สวนดุสิตโพลล์: “การเมืองไทย” หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

ข่าวผลสำรวจ Monday March 21, 2011 07:38 —สวนดุสิตโพล

จากกรณีที่ฝ่ายค้านยื่นญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลระหว่างวันที่ 15-18 มีนาคม โดยประเด็นในการอภิปรายส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องของเศรษฐกิจ ราคาสินค้า การทุจริตโครงการต่างๆ และการสลายการชุมนุมของรัฐบาล เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นและมุมมองของประชาชนที่มีต่อการเมืองไทยหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,259 คน ระหว่างวันที่ 18-20 มีนาคม 2554 สรุปผลได้ดังนี้

1. “จุดเด่น” ของ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ฯ ที่ผ่านมา คือ
อันดับ 1          ประชาชนได้รับรู้ข้อมูล ข้อเท็จจริงในเรื่องต่างๆมากขึ้น เช่น ราคาสินค้า การทุจริต ฯลฯ              37.98%
อันดับ 2          เปิดโอกาสให้ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านได้อภิปรายเรื่องต่างๆ ที่เป็นประเด็นสำคัญ                     23.51%
อันดับ 3          เป็นการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล /กระตุ้นให้รัฐบาลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น          20.44%
อันดับ 4          เป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งต่อไป          18.07%


2.  “จุดบอด” ของ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ฯ ที่ผ่านมา คือ
อันดับ 1          การควบคุมอารมณ์ /กริยามารยาท การใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ /เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีแก่เยาวชน             39.69%
อันดับ 2          การถาม-ตอบ ไม่ตรงประเด็น /มุ่งเอาชนะกันมากเกินไป                                     28.02%
อันดับ 3          ข้อมูลบางเรื่องที่นำมาอภิปรายเป็นเรื่องเดิม ทำให้ไม่น่าสนใจ                                  18.62%
อันดับ 4          ความไม่เป็นประชาธิปไตยทางการเมือง ฝ่ายที่มีเสียงข้างมากย่อมได้เปรียบ                        13.67%


3. การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ฯ ที่ผ่านมาทำให้สภาพการเมืองไทยเป็นอย่างไร?
อันดับ 1          เหมือนเดิม          63.71%

เพราะ ถึงแม้จะมีการอภิปรายเกิดขึ้นแต่นักการเมืองก็ยังคงยึดติดกับความคิด แนวคิดแบบเดิมๆอยู่ ยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ,การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ ฯลฯ

อันดับ 2          แย่ลง              29.84%

เพราะ จากผลโหวตที่รัฐบาลได้รับอาจเป็นประเด็นทำให้เกิดความขัดแย้งตามมา , พฤติกรรมของนักการเมืองยังคงเหมือนเดิม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าทำเพื่อประเทศชาติ ฯลฯ

อันดับ 3          ดีขึ้น                6.45%

เพราะ การอภิปรายชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องและสิ่งที่ควรแก้ไข รัฐบาลสามารถนำข้อมูลมาปรับปรุงในการทำงานได้ ฯลฯ

4. จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ฯ มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งครั้งต่อไปหรือไม่?
อันดับ 1          มีผล               56.84%

เพราะ ได้รู้ข้อมูลเพิ่มมากขึ้น ได้เห็นพฤติกรรมและความสามารถของนักการเมืองแต่ละคน ฯลฯ

อันดับ 2          ไม่มีผล             43.16%

เพราะ มีนักการเมืองหรือพรรคที่ชื่นชอบอยู่แล้ว , รู้สึกเบื่อหน่ายกับการเมืองไทย ไม่อยากจะเลือกใครเลย ฯลฯ

5. ประชาชนมอง “การเมืองไทย” หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นอย่างไร?
อันดับ 1          ยังคงทะเลาะเบาะแว้ง แตกแยกกันเหมือนเดิม /ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหานี้ได้                   54.29%
อันดับ 2          พรรคการเมืองแต่ละพรรคต่างเตรียมการที่จะเลือกตั้งใหม่ / ลงพื้นที่หาเสียงกับประชาชน          21.56%
อันดับ 3          รัฐบาลก็คงจะประคับประคองและทำงานต่อไปให้ครบวาระ                                 14.60%
อันดับ 4          ยังคงพบเห็นกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงออกมาเรียกร้องในเรื่องต่างๆเหมือนเดิม                       9.55%

--สวนดุสิตโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ