จากการจัดเสวนากลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็นในหัวข้อ “รับน้องใหม่แบบไหน? ความเสียใจจึงจะไม่เกิดขึ้น”ของ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ณ ห้องประชุมลำพอง วันที่ 10 มิถุนายน 2548 เวลา 13.00 น. โดยมีผู้บริหารของมหาวิทยาลัย อาจารย์ ผู้ปกครอง นิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และรุ่นพี่ พร้อมทั้งสื่อมวลชน เข้าร่วมเกือบร้อยท่านนั้น พบว่าหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่ากิจกรรมการรับน้องใหม่ของมหาวิทยาลัย ต่าง ๆ ควรจะคงอยู่ต่อไป เพราะเป็นประเพณีดีที่ทำสืบต่อ ๆ กันมา แต่อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการรับน้องให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์ ไม่ก่อให้เกิดปัญหา สร้างความรักสามัคคีระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง ตลอดจนความรักในสถาบัน
ผู้เข้าร่วมการเสวนาทุกกลุ่มยังเห็นพ้องร่วมกันว่า การรับน้องใหม่ควรสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมภายใต้การดูแลของสถาบัน และมีกฎระเบียบที่ยอมรับได้ร่วมกัน มีการสื่อสารให้เข้าใจตรงกันเกี่ยวกับรูปแบบการรับน้องระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ รุ่นพี่ รุ่นน้อง ตลอดจนผู้ปกครอง ซึ่งผู้ปกครองต้องมีส่วนร่วมในการทำให้ปัญหาการรับน้องใหม่ลดลง ด้วยการพูดคุยกับบุตรหลานให้ทราบล่วงหน้าว่าเมื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้จะต้องมีกิจกรรมรับน้อง เพื่อให้บุตรหลานเตรียมใจไว้ก่อน และมองภาพว่าการเชียร์ และการว๊ากเป็นสถานการณ์จำลอง ที่รุ่นน้องต้องถูกดุจากรุ่นพี่กลุ่มหนึ่ง และได้รับการปลอบใจจากรุ่นพี่อีกกลุ่มหนึ่ง
น้องใหม่ที่ก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยมักจะมีทรรศนะว่า ต้องเกรงใจรุ่นพี่มากที่สุด รองลงมาจะเป็นครูอาจารย์ และสุดท้ายคือ พ่อแม่ เนื่องจากเห็นว่ารุ่นพี่จะช่วยให้สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ภายในรั้วมหาวิทยาลัย รุ่นพี่เปรียบเสมือนเป็นไกด์นำทาง และเป็นคู่มือในการทำอะไรต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยที่มีบรรยากาศแตกต่างจากสมัยเรียนมัธยมปลาย นักศึกษาจะมองว่าอาจารย์ที่ปรึกษามีภารกิจมากมายทั้งเรื่องส่วนตัวและไม่ส่วนตัว ทำให้ไม่กล้าเข้าหา ในขณะที่รุ่นพี่จะเป็นกลุ่มที่เข้าถึงง่ายและสะดวกกว่าจึงต้องเชื่อฟัง ดังนั้นการปฏิบัติตามคำสั่งของรุ่นพี่ รุ่นน้องมักจะไม่ขัดขืน ในส่วนของมหาวิทยาลัยจึงควรปลูกฝังให้รุ่นพี่ปฏิบัติกิจกรรมในเรื่องการรับน้องใหม่ในทางสร้างสรรค์ โดยสร้างความรับผิดชอบและมีการเตรียมการรับน้องใหม่อย่างรอบคอบ นอกจากนั้น ผู้เข้าร่วมเสวนายังมีความเห็นตรงกันอีกว่า กิจกรรมการรับน้องใหม่ควรจะทำตั้งแต่ก่อนการรับนักศึกษาใหม่ในแต่ละปี
สำหรับกรณีนักศึกษาใหม่รับน้องแล้วเสียชีวิตที่เป็นข่าว ผู้เข้าร่วมเสวนาส่วนใหญ่เห็นว่า เป็นบทเรียนสำคัญที่ต้องตระหนัก โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ แม้ว่าการรับน้องใหม่จะทำภายนอกสถาบันก็ตาม ทั้งนี้ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและมีความร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหามากกว่าจะโยนหรือปัดความรับผิดชอบให้กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด โดยเฉพาะเน้นเรื่องกิจกรรมการรับน้อง อาทิท่าเต้นในรูปแบบต่าง ๆ ก็เป็นเพียงบทบาทสมมติที่จะต้องสำนึกถึงวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยให้มากกว่านี้
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
ผู้เข้าร่วมการเสวนาทุกกลุ่มยังเห็นพ้องร่วมกันว่า การรับน้องใหม่ควรสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมภายใต้การดูแลของสถาบัน และมีกฎระเบียบที่ยอมรับได้ร่วมกัน มีการสื่อสารให้เข้าใจตรงกันเกี่ยวกับรูปแบบการรับน้องระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ รุ่นพี่ รุ่นน้อง ตลอดจนผู้ปกครอง ซึ่งผู้ปกครองต้องมีส่วนร่วมในการทำให้ปัญหาการรับน้องใหม่ลดลง ด้วยการพูดคุยกับบุตรหลานให้ทราบล่วงหน้าว่าเมื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้จะต้องมีกิจกรรมรับน้อง เพื่อให้บุตรหลานเตรียมใจไว้ก่อน และมองภาพว่าการเชียร์ และการว๊ากเป็นสถานการณ์จำลอง ที่รุ่นน้องต้องถูกดุจากรุ่นพี่กลุ่มหนึ่ง และได้รับการปลอบใจจากรุ่นพี่อีกกลุ่มหนึ่ง
น้องใหม่ที่ก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยมักจะมีทรรศนะว่า ต้องเกรงใจรุ่นพี่มากที่สุด รองลงมาจะเป็นครูอาจารย์ และสุดท้ายคือ พ่อแม่ เนื่องจากเห็นว่ารุ่นพี่จะช่วยให้สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ภายในรั้วมหาวิทยาลัย รุ่นพี่เปรียบเสมือนเป็นไกด์นำทาง และเป็นคู่มือในการทำอะไรต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยที่มีบรรยากาศแตกต่างจากสมัยเรียนมัธยมปลาย นักศึกษาจะมองว่าอาจารย์ที่ปรึกษามีภารกิจมากมายทั้งเรื่องส่วนตัวและไม่ส่วนตัว ทำให้ไม่กล้าเข้าหา ในขณะที่รุ่นพี่จะเป็นกลุ่มที่เข้าถึงง่ายและสะดวกกว่าจึงต้องเชื่อฟัง ดังนั้นการปฏิบัติตามคำสั่งของรุ่นพี่ รุ่นน้องมักจะไม่ขัดขืน ในส่วนของมหาวิทยาลัยจึงควรปลูกฝังให้รุ่นพี่ปฏิบัติกิจกรรมในเรื่องการรับน้องใหม่ในทางสร้างสรรค์ โดยสร้างความรับผิดชอบและมีการเตรียมการรับน้องใหม่อย่างรอบคอบ นอกจากนั้น ผู้เข้าร่วมเสวนายังมีความเห็นตรงกันอีกว่า กิจกรรมการรับน้องใหม่ควรจะทำตั้งแต่ก่อนการรับนักศึกษาใหม่ในแต่ละปี
สำหรับกรณีนักศึกษาใหม่รับน้องแล้วเสียชีวิตที่เป็นข่าว ผู้เข้าร่วมเสวนาส่วนใหญ่เห็นว่า เป็นบทเรียนสำคัญที่ต้องตระหนัก โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ แม้ว่าการรับน้องใหม่จะทำภายนอกสถาบันก็ตาม ทั้งนี้ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและมีความร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหามากกว่าจะโยนหรือปัดความรับผิดชอบให้กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด โดยเฉพาะเน้นเรื่องกิจกรรมการรับน้อง อาทิท่าเต้นในรูปแบบต่าง ๆ ก็เป็นเพียงบทบาทสมมติที่จะต้องสำนึกถึงวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยให้มากกว่านี้
--สวนดุสิตโพล--
-พห-