จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวความรุนแรง 6.7 ริกเตอร์ ที่ประเทศพม่าเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมาถึงบริเวณภาคเหนือเรื่อยลงมาจนถึงกรุงเทพฯ โดยประชาชนที่รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนต่างพากันแตกตื่นและรีบออกมาจากอาคาร บ้านเรือนอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตในพม่ามีจำนวน 104 ศพ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ กรณี “ประเทศไทย” กับ เหตุการณ์แผ่นดินไหว จำนวนทั้งสิ้น 1,629 คน ระหว่างวันที่ 25-26 มีนาคม 2554 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 สนใจที่จะติดตามข่าวสารมากขึ้น 51.76%
เพราะ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใกล้กับประเทศไทย และทำให้ในบางพื้นที่ได้รับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือน , ในระยะหลังมานี้โลกประสบกับภัยพิบัติต่างๆบ่อยมากขึ้น ฯลฯ
อันดับ 2 ค่อนข้างสนใจ 38.94%
เพราะ ทั้งสื่อไทยและต่างประเทศมีการนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเดียวกันกับเหตุแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น จีนและนิวซีแลนด์ ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่ค่อยสนใจ 7.53%
เพราะ ภัยธรรมชาติสามารถเกิดขึ้นได้ ประชาชนไม่ควรตื่นตระหนกจนเกินไป ฯลฯ
อันดับ 4 ไม่สนใจ 1.77%
เพราะ ไม่รู้สึกกลัว ,อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ภัยธรรมชาติไม่สามารถควบคุมได้ ฯลฯ
อันดับ 1 ไม่ค่อยวิตกกังวลหรือเครียดมากนัก 42.86%
เพราะ ควรมีสติ อย่าเครียดหรือวิตกกังวลจนเกินไป ควรเตรียมตัวเองให้พร้อมจะดีกว่า ฯลฯ
อันดับ 2 ค่อนข้างวิตกกังวลและเครียด 31.75%
เพราะ ประเทศไทยยังไม่เคยเจอกับเหตุการณ์ลักษณะนี้มาก่อน ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่วิตกกังวลและไม่เครียด 16.93%
เพราะ ยังดำเนินชีวิตตามปกติ ติดตามข่าวสารต่างๆที่เกิดขึ้นได้ แต่ต้องไม่ตื่นตระหนกตามข่าว ฯลฯ
อันดับ 4 วิตกกังวลและเครียดมาก 8.46%
เพราะ จากข่าวที่นำเสนอจะเห็นได้ว่ามีหลายพื้นที่ในประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือน ,ประเทศไทยยังไม่มีการเตรียมพร้อมหรือรับมือกับภัยพิบัติร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ ,เป็นห่วงคนในครอบครัว กลัวตาย ฯลฯ
อันดับ 1 มีสติ ไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป 40.46% อันดับ 2 ติดตาม รับฟังข้อมูลข่าวสารเรื่องภัยพิบัติต่างๆอย่างใกล้ชิด 25.18% อันดับ 3 เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวให้รีบออกมาจากอาคาร บ้านเรือนโดยเร็ว 20.33% อันดับ 4 ควรจดจำวิธีปฏิบัติหรือแนวทางป้องกัน ดูแลตนเองเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวอย่างขึ้นใจ 14.03% 4. สิ่งที่ประชาชนอยากฝากบอก “รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” ในการกำกับดูแล ป้องกัน เรื่องภัยพิบัติต่างๆ โดยเฉพาะแผ่นดินไหว คือ อันดับ 1 รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญในเรื่องภัยพิบัติอย่างจริงจัง / มีการเรียกประชุมหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้องมารับฟังและวางแผนร่วมกัน 52.41% อันดับ 2 จะต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่างๆตามข้อเท็จจริง ไม่ปกปิดประชาชน /มีการแจ้งเตือนภัยที่รวดเร็วและแม่นยำ 24.50% อันดับ 3 การดูแล ตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้าง อาคาร บ้านเรือนต่างๆ โดยเฉพาะสถานที่สำคัญ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล โรงแรม และโรงงานต่างๆ เป็นต้น 12.27% อันดับ 4 อย่ามัวแต่ทะเลาะกันหรือสนใจเฉพาะเรื่องการเมืองมากเกินไป 10.82% 5. “บทเรียน” ที่ได้รับจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมาสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อตัวประชาชนเองหรือประเทศชาติได้อย่างไร? อันดับ 1 แม้แต่ญี่ปุ่นที่มีระบบการบริหารจัดการในเรื่องภัยพิบัติต่างๆอย่างดี แต่เมื่อเจอกับเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ ก็ยังย่ำแย่เหมือนกัน /รัฐบาลไทยจะต้องตระหนัก ใส่ใจ และมีการเตรียมพร้อมที่ดี ต้องไม่ประมาท 31.69% อันดับ 2 อยากให้ดูประเทศญี่ปุ่นเป็นแบบอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของความมีระเบียบวินัย การเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน การควบคุมอารมณ์ และไม่ตื่นตระหนกไปกับสิ่งที่เกิดขึ้น 20.78% อันดับ 3 ภัยธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของโลกเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างมาก ทุกประเทศ ทั่วโลกไม่ควรประมาทหรือนิ่งนอนใจ 18.56% อันดับ 4 มนุษย์ทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมามาก ถึงเวลาแล้วที่ธรรมชาติจะเอาคืนกับมนุษย์ / ทุกคนควรหันมาสนใจ ใส่ใจ รักษาสิ่งแวดล้อม 16.04% อันดับ 5 อยากให้ทุกคนรักกัน สมัครสมานสามัคคีกันไว้ เพราะชีวิตของเราบนโลกใบนี้ไม่มีอะไรแน่นอน 12.93% --สวนดุสิตโพลล์-- -พห-