จากกรณีข่าว “ตำรวจค้ายาเสพติด” ที่ปรากฏตามสื่อมวลชนในขณะนี้ได้ก่อให้เกิดกระแส
การวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขณะที่รัฐบาล โดยเฉพาะ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรีได้ประกาศมาตราการปราบปรามยาเสพติดอย่างเอาจริงเอาจัง “สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฎสวนดุสิต
จึงได้สะท้อนความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าวจาก “ตำรวจ” ซึ่งเกี่ยวพันกับเรื่องดังกล่าวโดยตรง และจาก “ประชาชน”
โดยสุ่มสำรวจ “ตำรวจ” จำนวน 418 นาย และ “ประชาชน” จำนวน 738 คน (รวมทั้งสิ้น 1,156 คน)
ซึ่งเป็นผู้ที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล ระหว่างวันที่ 27 - 28 มกราคม 2546 ซึ่งสรุปผลได้ดังนี้
1. ความคิดเห็นต่อข่าว กรณี : “ตำรวจค้ายาเสพติด”
(1) ความคิดเห็นของ “ตำรวจ”
อันดับที่ 1 เสียใจไม่น่าเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้น/ผู้ถือกฎหมายทำเสียเอง 33.94%
อันดับที่ 2 เป็นเรื่องส่วนบุคคล ตำรวจก็เป็นคนธรรมดามีทั้งดีและไม่ดี 26.61%
อันดับที่ 3 ทำให้ภาพพจน์ของตำรวจเสียหายมากขึ้น 23.85%
* อื่นๆ เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วเมื่อทำผิดก็ต้องถูกลงโทษ,มีมานานแล้วเป็นเรื่องธรรมดา, 15.60%
ต้องดูในรายละเอียด หลักฐานเสียก่อนกล่าวโทษใคร ฯลฯ
(2) ความคิดเห็นของ “ประชาชน”
อันดับที่ 1 เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี / ใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ 50.76%
อันดับที่ 2 คิดว่ามีมานานแล้ว / เป็นขบวนการใหญ่ 23.86%
อันดับที่ 3 ผิดหวัง / สลดใจ / รู้สึกว่าสังคมไทยไม่สามารถพึ่งใครได้ 16.67%
* อื่นๆ ภาพพจน์ของตำรวจไทยเสื่อมเสีย / ตำรวจไม่ดี ไม่มีจรรยาบรรณควรถูกลงโทษ ฯลฯ 8.71%
2. แนวทางการแก้ไข กรณี : “ตำรวจค้ายาเสพติด”
(1) การแก้ไขในทัศนะของ “ตำรวจ”
อันดับที่ 1 เพิ่มมาตราการและบทลงโทษที่รุนแรง เด็ดขาดมากยิ่งขึ้น / มีบทลงโทษที่หนักกว่าประชาชน
อันดับที่ 2 ควรปลูกฝังจิตสำนึกของแต่ละบุคคล / มีสำนึกในการปฏิบัติหน้าที่ 22.03%
อันดับที่ 3 ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง / มีการประสานงานระหว่างองค์กรกับชุมชนอย่างทั่วถึง 20.34%
* อื่นๆ ผู้บังคับบัญชาควรตรวจสอบผู้ใต้บังคับบัญชาให้ละเอียดและรอบคอบ / เจ้าหน้าที่ควรตรวจตราปราบปรามอย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง ฯลฯ 17.80%
(2) การแก้ไขในทัศนะของ “ประชาชน”
อันดับที่ 1 ควรเพิ่มมาตราการบทลงโทษที่รุนแรงและเด็ดขาดมากยิ่งขึ้น 44.68%
อันดับที่ 2 ทุกฝ่ายต้องร่วมมืออย่างจริงจัง 20.00%
อันดับที่ 3 ผู้บังคับบัญชาควรตรวจสอบผู้ใต้บังคับบัญชาให้ดี 17.02%
* อื่นๆ มีการปราบปรามอย่างจริงจัง,ควรมีจิตสำนึกของแต่ละบุคคล,แก้ไขได้ยากเพราะตำรวจทำผิดเอง ฯลฯ 18.30%
3. ระยะเวลาที่คิดว่าจะแก้ไขได้ กรณี : “ตำรวจค้ายาเสพติด”
(1) ระยะเวลาที่คิดว่าจะแก้ไขได้ในทัศนะของ “ตำรวจ”
อันดับที่ 1 1 - 3 ปี 44.18%
อันดับที่ 2 กำหนดเวลาแน่นอนไม่ได้ / ต้องใช้เวลา / ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน 35.29%
อันดับที่ 3 4 - 6 เดือน 11.76%
* อื่นๆ 4 - 5 ปี , 6 - 10 ปี , 1 - 3 เดือน ฯลฯ 8.77%
(2) ระยะเวลาที่คิดว่าจะแก้ไขได้ในทัศนะของ “ประชาชน”
อันดับที่ 1 กำหนดเวลาแน่นอนไม่ได้ / ต้องใช้เวลา / ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน 34.78%
อันดับที่ 2 6 - 10 ปี 30.43%
อันดับที่ 3 1 - 3 ปี 22.46%
* อื่นๆ ควรทำให้เร็วที่สุด , 1 - 3 เดือน , มากกว่า 10 ปี ฯลฯ 12.33%
--สวนดุสิตโพล--
การวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขณะที่รัฐบาล โดยเฉพาะ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรีได้ประกาศมาตราการปราบปรามยาเสพติดอย่างเอาจริงเอาจัง “สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฎสวนดุสิต
จึงได้สะท้อนความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าวจาก “ตำรวจ” ซึ่งเกี่ยวพันกับเรื่องดังกล่าวโดยตรง และจาก “ประชาชน”
โดยสุ่มสำรวจ “ตำรวจ” จำนวน 418 นาย และ “ประชาชน” จำนวน 738 คน (รวมทั้งสิ้น 1,156 คน)
ซึ่งเป็นผู้ที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล ระหว่างวันที่ 27 - 28 มกราคม 2546 ซึ่งสรุปผลได้ดังนี้
1. ความคิดเห็นต่อข่าว กรณี : “ตำรวจค้ายาเสพติด”
(1) ความคิดเห็นของ “ตำรวจ”
อันดับที่ 1 เสียใจไม่น่าเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้น/ผู้ถือกฎหมายทำเสียเอง 33.94%
อันดับที่ 2 เป็นเรื่องส่วนบุคคล ตำรวจก็เป็นคนธรรมดามีทั้งดีและไม่ดี 26.61%
อันดับที่ 3 ทำให้ภาพพจน์ของตำรวจเสียหายมากขึ้น 23.85%
* อื่นๆ เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วเมื่อทำผิดก็ต้องถูกลงโทษ,มีมานานแล้วเป็นเรื่องธรรมดา, 15.60%
ต้องดูในรายละเอียด หลักฐานเสียก่อนกล่าวโทษใคร ฯลฯ
(2) ความคิดเห็นของ “ประชาชน”
อันดับที่ 1 เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี / ใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ 50.76%
อันดับที่ 2 คิดว่ามีมานานแล้ว / เป็นขบวนการใหญ่ 23.86%
อันดับที่ 3 ผิดหวัง / สลดใจ / รู้สึกว่าสังคมไทยไม่สามารถพึ่งใครได้ 16.67%
* อื่นๆ ภาพพจน์ของตำรวจไทยเสื่อมเสีย / ตำรวจไม่ดี ไม่มีจรรยาบรรณควรถูกลงโทษ ฯลฯ 8.71%
2. แนวทางการแก้ไข กรณี : “ตำรวจค้ายาเสพติด”
(1) การแก้ไขในทัศนะของ “ตำรวจ”
อันดับที่ 1 เพิ่มมาตราการและบทลงโทษที่รุนแรง เด็ดขาดมากยิ่งขึ้น / มีบทลงโทษที่หนักกว่าประชาชน
อันดับที่ 2 ควรปลูกฝังจิตสำนึกของแต่ละบุคคล / มีสำนึกในการปฏิบัติหน้าที่ 22.03%
อันดับที่ 3 ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง / มีการประสานงานระหว่างองค์กรกับชุมชนอย่างทั่วถึง 20.34%
* อื่นๆ ผู้บังคับบัญชาควรตรวจสอบผู้ใต้บังคับบัญชาให้ละเอียดและรอบคอบ / เจ้าหน้าที่ควรตรวจตราปราบปรามอย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง ฯลฯ 17.80%
(2) การแก้ไขในทัศนะของ “ประชาชน”
อันดับที่ 1 ควรเพิ่มมาตราการบทลงโทษที่รุนแรงและเด็ดขาดมากยิ่งขึ้น 44.68%
อันดับที่ 2 ทุกฝ่ายต้องร่วมมืออย่างจริงจัง 20.00%
อันดับที่ 3 ผู้บังคับบัญชาควรตรวจสอบผู้ใต้บังคับบัญชาให้ดี 17.02%
* อื่นๆ มีการปราบปรามอย่างจริงจัง,ควรมีจิตสำนึกของแต่ละบุคคล,แก้ไขได้ยากเพราะตำรวจทำผิดเอง ฯลฯ 18.30%
3. ระยะเวลาที่คิดว่าจะแก้ไขได้ กรณี : “ตำรวจค้ายาเสพติด”
(1) ระยะเวลาที่คิดว่าจะแก้ไขได้ในทัศนะของ “ตำรวจ”
อันดับที่ 1 1 - 3 ปี 44.18%
อันดับที่ 2 กำหนดเวลาแน่นอนไม่ได้ / ต้องใช้เวลา / ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน 35.29%
อันดับที่ 3 4 - 6 เดือน 11.76%
* อื่นๆ 4 - 5 ปี , 6 - 10 ปี , 1 - 3 เดือน ฯลฯ 8.77%
(2) ระยะเวลาที่คิดว่าจะแก้ไขได้ในทัศนะของ “ประชาชน”
อันดับที่ 1 กำหนดเวลาแน่นอนไม่ได้ / ต้องใช้เวลา / ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน 34.78%
อันดับที่ 2 6 - 10 ปี 30.43%
อันดับที่ 3 1 - 3 ปี 22.46%
* อื่นๆ ควรทำให้เร็วที่สุด , 1 - 3 เดือน , มากกว่า 10 ปี ฯลฯ 12.33%
--สวนดุสิตโพล--