จากเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ประเทศญี่ปุ่นสร้างความเสียหายให้กับอาคารบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ อย่างมหาศาล ส่งผลให้มียอดผู้ เสียชีวิตและสูญหายจำนวนมาก ทำให้ประเทศญี่ปุ่นต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน ในขณะที่รัฐบาลไทยก็ได้มีการสั่งการไปยังกระทรวงการต่างประเทศและ สถานฑูตไทยในญี่ปุ่นในการติดตามประสานหน่วยงานท้องถิ่นของญี่ปุ่นและสมาคมคนไทยในญี่ปุ่นในการแจ้งข้อมูลของคนไทยที่อาจได้รับผลกระทบหรือต้อง การความช่วยเหลือ และประเทศไทยเองก็ได้มีการประกาศเตือนขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะจังหวัดที่อยู่ตาม ชายฝั่งอ่าวไทย “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯและจังหวัดที่อยู่ตาม ชายฝั่งอ่าวไทยที่มีต่อภัยพิบัติที่เกิดขึ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,359 คน ระหว่างวันที่ 11-12 มีนาคม 2554 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 สึนามิ 34.78% อันดับ 2 แผ่นดินไหว 30.43% อันดับ 3 น้ำท่วม 15.94% อันดับ 4 โรคระบาด 11.60% อันดับ 5 พายุประเภทต่างๆ 7.25% 2. ประชาชนคิดอย่างไร? กับเหตุแผ่นดินไหวล่าสุดที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น อันดับ 1 เป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่ที่สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล 47.06% อันดับ 2 ทำให้คนทั่วโลกต้องตกตะลึงและคอยติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด 15.24% อันดับ 3 รู้สึกสงสาร เห็นใจและเสียใจกับผู้ที่ได้รับผลกระทบและผู้เสียชีวิต 13.89% อันดับ 4 เป็นการส่งสัญญาณเตือนจากธรรมชาติว่าโลกกำลังอยู่ในขั้นวิกฤติ มาจากน้ำมือของมนุษย์ที่เป็นคนทำลายสิ่งแวดล้อม 12.63% อันดับ 5 ประเทศต่างๆที่เป็นจุดเสี่ยงควรนำเหตุการณ์นี้มาศึกษาหรือเตรียมรับมือ 11.18% 3. จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ประชาชนเกิดความวิตกกังวลหรือรู้สึกเครียดมากน้อยเพียงใด? อันดับ 1 ค่อนข้างวิตกกังวลและเครียด 51.92%
เพราะ เป็นภัยธรรมชาติที่ร้ายแรง หากเกิดขึ้นแล้วไม่สามารถที่จะควบคุมหรือป้องกันได้ ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่ค่อยวิตกกังวลหรือเครียดมากนัก 30.76%
เพราะ ประเทศไทยอยู่ในจุดที่ปลอดภัยกว่าและญี่ปุ่นอยู่ไกลจากประเทศไทยพอสมควร ฯลฯ
อันดับ 3 วิตกกังวลและเครียดมาก 9.63%
เพราะ กลัวว่าจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ในระยะหลังๆมานี้มีข่าวลักษณะนี้เกิดขึ้นกับหลายๆประเทศ ฯลฯ
อันดับ 4 ไม่วิตกกังวลและไม่เครียด 7.69%
เพราะ มองว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นได้ อย่าไปเครียดหรือกังวลมากเกินไป ฯลฯ
อันดับ 1 ค่อนข้างสนใจ 52.83%
เพราะ ประเทศไทยเองก็เคยมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นหลายครั้งและเกิดสึนามิมาแล้ว ฯลฯ
อันดับ 2 สนใจที่จะศึกษาค้นคว้ามากขึ้น 26.41%
เพราะ อยากรู้ถึงความเป็นมา สาเหตุและวิธีการป้องกันเพื่อจะได้มีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือได้อย่างถูกต้อง ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่สนใจ 11.37%
เพราะ เป็นเรื่องของธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ควรตื่นตระหนกจนเกินไป ฯลฯ
อันดับ 4 ไม่ค่อยสนใจ 9.39%
เพราะ เป็นช่วงที่เพิ่งเกิดเหตุการณ์ขึ้นใหม่ ๆ ทำให้อยู่ในกระแสความสนใจของหลาย ๆ คน ฯลฯ
อันดับ 1 มีการติดตั้งระบบเตือนภัยที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ตามพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นจุดเสี่ยง 33.19% อันดับ 2 ให้ประชาชนคอยติดตามข้อมูลข่าวสารการเตือนภัยแผ่นดินไหวจากสื่อต่างๆและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 19.38% อันดับ 3 การให้ความรู้ คำแนะนำ ในการปฏิบัติตนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว 17.22% อันดับ 4 คอยสังเกตความผิดปกติต่างๆจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ดูจากระดับน้ำทะเล 15.54% อันดับ 5 การตรวจสอบดูแลโครงสร้างอาคาร บ้านเรือนต่างๆให้แข็งแรง ปลอดภัย 14.67% 6. สิ่งที่ประชาชนอยากฝากหรือเสนอแนะต่อรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันภัยพิบัติ ต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องแผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้น คือ อันดับ 1 มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้โดยเฉพาะ และครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ 26.63% อันดับ 2 รัฐบาลเองจะต้องให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างจริงจัง 23.59% อันดับ 3 นำเหตุการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่นมาเป็นกรณีศึกษาและเป็นอุทาหรณ์ /ไม่ปิดบังข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริงแก่ประชาชน 20.80% อันดับ 4 เน้นการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักและเห็นถึงความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม 15.17% อันดับ 5 ควรให้การสนับสนุนในเรื่องงบประมาณ การจัดซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีความสำคัญในการป้องกัน ติดตามหรือเฝ้าระวังอย่างเต็มที่ 13.81% --สวนดุสิตโพลล์-- -พห-