ทุกครั้งที่มีการพูดถึง “วาเลนไทน์” มักมีการแสดงความเห็นหรือจะพูดกันในเชิงลบ เช่น เรื่องการเสียตัว การถูกครอบงำจากวัฒนธรรมตะวันตก ฯลฯ เพื่อมองวาเลนไทน์ให้ครบทุกมิติ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศโดยกระจายตามกลุ่มอายุ กรณี “วาเลนไทน์” ในมิติ “เชิงบวก” “เชิงลบ” ขึ้นมา เพื่อสะท้อนความคิดเห็นและใช้เป็นฐานข้อมูลต่อไป จำนวนทั้งสิ้น 1,410 คน ระหว่างวันที่ 7-13 กุมภาพันธ์ 2554 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 อายุ 13-17 ปี 30.67% อันดับ 2 อายุ 18-20 ปี 22.34% อันดับ 3 อายุต่ำกว่า 13 ปี 18.79% อันดับ 4 อายุ 21-30 ปี 16.31% อันดับ 5 อายุสูงกว่า 30 ปี 11.89% 2. เปรียบเทียบมิติความคิด “เชิงบวก” กับ “เชิงลบ” ต่อวันวาเลนไทน์ อันดับ 1 กลุ่มอายุไม่เกิน 20 ปี จะคิด“เชิงบวก” มากกว่า “เชิงลบ” 37.18%
โดยคิดว่า เป็นวันที่มีความนิยมตามกระแสแฟชั่น ทำตามสังคม โดยเฉพาะเพื่อนมีความสนุกสนานเป็นการอุทิศเพื่อความรัก ฯลฯ
อันดับ 2 กลุ่มอายุสูงกว่า 30 ปี จะคิด“เชิงลบ” มากกว่า “เชิงบวก” 31.94%
โดยคิดว่า เป็นเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ เสียตัว มัวเมาอบายมุข ยาเสพติด สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ทำตามวัฒนธรรมต่างชาติ เป็นห่วงเยาวชน ฯลฯ
อันดับ 3 กลุ่มอายุ 21-30 ปี จะคิด“เชิงบวก” พอๆกับ “เชิงลบ” 30.88%
โดยคิดว่า เป็นวันที่สังคมโลกยอมรับแล้ว ควรดูแล ควบคุมและปลูกฝังให้อยู่ในกรอบจะดีกว่า ฯลฯ
อันดับ 1 การล่วงละเมิดทางเพศโดยเฉพาะเสียตัว 52.70% อันดับ 2 อบายมุข โดยเฉพาะยาเสพติด 22.06% อันดับ 3 อุบัติเหตุ 13.12% อันดับ 4 อาชญากรรม ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 7.73% อันดับ 5 สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย 4.39% 4. “มิติใหม่” ที่ประชาชนอยากเห็นในวันวาเลนไทน์ อันดับ 1 ให้ความรักที่จริงใจ ลดความขัดแย้ง แตกแยก สร้างความสามัคคีในสังคมไทย 49.86% อันดับ 2 ให้ความรักแก่ทุกคน ไม่จำกัดเฉพาะแฟน เช่น พ่อแม่ เพื่อน ญาติ คนที่อยู่ร่วมกัน 29.15% อันดับ 3 ให้ความรักที่บริสุทธิ์ เห็นอกเห็นใจกับคนที่รัก ไม่มุ่งเน้นแต่เรื่องเพศสัมพันธ์เพียงอย่างเดียว 15.89% อันดับ 4 ผู้ใหญ่ ผู้บริหารบ้านเมือง ศิลปิน ดารา จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ทำตัวที่แสดงความรัก- ความห่วงใยแก่ประชาชนและประเทศชาติ 5.10% --สวนดุสิตโพลล์-- -พห-