การเมืองไทย มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา โดยเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ความเป็นอยู่ของประชาชนและการยอมรับของต่างชาติ เพื่อศึกษาความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เป็นรูปธรรมและถูกต้องตามหลักวิชาการ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้ทำดัชนีการเมืองไทย โดยมีตัวชี้วัดทั้งการบริหารงานของรัฐบาล ฝ่ายค้าน ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน บทบาทสื่อมวลชนและอื่นๆ รวม 25 ประเด็น ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่จะบอกได้ว่าการเมืองไทย ดีขึ้น แย่ลง หรือเหมือนเดิม โดยสำรวจประชาชนทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 25-30 ของทุกเดือน เพื่อเปรียบเทียบเดือนต่อเดือน โดยให้คะแนนเต็ม 10 และหาค่าเฉลี่ย ( ) ภาพรวมของการเมืองไทยออกมา ซึ่งในเดือนมกราคมนี้ได้สำรวจดัชนีการเมืองดังกล่าวจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 4,225 คน ระหว่างวันที่ 25-30 มกราคม 2554 สรุปผลได้ดังนี้
1. ประชาชนให้คะแนนดัชนีการเมืองไทย ภาพรวมคะแนนเต็ม 10 ได้ 4.74 คะแนน
2. ประชาชนให้คะแนน 25 ตัวชี้วัดดัชนีการเมืองไทย โดยคะแนนเต็ม 10 เรียงลำดับได้ดังนี้
1 ผลงานของนายกรัฐมนตรี 5.8 13 ความเป็นอยู่ของประชาชน 4.8 2 ข่าวสารที่เผยแพร่จากสื่อต่างๆให้ประชาชนได้รับรู้ 5.7 15 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4.7 3 การจัดการศึกษาสำหรับประชาชน 5.7 16 การแก้ปัญหาต่างๆของรัฐบาลในภาพรวม 4.7 4 ผลงานของรัฐบาล 5.5 17 การแก้ปัญหาการว่างงาน 4.3 5 การบริหารประเทศตามนโยบายที่ประกาศไว้ 5.4 18 ความมั่นคงของประเทศ /การก่อการร้าย 4.3 6 การมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรอิสระ 5.2 19 การแก้ปัญหาความยากจน 4.2 7 การปฏิบัติงานของฝ่ายค้าน 5 20 ความสามัคคีของคนในชาติ 4.2 8 การดำเนินงานของพรรคการเมืองโดยภาพรวม 5 21 ราคาสินค้า 4.1 9 การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า 4.9 22 การแก้ปัญหายาเสพติด 4.1 10 สภาพเศรษฐกิจโดยภาพรวม 4.9 23 การปฏิบัติตนของนักการเมือง /ความสามัคคี 4 11 จริยธรรม /วัฒนธรรมของคนในชาติ 4.9 24 การแก้ปัญหาผู้มีอิทธิพล 3.8 12 ค่าครองชีพ /เงินเดือน /ค่าจ้าง /สวัสดิการ 4.9 25 การแก้ปัญหาคอรัปชั่น 3.8 13 สภาพของสังคมโดยรวม 4.82 ** ภาพรวมคะแนนดัชนีการเมืองไทย 4.74
3. ถ้าจำแนกตามภูมิภาค ประชาชนให้คะแนนดัชนีการเมืองไทย โดยคะแนนเต็ม 10 ดังนี้
อันดับ 1 ภาคใต้ 5.79 อันดับ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5.05 อันดับ 3 กรุงเทพฯ 4.64 อันดับ 4 ภาคกลาง 4.49 อันดับ 5 ภาคเหนือ 4.00 --สวนดุสิตโพลล์-- -พห-