** ประชาชนสบายใจขึ้นหลังจากลดราคาน้ำมัน โดยประชาชนไม่ได้ใช้รถยนต์ และรถจักรยานยนต์เพิ่มมากขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่าจะมีผลกระทบต่อวินัยการใช้น้ำมันหรือไม่?
จากที่รัฐบาลมีการประกาศปรับลดราคาน้ำมัน ตามนโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภาไว้ คือการลดจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ซึ่งมีผลทันทีในวันที่ 27 ส.ค. ที่ผ่านมานี้ โดยชะลอการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันทั้งเบนซิน 91 เบนซิน 95 และดีเซล ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังมอบหมายให้รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการติดตามผลและศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด เพื่อให้นโยบายดังกล่าวสามารถนำไปใช้และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็น จากประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล กรณี การลดราคาน้ำมัน จำนวนทั้งสิ้น 1,278 คน ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม - 3 กันยายน 2554 สรุปผลดังนี้
อันดับ 1 ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน 64.23% อันดับ 2 เป็นแค่มาตรการระยะสั้นที่รัฐบาลทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน 21.95% อันดับ 3 ส่งผลกระทบต่อแผนการรณรงค์เรื่องพลังงานทดแทนและเกษตรกรที่เกี่ยวข้องในโครงการ / พฤติกรรมการใช้รถของประชาชนอาจเพิ่มขึ้น 7.32% อันดับ 4 นอกจากการลดราคาน้ำมันแล้ว อยากให้รัฐบาลลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านอื่นๆ ด้วย 6.50% 2. การลดราคาน้ำมัน ทำให้ประชาชนสบายใจขึ้นหรือไม่? อันดับ 1 สบายใจขึ้น 59.86%
เพราะ เป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน รัฐบาลเริ่มเดินหน้าทำตามนโยบายที่สัญญาไว้กับประชาชนให้เห็นเป็นรูปธรรม ฯลฯ
อันดับ 2 เฉยๆ 23.94%
เพราะ คงต้องรอดูผลที่ตามมาจากมาตรการดังกล่าวก่อนว่าจะออกมาเป็นอย่างไร ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่สบายใจ 16.20%
เพราะ เป็นแค่การช่วยเหลือในระยะสั้น อาจส่งผลกระทบหลายทาง เช่น พฤติกรรมการเดินทาง การใช้รถการนำเข้าน้ำมันเบนซินจากต่างประเทศ ฯลฯ
อันดับ 1 เท่าเดิม 83.70%
เพราะ การเดินทางในชีวิตประจำวันยังเหมือนเดิม ,ถึงแม้ราคาน้ำมันจะลดลงแต่ก็ยังมีภาระค่าใช้จ่ายอื่นๆอยู่ ฯลฯ
อันดับ 2 เพิ่มขึ้น 11.85%
เพราะ สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้สะดวกใจมากขึ้น ไม่ต้องกังวลกับค่าน้ำมัน ฯลฯ
อันดับ 3 ลดลง 4.45%
เพราะ อยากช่วยประเทศชาติประหยัดพลังงาน เพราะนโยบายดังกล่าวอาจทำให้คนหันมาใช้รถยนต์กันมากขึ้น โดยไม่คำนึงถึงเรื่องพลังงาน ฯลฯ
อันดับ 1 เท่าเดิม 74.81%
เพราะ เป็นเส้นทางปกติที่ใช้เดินทางในชีวิตประจำวัน มีการวางแผนค่าใช้จ่ายในแต่ละเรื่องอยู่แล้ว ฯลฯ
อันดับ 2 ลดลง 19.26%
เพราะ ภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ,เดินทางเท่าที่จำเป็น อาจใช้บริการของระบบขนส่งสาธารณะด้วย ฯลฯ
อันดับ 3 เพิ่มขึ้น 5.93%
เพราะ ถ้ามีเหตุจำเป็นที่จะต้องเดินทางหรือมีธุระก็ต้องใช้รถมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน ฯลฯ
อันดับ 1 ไม่แน่ใจ 45.71%
เพราะ ต้องรอดูผลการประเมิน หรือการติดตามผลสักระยะ ,มาตรการดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้นมาได้ไม่นาน ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่มีผล 42.14%
เพราะ ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและจิตสำนึกของแต่ละคน ,หากภาครัฐหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้การสนับสนุน รณรงค์ ประชาสัมพันธ์เรื่องการประหยัดพลังงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ฯลฯ
อันดับ 3 มีผลทำให้การมีวินัยลดลง 12.15%
เพราะ เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนอยากเดินทางไปไหนมาไหนมากขึ้น ,นิสัยของคนไทยส่วนใหญ่ชอบความสบาย ไม่ให้ความสำคัญในเรื่องประหยัดพลังงานมากนัก ฯลฯ
--สวนดุสิตโพลล์--