สวนดุสิตโพลล์: “ความเครียด” ของ “คนไทย”หลังการเลือกตั้ง

ข่าวผลสำรวจ Monday July 18, 2011 09:28 —สวนดุสิตโพล

** ถึงแม้จะมีการเลือกตั้งแล้ว แต่ความเครียดของคนไทยก็ยังไม่ลดลง!! โดยเฉพาะเครียดเรื่อง “เศรษฐกิจ/สินค้าแพง” 58.92% **

ภายหลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลง เหลือเพียงการประกาศจัดตั้งรัฐบาลอย่างเป็นทางการเท่านั้น แต่ ณ วันนี้ ที่ กกต.ยังไม่มีการประกาศรับรอง ส.ส. ได้ถึง 95% ทำให้ไม่สามารถเปิดประชุมสภาได้และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของหลายฝ่ายที่ได้แสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ทางการเมืองที่อาจกลับมาอึมครึมหรือวุ่นวายอีกครั้ง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสภาวะจิตใจ ทำให้เกิดความเครียดได้ เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,292 คน ระหว่างวันที่ 14-17 กรกฎาคม 2554 สรุปผลได้ดังนี้

1. “ความเครียดทางการเมือง” ของ ประชาชนหลังการเลือกตั้ง เมื่อเปรียบเทียบก่อนการเลือกตั้งเป็นอย่างไร?
อันดับ 1          เครียดเท่าเดิม            47.37%

เพราะ ยังไม่เห็นการเมืองไทยเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมชัดเจน ,นักการเมืองบางคนยังมีพฤติกรรมเหมือนเดิม และการแย่งชิงอำนาจก็ยังมีให้เห็นอยู่ตลอด ฯลฯ

อันดับ 2          เครียดเพิ่มมากขึ้น          28.07%

เพราะ หลังจากการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลง ยังไม่เห็นการเมืองไทยเดินหน้าเท่าที่ควร , กกต. ยังไม่สามารถประกาศรับรอง ส.ส.ได้ถึง 95% โดยเฉพาะกรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ,กลัวบ้านเมืองวุ่นวายอีกครั้ง ฯลฯ

อันดับ 3          เครียดลดลง              24.56%

เพราะ บรรยากาศทางการเมืองดีขึ้น รอเพียงการจัดตั้งรัฐบาลและให้โอกาสรัฐบาลใหม่บริหารประเทศต่อไป ฯลฯ

2. “ความเครียดทางสังคม” โดยเฉพาะด้านชีวิตความเป็นอยู่ ยาเสพติด อาชญากรรมของ ประชาชนหลังการเลือกตั้ง
เมื่อเปรียบเทียบก่อนการเลือกตั้งเป็นอย่างไร?
อันดับ 1          เครียดเท่าเดิม            53.58%

เพราะ ชีวิตในสังคมปัจจุบันต้องมีความระแวดระวังอยู่ตลอดเวลา ภัยต่างๆในสังคมมีมาก จะรอให้นักการเมือง มาดูแลทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้ ประชาชนต้องดูแลตัวเอง ฯลฯ

อันดับ 2          เครียดเพิ่มมากขึ้น          39.28%

เพราะ เมื่อใดที่บ้านเมืองยังไม่สงบสุข สังคมย่อมเกิดความวุ่นวายเป็นธรรมดา จิตใจคนในสังคมตกต่ำขาดคุณธรรม จริยธรรม ฯลฯ

อันดับ 3          เครียดลดลง               7.14%

เพราะ คาดว่ารัฐบาลชุดใหม่จะทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน ชีวิตความเป็นอยู่ ปัญหายาเสพติดและความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจะลดลง ฯลฯ

3. “ความเครียดทางด้านเศรษฐกิจ” เช่น ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค รายได้ หนี้สิน ปัญหาปากท้องของ ประชาชนหลังการเลือกตั้ง
เมื่อเปรียบเทียบก่อนการเลือกตั้งเป็นอย่างไร?
อันดับ 1          เครียดเพิ่มมากขึ้น          58.92%

เพราะ บ้านเมืองในวันนี้ยังมองไม่เห็นใครที่จะเข้ามาแก้ปัญหาได้จริง ยังไม่รู้แน่ชัดว่าใครที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี ,ของกินของใช้ น้ำมัน ยังมีราคาแพงอยู่ ,ภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวมีมาก รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ต้องกู้หนี้ยืมสินทั้งในและนอกระบบ ฯลฯ

อันดับ 2          เครียดเท่าเดิม           35.72%

เพราะ การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจมีหลายปัจจัย โดยเฉพาะเรื่องของเสถียรภาพ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อการเมือง และปัจจัยภายนอก ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนอยู่ตลอดเวลา ฯลฯ

อันดับ 3          เครียดลดลง              5.36%

เพราะ เชื่อมั่นในประสิทธิภาพของรัฐบาลชุดใหม่ว่าจะเข้ามาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชนได้ ,การประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ,มีการวางแผน ปรับตัวให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เครียดไปก็เท่านั้น ฯลฯ

4. ความเครียดหลังการเลือกตั้งที่ยังมีอยู่ และอยากให้รัฐบาลเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วน
1          ปัญหาเศรษฐกิจ /ของแพง น้ำมันแพง /ค่าครองชีพ การจ้างงาน ความเป็นอยู่และปากท้องของประชาชน          32.51%
2          ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน /ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด ผู้มีอิทธิพล                               18.82%
3          การจัดตั้งรัฐบาลโดยเร็ว /การประกาศตัวนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี                                16.44%
4          ความมั่นคงในประเทศ /การรุกล้ำชายแดน /ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ                                13.69%
5          การสร้างความสามัคคี ปรองดองทั้งในกลุ่มของประชาชนและนักการเมือง                                 11.08%
          อื่นๆ  เช่น การศึกษา ,พฤติกรรมเยาวชน ,เกษตรกรรม ,การนำเข้า — ส่งออก ฯลฯ                        7.46%

--สวนดุสิตโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ