จากที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศยืนยันเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2554 ว่าจะยุบสภาช่วงต้นเดือนพฤษภาคม และจะมีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศเดือนกรกฎาคม หรืออีก 3 เดือนข้างหน้า ส่งผลให้พรรคการเมืองและนักการเมืองต่างเร่งลงพื้นที่หาเสียงกับประชาชน ขณะที่ประชาชนอาจรู้สึกวิตกกังวล ต่อสถานการณ์ต่างๆของบ้านเมือง ทั้งก่อนและหลังยุบสภา “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศต่อกรณีดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 1,856 คน ระหว่างวันที่ 26-30 เมษายน 2554 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 เกิดขึ้นแน่นอน 56.91%
เพราะ นายกฯออกมาประกาศด้วยตนเอง,พรรคการเมืองเริ่มมีการเคลื่อนไหว มีการกำหนดตัวผู้สมัครในแต่ละพื้นที่ ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 24.24%
เพราะ สถานการณ์ทางการเมืองไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับการได้เปรียบ-เสียเปรียบทางการเมือง ฯลฯ
อันดับ 3 อาจจะไม่เกิดขึ้น 12.29%
เพราะ บ้านเมืองยังอยู่ในสภาวะไม่ปกติ โดยเฉพาะปัญหาชายแดนระหว่าง ไทย-เขมร ฯลฯ
อันดับ 4 ไม่เกิดขึ้นแน่นอน 6.56%
เพราะ อาจเป็นการสร้างสถานการณ์ทางการเมืองขึ้นมา ยังมีข่าวลือเรื่องปฏิวัติอยู่ ฯลฯ
อันดับ 1 ส่งผลให้พรรคการเมืองต่างๆ เริ่มมีการเคลื่อนไหว /ลงพื้นที่หาเสียงกับประชาชน 48.60% อันดับ 2 เป็นการเริ่มต้นใหม่ทางการเมือง โดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินว่าจะเลือกใครเข้ามาบริหารบ้านเมือง 30.16% อันดับ 3 เป็นการแสดงสปิริตทางการเมืองของรัฐบาล /ส่งผลให้สถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น 21.24% 3. ประชาชนรู้สึกตื่นเต้น กับ “การยุบสภา” หรือไม่? อันดับ 1 ไม่ตื่นเต้น 88.98%
เพราะ ไม่ว่าจะเป็นพรรคใดเข้ามาบริหารประเทศ การเมืองไทยก็เหมือนเดิม ยังคงเป็นนักการเมืองหน้าเก่า ,เบื่อการเมืองไทย ฯลฯ
อันดับ 2 ตื่นเต้น 11.02%
เพราะ อยากลุ้นว่าพรรคไหนจะเข้ามาเป็นรัฐบาล /ใครจะได้เป็นนายกฯ คนต่อไป ,อยากรู้ว่าสถานการณ์บ้านเมืองจะเป็นอย่างไรต่อไป ฯลฯ
อันดับ 1 เหมือนเดิม 65.88%
เพราะ การเมืองไทยเปลี่ยนแปลงยาก มีการชิงไหวชิงพริบ เล่นเกมการเมืองอยู่ตลอดเวลา ฯลฯ
อันดับ 2 ดีขึ้น 21.42%
เพราะ เป็นการเริ่มต้นใหม่ทางการเมือง เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ประชาชนได้ตัดสินใจและใช้สิทธิที่มีอยู่อีกครั้ง ฯลฯ
อันดับ 3 แย่ลง 12.70%
เพราะ ถึงจะเลือกตั้งใหม่ก็ยังคงได้นักการเมืองหน้าเดิม มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ขาดคุณธรรม จริยธรรม ฯลฯ
(1) ปัญหาไทย-กัมพูชา
อันดับ 1 เป็นห่วง 73.01%
เพราะ รัฐบาลทำงานไม่เต็มที่ การตัดสินใจไม่เด็ดขาด ,เป็นปัญหาระดับชาติกระทบความมั่นคงของประเทศ ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่เป็นห่วง 26.99%
เพราะ สถานการณ์อาจคลี่คลายลง รัฐบาลได้สานต่องานเดิมที่ทำไว้ ฯลฯ (2) ปัญหาสินค้าแพง
อันดับ 1 เป็นห่วง 78.57%
เพราะ การบริหารงานหยุดชะงัก รัฐบาลให้ความสำคัญกับการหาเสียงเพื่อเลือกตั้งครั้งใหม่ ,เป็นเรื่องปากท้องของประชาชน ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่เป็นห่วง 21.43%
เพราะ รัฐบาลอาจมีการวางแผนแก้ปัญหานี้ไว้แล้ว ขึ้นอยู่กับความกระตือรือร้นและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ฯลฯ
อันดับ 1 การบริหารงานได้ไม่เต็มที่ หยุดชะงัก โดยเฉพาะการแก้ปัญหาชายแดนไทย-เขมร , สินค้าแพง เป็นต้น 47.38% อันดับ 2 ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจที่เด็ดขาด 32.03% อันดับ 3 ปัญหาการสู้รบระหว่างไทย-เขมร อาจบานปลาย 20.59% 7. สิ่งที่ประชาชนเป็นห่วง “หลังยุบสภา” คือ อันดับ 1 การไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง /มีการร้องเรียนการทุจริตการเลือกตั้ง /ขอให้เลือกตั้งใหม่ 43.61% อันดับ 2 ความแตกแยกทางการเมือง /การแตกความสามัคคีของนักการเมือง 34.75% อันดับ 3 การประท้วง /การชุมนุมทางการเมือง 21.64% --สวนดุสิตโพลล์-- -พห-