปัญหาอาชญากรรมต้องแก้ที่ต้นเหตุหรือบริเวณที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหา ฯลฯ
อันดับ 1 กระทบ 52.27%
เพราะ เป็นการละเมิดสิทธิของเด็กที่พึงมี โดยเฉพาะเด็กบางกลุ่มที่มีความจำเป็นต้องทำงานเพื่อเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว ,ควรให้พ่อแม่ หรือผู้ปกครองเป็นผู้ดูแลจะดีกว่า ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่กระทบ 47.73%
เพราะ ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นเวลาที่เด็กส่วนใหญ่จะอยู่บ้าน ทำกิจกรรมส่วนตัวหรือเข้านอนแล้ว ,มาตรการที่ประกาศออกมาถือว่าเป็นความหวังดีที่อยากให้เยาวชนได้รับความปลอดภัยหรือลดปัญหาอาชญากรรมลงได้ ฯลฯ
อันดับ 1 มีสิทธิ 67.41%
เพราะ รัฐบาลมีหน้าที่ดูแลบริหารบ้านเมืองให้เป็นไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ,คนไทยทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่มีสิทธิ 29.63%
เพราะ ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ดูแลของผู้ปกครองจะดีกว่า ,เป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชน ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 2.96%
เพราะ ไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ควรศึกษาอย่างละเอียด ฯลฯ
อันดับ 1 ถือว่าเป็นการคุ้มครอง 68.15%
เพราะ เป็นเครื่องมือลดความเสี่ยงและช่วยป้องกัน คุ้มครองเยาวชนให้ปลอดภัย , เยาวชนและผู้ปกครองทุกคนจะต้องยึดถือและปฏิบัติตาม ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่ถือว่าเป็นการคุ้มครอง 25.93%
เพราะ เป็นการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นมากกว่า , เป็นการบังคับและละเมิดสิทธิเด็ก ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 5.92%
เพราะ ไม่ได้ศึกษาเนื้อหาใน พ.ร.บ. ยังไม่เข้าใจเจตนารมณ์ที่แท้จริงของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฯลฯ
อันดับ 1 เห็นด้วย 65.91%
เพราะ ช่วยลดปัญหาอาชญากรรมได้ เป็นการป้องกันอันตราย ลดความเสี่ยง ,เพิ่มคุณภาพให้เยาวชนที่ยังต้องอาศัยการดูแลจากผู้ใหญ่ ,ทำให้ครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันมากขึ้น ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่เห็นด้วย 34.09%
เพราะ เหตุผลยังไม่เพียงพอ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ,ควรยืดเวลาออกไปเป็น 5 ทุ่มและไม่ควรเหมือนกันในทุกพื้นที่ ,เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ฯลฯ
--สวนดุสิตโพลล์--