“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนที่มีต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่กำลังดำเนินการอภิปรายอยู่ในขณะนี้ โดยเก็บข้อมูลจากผู้ติดตามการอภิปรายใน 2 วันที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 15-16 มีนาคม 2554 จากกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,013 คน สรุปผลได้ดังนี้
1. “จุดเด่น” ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ คือ
อันดับ 1 ประเด็นที่นำมาอภิปรายล้วนเป็นเรื่องที่สังคมให้ความสนใจ น่าติดตาม / ประชาชนได้รู้ข้อมูล ข้อเท็จจริงมากขึ้น 42.13%
อันดับ 2 การเตรียมพร้อมในเรื่องเอกสาร หลักฐาน และข้อมูลที่นำมาอภิปราย 32.38% อันดับ 3 บรรยากาศการอภิปรายในช่วง 2 วันแรกเป็นไปค่อนข้างเรียบร้อย แม้จะมีการกระทบกระทั่งอยู่บ้าง 25.49% 2. “ผลดี” ที่ได้จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ คือ อันดับ 1 ประชาชนรับทราบข้อเท็จจริงจากประเด็นที่นำมาอภิปรายเพิ่มมากขึ้น 35.20% อันดับ 2 เป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านได้อภิปรายและรัฐบาลได้ชี้แจง 26.49% อันดับ 3 เป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งต่อไป 19.64% อันดับ 4 คิดว่าการอภิปรายครั้งนี้ไม่เกิดผลใดๆกับประชาชน 18.67% 3. “ผลเสีย” จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ คือ อันดับ 1 การทะเลาะเบาะแว้งระหว่างฝ่ายค้านกับรัฐบาลทำให้เสียเวลาในการอภิปราย 32.57% อันดับ 2 ทำให้ประชาชนรู้สึกเบื่อหน่ายการเมือง /ไม่เชื่อถือนักการเมือง 27.66% อันดับ 3 การอภิปรายครั้งนี้เป็นการสร้างความแตกแยกเพิ่มมากขึ้น 24.50% อันดับ 4 มีการพาดพิงถึงบุคคลอื่น บุคคลภายนอกให้ได้รับความเสียหาย 15.27% 4. สิ่งที่ประชาชนอยากฝากบอกในการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ คือ อันดับ 1 อยากให้ทั้ง 2 ฝ่าย อภิปรายด้วยเหตุผล นำข้อมูล ข้อเท็จจริงมาพูดกัน/ให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ในตนเอง 30.32% อันดับ 2 ควรคำนึงถึงประโยชน์ที่ประเทศชาติและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ 26.64% อันดับ 3 การควบคุมอารมณ์ การใช้คำพูดที่สุภาพ /เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเยาวชน 24.71% อันดับ 4 การเคารพกฎระเบียบข้อบังคับของสภา /มีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ให้ข้อมูลหรือแสดงหลักฐานที่เป็นเท็จ 18.33% --สวนดุสิตโพลล์-- -พห-