จากกรณีที่ฝ่ายค้านยื่นญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลที่จะมีขึ้นเร็วๆนี้ โดยเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งสุดท้ายก่อนที่จะไปสู้ศึกกัน ในสนามเลือกตั้งว่าใครจะได้เป็นรัฐบาลต่อไป ในขณะที่บางกระแสก็บอกว่า นายกฯอภิสิทธิ์ ต้องการให้มีการอภิปรายฯ ขึ้นโดยเร็ว เพราะเป็น โอกาสดีที่รัฐบาลจะได้สร้างความเข้าใจในเรื่องต่างๆที่กำลังเป็นที่สนใจให้กับประชาชนเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศที่มีต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจ จำนวนทั้งสิ้น 1,594 คน ระหว่างวันที่ 2-5 มีนาคม 2554 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 ทำให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลที่เป็นจริงและชัดเจนมากขึ้นจากทั้ง 2 ฝ่าย 35.39% อันดับ 2 เป็นหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะต้องตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอยู่แล้ว /รัฐบาลไม่สามารถบริหารประเทศ ตามที่ประกาศไว้ได้ 28.24% อันดับ 3 การอภิปรายครั้งนี้เป็นเพียงแค่เกมการเมือง /กลยุทธ์ทางการเมือง 21.77% อันดับ 4 ใช้เป็นการประกอบการตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งหน้า 14.60% 2. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่? กับกรณีที่ฝ่ายค้านจะยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล อันดับ 1 เห็นด้วย 56.87%
เพราะ เปิดโอกาสให้รัฐบาลได้ชี้แจงข้อเท็จจริงต่างๆให้ประชาชนได้รับรู้และเข้าใจมากขึ้น ,รัฐบาลไม่สามารถ
บริหารประเทศตามที่ประกาศไว้ได้ ,มีการทุจริต คอรัปชั่นกันมาก ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 24.37%
เพราะ คงเป็นเพียงแค่เกมการเมือง ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่เห็นด้วย 18.76%
เพราะ สถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ยังไม่สู้ดี ควรให้รัฐบาลบริหารประเทศไปก่อน อีกไม่นานก็จะหมดวาระและเลือกตั้งใหม่ ฯลฯ
ฝ่ายรัฐบาล ภาพรวม ฝ่ายค้าน ภาพรวม อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 40.17% ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง 51.44% สุเทพ เทือกสุบรรณ 37.84% จตุพร พรหมพันธ์ 26.09% ชวน หลีกภัย 21.99% มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ 22.47% 4. เรื่องใด? ที่ประชาชนอยากให้มีการอภิปรายมากที่สุด อันดับ 1 การดูแล ควบคุมราคาสินค้า เช่น น้ำมัน น้ำมันพืช ไข่ไก่ น้ำตาล ฯลฯ 23.04% อันดับ 2 การทุจริต คอรัปชั่น 21.67% อันดับ 3 การบริหารประเทศโดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชน 19.86% อันดับ 4 การจัดการปัญหา/การดำเนินคดี /การสลายการชุมนุมของม๊อบกลุ่มต่างๆ 18.73% อันดับ 5 ยาเสพติด /อบายมุข /ผู้มีอิทธิพล 16.70% 5. ประชาชนคิดว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้มีผลต่อรัฐบาลอย่างไร? ผลดี ภาพรวม ผลเสีย ภาพรวม ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับทราบ 42.11% อาจทำให้สถานการณ์ยิ่งบานปลายมากขึ้น 37.02% รู้ข้อบกพร่องหรือปัญหาที่ผ่านมา/ปรับปรุงให้ดีขึ้น 34.28% หากรัฐบาลไม่สามารถชี้แจงข้อกล่าวหาได้ก็จะส่งผลต่อการเลือกตั้งครั้งหน้า 34.13% มีโอกาสในการประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาล 23.61% เป็นการขุดคุ้ยเรื่องเก่ามาพูดกัน ไม่เกิดประโยชน์อะไร 28.85% 6. ประชาชนคิดว่าการอภิปรายที่กำลังจะมีขึ้นจะส่งผลให้มีการยุบสภาหรือไม่? อันดับ 1 ไม่มีผล 47.83%
เพราะ รัฐบาลน่าจะมีการเตรียมตัว เตรียมข้อมูลมาอย่างดี /มีเสียงข้างมากอยู่แล้ว ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 36.23%
เพราะ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี ,ต้องประเมินจากการอภิปรายครั้งนี้ก่อน ฯลฯ
อันดับ 3 มีผล 15.94%
เพราะ สถานการณ์ทางการเมืองอาจบานปลายหรือแย่ลงกว่าเดิม ทำให้รัฐบาลต้องตัดสินใจยุบสภาก่อน ฯลฯ
อันดับ 1 ไม่ค่อยมีผล 44.92%
เพราะ จากการประท้วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าไม่สามารถทำอะไรรัฐบาลได้ ฯลฯ
อันดับ 2 ค่อนข้างมีผล 23.18%
เพราะ ประเด็นที่กลุ่มผู้ชุมนุมกล่าวหาเป็นเรื่องจริงและประชาชนได้รับผลกระทบโดยตรง ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่มีผลเลย 21.76%
เพราะ การยุบสภาขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลมากกว่า ฯลฯ
อันดับ 4 มีผลอย่างมาก 10.14%
เพราะ รัฐบาลได้รับความกดดันจากหลายฝ่ายเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะประชาชน ฯลฯ
--สวนดุสิตโพลล์--