พยาบาล เป็นวิชาชีพที่ทำหน้าที่ให้การรักษาพยาบาล ดูแลผู้ป่วยตามลักษณะโรคที่เป็นทั้งทางร่างกาย อารมณ์และจิตใจ ผู้ที่จะเข้ามาศึกษาในวิชาชีพพยาบาลจะต้องเรียนมาทางสายวิทย์ แล้วสอบคัดเลือกเข้าต่อในสาขาวิชาพยาบาลของมหาวิทยาลัยต่างๆที่เปิดสอน โดยมีระยะเวลาในการศึกษา 4 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถดูแลผู้ป่วยได้ตามหลักการพยาบาลที่เรียนมา เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อพยาบาลวิชาชีพในปัจจุบัน และพยาบาลหรือผู้ที่จะก้าวเข้ามาประกอบวิชาชีพพยาบาลสามารถนำมาพัฒนาปรับปรุงหรือเตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่วิชาชีพนี้ได้ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปในกรุงเทพฯและปริมณฑล กรณี ความคาดหวังของสังคม ต่อ “พยาบาลวิชาชีพ” จำนวนทั้งสิ้น 1,169 คน ระหว่างวันที่ 13-16 มีนาคม 2554 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 เป็นอาชีพที่มีเกียรติ สังคมให้การยอมรับและยกย่องผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ 30.42% อันดับ 2 การให้บริการของพยาบาลระหว่างของรัฐและเอกชนมีความแตกต่างกัน เช่น การพูดจา กริยา ท่าทาง และเลือกปฏิบัติ เป็นต้น 22.61% อันดับ 3 ควรมีหน้าที่รักษาพยาบาล ดูแลผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ให้เป็นไปตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ 20.64% อันดับ 4 ต้องเสียสละ อดทนและมีใจรักในวิชาชีพ 15.20% อันดับ 5 เป็นอาชีพที่หางานทำได้ไม่ยาก 11.13% 2. ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อ “พยาบาลวิชาชีพ” อันดับ 1 ค่อนข้างเชื่อมั่น 64.36%
เพราะ ผู้ที่ประกอบวิชาชีพนี้จะต้องเป็นผู้ที่มีใจรักในงาน ยึดถือปฏิบัติตามกฎระเบียบและจรรยาบรรณวิชาชีพ ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 22.27%
เพราะ สภาพแวดล้อม สังคมการทำงานที่แตกต่างกัน อาจส่งผลให้มุมมอง แนวคิด หรือแนวทางปฏิบัติงานไม่เหมือนกัน ฯลฯ
อันดับ 3 เชื่อมั่น 11.88%
เพราะ ผู้ที่จบวิชาชีพนี้จะต้องผ่านการเรียนรู้และฝึกฝนมาอย่างมาก ,เป็นบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และเป็นอาชีพที่มีเกียรติ ฯลฯ
อันดับ 4 ไม่เชื่อมั่น 1.49%
เพราะ ไม่ว่าจะประกอบอาชีพใดๆ ก็เกิดความผิดพลาดได้ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นมากกว่า ว่ามาจากความผิดพลาดหรือตั้งใจ ฯลฯ
อันดับ 1 เป็นวิชาชีพที่ได้รับการยกย่อง เชื่อถือ จากสังคม /ผู้ที่ทำงานด้านนี้จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมและมีใจรักในงานบริการ 34.18% อันดับ 2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องให้การสนับสนุนและพัฒนาวิชาชีพพยาบาลให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง ได้มาตรฐานสากล 27.23% อันดับ 3 การผลิตพยาบาลที่มีคุณภาพและมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการในการรักษาพยาบาลประชาชนในประเทศ 15.10% อันดับ 4 การสร้างชื่อเสียงหรือมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เช่น การช่วยเหลือและให้ความร่วมมือ ในระดับนานาชาติ เช่น สึนามิที่ญี่ปุ่น แผ่นดินไหวที่นิวซีแลนด์ เป็นต้น 14.12% อันดับ 5 เป็นผู้ให้ความรู้ คำแนะนำ สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพอนามัย และรณรงค์ ให้ประชาชนหันมาสนใจดูแลสุขภาพโดยเฉพาะช่วงที่มีโรคระบาด 9.37% 4. ความคาดหวังต่อ “สถาบันการศึกษา” ที่ผลิต “พยาบาลวิชาชีพ” อันดับ 1 เนื้อหา หลักสูตรที่สอนได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและสากล 26.08% อันดับ 2 บุคลากร ผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ และรู้จริงในวิชาชีพพยาบาล 22.97% อันดับ 3 ผู้บริหารสถาบันการศึกษาจะต้องให้การสนับสนุน ทั้งด้านงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนการศึกษาดูงาน หรือการให้ทุนวิจัยต่างๆ กับนักศึกษาพยาบาล 21.54% อันดับ 4 เกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามาศึกษาในวิชาชีพพยาบาล / พิจารณาจากคุณสมบัติต่างๆ เช่น อุปนิสัย ผลการเรียน ความมุ่งมั่นตั้งใจ ความรักในวิชาชีพ 17.66% อันดับ 5 สถาบันการศึกษามีหน้าที่ดูแล ประสานงานกับโรงพยาบาล สถานพยาบาลสถานประกอบการ และหน่วยงานอื่นๆ ที่จะมารองรับนักศึกษาพยาบาลที่จบออกมา 11.75% 5. “พยาบาล” แบบไหน? ที่ประชาชนต้องการ อันดับ 1 จิตใจดี สุภาพ ยิ้มแย้ม เป็นกันเองกับทุกคน /ให้บริการที่ประทับใจ 41.29% อันดับ 2 เป็นคนดี ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม 19.33% อันดับ 3 เป็นผู้ที่เสียสละและทุ่มเท โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลหรือในพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน 17.02% อันดับ 4 มีความรู้ความชำนาญในวิชาชีพ สามารถให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพอนามัย ได้อย่างถูกต้อง /เรียนรู้และพัฒนาสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ 14.41% อันดับ 5 ต้องเป็นผู้ที่มีใจรักในอาชีพ ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ 7.95% --สวนดุสิตโพลล์-- -พห-