สวนดุสิตโพลล์: ประชาชน “สมหวัง” หรือ “ผิดหวัง” กับ “การอภิปรายไม่ไว้วางใจ”

ข่าวผลสำรวจ Friday March 18, 2011 15:55 —สวนดุสิตโพล

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนที่มีต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ดำเนินการอภิปรายมาถึงวันสุดท้าย ก่อนที่จะมีการลงมติว่าไว้วางใจ หรือไม่ไว้วางใจรัฐบาล โดยเก็บข้อมูลจากผู้ติดตามการอภิปราย ระหว่าง วันที่ 17-18 มีนาคม 2554 จากกลุ่มตัวอย่าง ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,187 คน สรุปผลได้ดังนี้

1. “ความคุ้มค่า” กับการติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
อันดับ 1          ไม่คุ้มค่า          61.29%

เพราะ ข้อมูลที่ทั้ง 2 ฝ่ายนำมาอภิปรายเป็นเรื่องเก่า ไม่มีหลักฐานที่มีน้ำหนักหรือชัดเจนมากพอ ,มุ่งแต่เอาชนะคะคานกันเหมือนเดิม ฯลฯ

อันดับ 2          คุ้มค่า            38.71%

เพราะ ได้รับทราบข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆมากขึ้น ได้รับรู้ถึงความก้าวหน้าและผลงานของรัฐบาล ,ได้เห็นประสิทธิภาพและความสามารถในการอภิปรายของทั้ง 2 ฝ่าย ฯลฯ

2. “ความสมหวัง” “ผิดหวัง” จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
อันดับ 1          ผิดหวัง          78.91%

เพราะ บรรยากาศในการอภิปรายยังเหมือนเดิม มีแต่ทะเลาะกัน การใช้วาจา กริยาที่ไม่สุภาพ ,พาดพิงถึงบุคคลภายนอก ฯลฯ

อันดับ 2          สมหวัง          21.09%

เพราะ ได้รับรู้ประเด็นที่น่าสนใจ ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลมีการเตรียมข้อมูลมาอภิปรายอย่างเต็มที่ ฯลฯ

3. จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ เรื่องที่ประชาชน “สมหวัง” คือ
อันดับ 1          ได้รับรู้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และชัดเจนมากขึ้น                           38.90%
อันดับ 2          ได้เห็นบุคคลสำคัญของแต่ละฝ่ายขึ้นมาอภิปรายและชี้แจงในเรื่องต่างๆ          32.38%
อันดับ 3          ไม่เกิดเหตุการณ์ประท้วงจนทำให้เกิดสภาล่ม                            28.72%

4.  จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ เรื่องที่ประชาชน “ผิดหวัง” คือ
อันดับ 1          เนื้อหาที่นำมาอภิปรายเป็นเรื่องเก่า  ที่นำมาพูดซ้ำๆ /ไม่มีข้อมูลแปลกใหม่                   35.61%
อันดับ 2          ต่างฝ่ายต่างใช้อารมณ์ ต้องการที่จะเอาชนะกันมากกว่าคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน          34.20%
อันดับ 3          การใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ  การแสดงกริยามารยาทที่ไม่เหมาะสม                            30.19%

5.  สิ่งที่ประชาชน “ประทับใจ” จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ คือ
อันดับ 1          การชี้แจงประเด็นที่ถูกอภิปรายของนายกฯ อภิสิทธิ์                                     43.09%
อันดับ 2          ข้อมูลที่ฝ่ายค้านนำมาพูดโดยเฉพาะข้อมูลของจตุพร พรหมพันธุ์                             29.67%
อันดับ 3          การควบคุมการอภิปรายของประธานในที่ประชุม                                       27.24%


6.  สิ่งที่ประชาชน “เบื่อหน่าย” จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ คือ
อันดับ 1          การใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ ถ้อยคำหยาบคาย /การใช้อารมณ์    40.08%
อันดับ 2          ประเด็นที่นำมาอภิปรายส่วนใหญ่เป็นเรื่องเดิมๆ           33.89%
อันดับ 3          การถาม —ตอบ ไม่ตรงประเด็น ของทั้ง 2 ฝ่าย          26.03%


7.  จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อความนิยมของ “พรรคประชาธิปัตย์” อย่างไร?
อันดับ 1          นิยมพรรคประชาธิปัตย์เท่าเดิม          54.14%

เพราะ ชื่นชอบนายกฯอภิสิทธิ์และชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์อยู่แล้ว ,การอภิปรายเป็นเรื่องปกติที่จะต้องมี ฯลฯ

อันดับ 2          นิยมพรรคประชาธิปัตย์ลดลง            25.56%

เพราะ ได้เห็นการทำงานที่บกพร่องของรัฐบาล รัฐมนตรีบางคนตอบข้อคำถามได้ไม่ชัดเจน ไม่มีน้ำหนักมากพอ ฯลฯ

อันดับ 3          นิยมพรรคประชาธิปัตย์เพิ่มมากขึ้น        20.30%

เพราะ รัฐมนตรีที่ถูกพาดพิงส่วนใหญ่สามารถชี้แจงประเด็นต่างๆได้ ควบคุมอารมณ์ได้ดี ฯลฯ

8. จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อความนิยมของ “พรรคเพื่อไทย” อย่างไร?
อันดับ 1          นิยมพรรคเพื่อไทยลดลง            46.62%

เพราะ การอภิปรายยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ขาดการควบคุมอารมณ์ ผู้อภิปรายบางคนไม่น่าสนใจ ฯลฯ

อันดับ 2          นิยมพรรคเพื่อไทยเท่าเดิม          42.10%

เพราะ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย เป็นหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะต้องมีการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ฯลฯ

นดับ 3          นิยมพรรคเพื่อไทยเพิ่มมากขึ้น         11.28%

เพราะ การอภิปรายครั้งนี้มีการเตรียมข้อมูลมาดีกว่าที่ผ่านมา สามารถชี้ให้เห็นข้อบกพร่องในการทำงานของรัฐบาลได้ ,ฝ่ายค้านทำหน้าที่ได้ดีแล้ว ฯลฯ

--สวนดุสิตโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ