“คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบการใช้รัฐธรรมนูญ วุฒิสภา” ร่วมกับ
“สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฏสวนดุสิต และ “กรมประชาสัมพันธ์” ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนทุกสาขาอาชีพ ทุกจังหวัด ทั่ว
ประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 26,433 คน ในกรณี “ประชาชนคิดอย่างไร ? กับ รัฐธรรมนูญที่ใช้มาครบ 5 ปี” โดยเก็บข้อมูล
ระหว่าง วันที่ 1 กรกฎาคม - 11 สิงหาคม 2545 แล้วดำเนินการประมวลผลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป QPS (Questionnaire
Processing System) วิเคราะห์ในรูปแบบของ “การวิจัยเชิงสำรวจ” (Survey research) สรุปผลได้ดังนี้
1. ประชาชนอยากให้รัฐธรรมนูญเพิ่มสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนในเรื่อง ความเท่าเทียมกันในสังคม ได้แก่ ความเสมอภาค
ระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย/คนจนกับคนรวย (18.74%) สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่อการบริหารบ้านเมือง/สิทธิ
ทางการเมือง (15.29%) การคุ้มครองดูแลคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยให้กับประชาชน (10.47%)
2. ประชาชนคิดว่าควรระบุให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ 70.94% (ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ 72.28%
อิสลาม 44.86% คริสต์ 43.29%) ที่เห็นว่า ไม่ควร 27.18% (ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ 26.01% อิสลาม 50.00% คริสต์ 51.90%)
3. ประชาชนคิดว่าจำนวนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 50,000 คน ในกระบวนการเข้าชื่อเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอด ถอนผู้ที่มี
พฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ เหมาะสม 57.86% ไม่เหมาะสม 40.90%
4. ประชาชนคิดว่าจำนวนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 50,000 คน ในกระบวนการเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายนั้น
เหมาะสม 59.71% ไม่เหมาะสม 38.79%
5. ประชาชน คิดว่า ส.ส. (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) ควรกำหนดวุฒิการศึกษา 85.49% (โดยระบุว่าเป็นวุฒิปริญญาตรี
49.26%) ไม่ควรกำหนดวุฒิการศึกษา 13.90%
6. ประชาชนคิดว่า ส.ว. (สมาชิกวุฒิสภา) ควรกำหนดวุฒิการศึกษา 87.79% (โดยระบุว่าเป็นวุฒิปริญญาตรี 41.24%)
ไม่ควรกำหนดวุฒิการศึกษา 10.97%
7. ประชาชน เห็นด้วย กับการเลือกตั้งแบบระบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) 72.22% (เพราะ ช่วยแก้ปัญหาการซื้อเสียง ฯลฯ)
ไม่เห็นด้วย 26.25% (ส.ส.ที่มาจากระบบเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่ออาจไม่เข้าใจถึงสภาพปัญหา ฯลฯ)
8. การที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่สามารถย้ายพรรคการเมืองได้ 90 วันก่อนการเลือกตั้งใหม่ ประชาชนเห็นด้วย 86.40%
(เพราะ ป้องกันการซื้อ ส.ส. ฯลฯ) ไม่เห็นด้วย 12.14% (เพราะ ทำให้พรรคการเมืองมีอำนาจมากเกินไป ฯลฯ ) โดยผู้ที่
ไม่เห็นด้วยนั้น คิดว่า ไม่ควรกำหนดวัน ถ้าจะกำหนดวันก็ควรกำหนด 30
9. ประชาชน ไม่เห็นด้วยกับการห้ามผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ว. หาเสียง 56.56% (เพราะ ประชาชนควรได้รู้แนวคิดของ
ผู้สมัคร ส.ว.) เห็นด้วย 40.63% (เพราะ ส.ว. มิได้รับผิดชอบในการบริหาร จึงไม่ต้องแถลงนโยบายกับประชาชน )
10. ประชาชนคิดว่าประธานวุฒิสภาควรเป็นประธานรัฐสภา 65.24% ประธานสภาผู้แทนราษฎรควรเป็นประธานรัฐสภา 31.20%
11. ประชาชน พอรู้จัก/รู้เรื่องบทบาทหน้าที่ของ กกต. บ้าง 62.01% ไม่ค่อยรู้จัก / ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับ กกต 21.59%
รู้จัก / รู้เรื่อง กกต. เป็นอย่างดี 9.28% ไม่รู้จัก / ไม่รู้เรื่อง กกต. เลย 4.45%
12. ประชาชน คิดว่าอำนาจหน้าที่ของ กกต. ควรคงเดิม เรื่อง การจัดการเลือกตั้ง (80.02%) การสืบสวนสอบสวนเรื่องเมื่อ
มีผู้ยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง (75.68%) และ วินิจฉัยคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง (แจกใบเหลือง-ใบแดง) (68.69%)
13. โดยภาพรวมประชาชนคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ควรแก้ไขให้ดีกว่านี้ 60.73% ดีแล้วไม่ต้องแก้ไข 33.56%
14. ประชาชนอยากแก้ไขรัฐธรรมนูญในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับประชาชนมากที่สุด คือ การคุ้มครองคุณภาพชีวิตและความปลอดภัย
ให้กับประชาชน/สวัสดิการสังคมให้ประชาชน 15.40% ความเท่าเทียมกันในสังคม เช่น ความเสมอภาค/สิทธิเสรีภาพของสตรี
10.88% สิทธิทางด้านการศึกษา เช่น ขยายโอกาสทางด้านการศึกษา 9.82%
--สวนดุสิตโพล--
“สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฏสวนดุสิต และ “กรมประชาสัมพันธ์” ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนทุกสาขาอาชีพ ทุกจังหวัด ทั่ว
ประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 26,433 คน ในกรณี “ประชาชนคิดอย่างไร ? กับ รัฐธรรมนูญที่ใช้มาครบ 5 ปี” โดยเก็บข้อมูล
ระหว่าง วันที่ 1 กรกฎาคม - 11 สิงหาคม 2545 แล้วดำเนินการประมวลผลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป QPS (Questionnaire
Processing System) วิเคราะห์ในรูปแบบของ “การวิจัยเชิงสำรวจ” (Survey research) สรุปผลได้ดังนี้
1. ประชาชนอยากให้รัฐธรรมนูญเพิ่มสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนในเรื่อง ความเท่าเทียมกันในสังคม ได้แก่ ความเสมอภาค
ระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย/คนจนกับคนรวย (18.74%) สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่อการบริหารบ้านเมือง/สิทธิ
ทางการเมือง (15.29%) การคุ้มครองดูแลคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยให้กับประชาชน (10.47%)
2. ประชาชนคิดว่าควรระบุให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ 70.94% (ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ 72.28%
อิสลาม 44.86% คริสต์ 43.29%) ที่เห็นว่า ไม่ควร 27.18% (ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ 26.01% อิสลาม 50.00% คริสต์ 51.90%)
3. ประชาชนคิดว่าจำนวนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 50,000 คน ในกระบวนการเข้าชื่อเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอด ถอนผู้ที่มี
พฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ เหมาะสม 57.86% ไม่เหมาะสม 40.90%
4. ประชาชนคิดว่าจำนวนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 50,000 คน ในกระบวนการเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายนั้น
เหมาะสม 59.71% ไม่เหมาะสม 38.79%
5. ประชาชน คิดว่า ส.ส. (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) ควรกำหนดวุฒิการศึกษา 85.49% (โดยระบุว่าเป็นวุฒิปริญญาตรี
49.26%) ไม่ควรกำหนดวุฒิการศึกษา 13.90%
6. ประชาชนคิดว่า ส.ว. (สมาชิกวุฒิสภา) ควรกำหนดวุฒิการศึกษา 87.79% (โดยระบุว่าเป็นวุฒิปริญญาตรี 41.24%)
ไม่ควรกำหนดวุฒิการศึกษา 10.97%
7. ประชาชน เห็นด้วย กับการเลือกตั้งแบบระบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) 72.22% (เพราะ ช่วยแก้ปัญหาการซื้อเสียง ฯลฯ)
ไม่เห็นด้วย 26.25% (ส.ส.ที่มาจากระบบเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่ออาจไม่เข้าใจถึงสภาพปัญหา ฯลฯ)
8. การที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่สามารถย้ายพรรคการเมืองได้ 90 วันก่อนการเลือกตั้งใหม่ ประชาชนเห็นด้วย 86.40%
(เพราะ ป้องกันการซื้อ ส.ส. ฯลฯ) ไม่เห็นด้วย 12.14% (เพราะ ทำให้พรรคการเมืองมีอำนาจมากเกินไป ฯลฯ ) โดยผู้ที่
ไม่เห็นด้วยนั้น คิดว่า ไม่ควรกำหนดวัน ถ้าจะกำหนดวันก็ควรกำหนด 30
9. ประชาชน ไม่เห็นด้วยกับการห้ามผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ว. หาเสียง 56.56% (เพราะ ประชาชนควรได้รู้แนวคิดของ
ผู้สมัคร ส.ว.) เห็นด้วย 40.63% (เพราะ ส.ว. มิได้รับผิดชอบในการบริหาร จึงไม่ต้องแถลงนโยบายกับประชาชน )
10. ประชาชนคิดว่าประธานวุฒิสภาควรเป็นประธานรัฐสภา 65.24% ประธานสภาผู้แทนราษฎรควรเป็นประธานรัฐสภา 31.20%
11. ประชาชน พอรู้จัก/รู้เรื่องบทบาทหน้าที่ของ กกต. บ้าง 62.01% ไม่ค่อยรู้จัก / ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับ กกต 21.59%
รู้จัก / รู้เรื่อง กกต. เป็นอย่างดี 9.28% ไม่รู้จัก / ไม่รู้เรื่อง กกต. เลย 4.45%
12. ประชาชน คิดว่าอำนาจหน้าที่ของ กกต. ควรคงเดิม เรื่อง การจัดการเลือกตั้ง (80.02%) การสืบสวนสอบสวนเรื่องเมื่อ
มีผู้ยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง (75.68%) และ วินิจฉัยคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง (แจกใบเหลือง-ใบแดง) (68.69%)
13. โดยภาพรวมประชาชนคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ควรแก้ไขให้ดีกว่านี้ 60.73% ดีแล้วไม่ต้องแก้ไข 33.56%
14. ประชาชนอยากแก้ไขรัฐธรรมนูญในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับประชาชนมากที่สุด คือ การคุ้มครองคุณภาพชีวิตและความปลอดภัย
ให้กับประชาชน/สวัสดิการสังคมให้ประชาชน 15.40% ความเท่าเทียมกันในสังคม เช่น ความเสมอภาค/สิทธิเสรีภาพของสตรี
10.88% สิทธิทางด้านการศึกษา เช่น ขยายโอกาสทางด้านการศึกษา 9.82%
--สวนดุสิตโพล--