หลังจากที่นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกมาระบุว่าจะมีการยุบสภาในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม และจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นแน่นอนใน
ช่วงปลายเดือนมิ.ย.หรือต้นเดือนกันยายน ส่งผลให้พรรคการเมืองต่างๆ มีการติดต่อหารือเพื่อจับขั้วทางการเมืองก่อนเข้าสู่สนามเลือกตั้ง และใช้เป็น
เงื่อนไขในการต่อรองเข้าร่วมรัฐบาล เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้ง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล กรณี “การจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง” จำนวนทั้งสิ้น
1,343 คน ระหว่างวันที่ 1-5 พฤษภาคม 2554 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 พรรคใดก็ได้ที่สามารถรวบรวมเสียงข้างมากได้ 42.75% อันดับ 2 พรรคที่ชนะการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อรวมกับ ส.ส.บัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) 37.02% อันดับ 3 พรรคที่ชนะการเลือกตั้ง ส.ส. ไม่รวม ส.ส.บัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) 20.23% 2. ประชาชนคิดอย่างไร? กับ “การแย่งกันจัดตั้งรัฐบาล” อันดับ 1 เป็นเรื่องปกติทางการเมือง ไม่ว่าพรรคการเมืองใดก็อยากเป็นฝ่ายรัฐบาล 33.41% อันดับ 2 การเมืองเป็นเรื่องผลประโยชน์ /การแสวงหาอำนาจ/การชิงไหวชิงพริบทางการเมือง 27.69% อันดับ 3 รู้สึกเบื่อ นักการเมืองแตกแยก ไม่สามัคคีกัน ประชาชนไม่กล้าฝากความหวังไว้กับนักการเมือง 23.17% อันดับ 4 บรรยากาศการจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้อาจดุเดือด เกิดการสลับขั้วทางการเมือง 15.73% 3. ประชาชนคิดว่า “พรรคที่ไม่มีคะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่ง” สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้หรือไม่ ? อันดับ 1 สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ 56.02%
เพราะ หากพรรคนั้นสามารถรวบรวมเสียงได้จำนวนมาก , ผลประโยชน์ลงตัว ,รัฐธรรมนูญไม่ได้ห้ามไว้ ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่ได้ 43.98%
เพราะ การเมืองไทยที่ผ่านมายังไม่เคยมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นมาก่อน โดยมารยาททางการเมืองพรรคที่มีคะแนนเสียง
ข้างมากย่อมเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ฯลฯ
อันดับ 1 สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้ 53.69%
เพราะ หากเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีฝีมือ และได้รับการยอมรับจาก ส.ส.หรือพรรคร่วมรัฐบาล ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่ได้ 46.31%
เพราะ คะแนนเสียงที่ได้รับไม่ได้มาจากความต้องการที่แท้จริงของประชาชน อาจเกิดปัญหาตามมาภายหลัง ฯลฯ
อันดับ 1 มีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกันในการบริหารและพัฒนาประเทศ 52.08% อันดับ 2 ซื่อสัตย์ สุจริต /โปร่งใส ยุติธรรม /มีคุณธรรม จริยธรรมทางการเมือง 29.84% อันดับ 3 ประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถหลายด้าน เป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือ 18.08% 6. คุณสมบัติ ของ “นายกรัฐมนตรี” ที่ประชาชนต้องการ คือ อันดับ 1 ซื่อสัตย์ สุจริต /บริหารงานเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน 45.10% อันดับ 2 เป็นผู้นำ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล กล้าคิดกล้าตัดสินใจ /พัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับต่างประเทศ 34.57% อันดับ 3 ทำตามนโยบายที่ประกาศหรือสัญญาไว้กับประชาชนในช่วงที่หาเสียง /รักษาคำพูด 20.33% 7. “ความวิตกกังวล” ของประชาชนที่มีต่อการจัดตั้งรัฐบาลหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง คือ อันดับ 1 การไม่ยอมรับกับผลที่ออกมา /การชุมนุม การประท้วง ก่อเหตุการณ์วุ่นวายทางการเมือง 46.04% อันดับ 2 การบริหารงานของรัฐบาลที่จะต้องรับมือ /แก้ปัญหากับวิกฤติหลายด้านของประเทศ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ 30.12% อันดับ 3 การปฏิบัติตัว/พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักการเมือง /การทะเลาะเบาะแว้ง แย่งชิงผลประโยชน์ 23.84% --สวนดุสิตโพลล์-- -พห-