เนื่องด้วย สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ในฐานะองค์กรเอกชนที่มุ่งทำกิจกรรมเพื่อสร้างวัฒนธรรมการอ่านสู่สังคม ไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของนโยบายภาครัฐ โดยเฉพาะด้านการศึกษาและการส่งเสริมให้ประชาชนคนไทยรักการอ่าน จากกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ถึงนโยบาย One Tablet Pc Per Child ของกระทรวงศึกษาธิการ
ในปัจจุบัน ในฐานะสมาคมวิชาชีพด้านการผลิตหนังสือเพื่อพัฒนาคนในชาติ จึงได้ร่วมกับ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สอบ ถามความคิดเห็นจากครูและผู้ปกครอง (เฉพาะครูที่สอนหรือผู้ปกครองที่มีบุตรหลานเรียนอยู่ในชั้น ป.1) และประชาชนทั่วไปทั้งในกรุงเทพฯ และต่าง จังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 809 คน (ครู 190 คน 23.49% ผู้ปกครอง 202 คน 24.97% และประชาชนทั่วไป 417 คน 51.54%) ระหว่างวันที่ 2-12 กันยายน 2554 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ ความคิดเห็น ภาพรวม ประชาชน ครู ผู้ปกครอง 1 ส่งผล 80.22% 78.90% 83.16% 80.20%
ด้านบวก 41.18% คือ Tablet เป็นเทคโนโลยีที่มีความทันสมัย ช่วยพัฒนา ฝึกฝนการอ่านให้กับเด็กได้
นอกเหนือจากการอ่านในหนังสือ / สามารถสืบค้น หาข้อมูลในการศึกษาได้ง่าย ,พกพาสะดวก
อยากอ่านหรืออยากค้นหาเมื่อไร ที่ไหนก็สามารถทำได้ ฯลฯ
ด้านลบ 39.04% คือ เด็กสนใจการเรียนน้อยลง หันไปสนใจเกมหรือเมนูอื่นๆใน Tablet แทน ,มีผลต่อพัฒนาการ
ของเด็ก ทักษะการพูด อ่าน เขียน , แสงของ Tablet ส่งผลต่อสายตาเด็ก ฯลฯ
2 ไม่ส่งผล 17.68% 18.23% 15.79% 18.32%
เพราะ เด็กสมัยนี้ปรับตัวได้เร็ว ไม่ว่าจะอ่านจากหนังสือหรือ Tablet ก็เป็นการฝึกให้เด็กได้อ่านเหมือนกัน เป็นการอ่านโดย
เปลี่ยนรูปแบบที่ไม่ใช่จากหนังสือ , ขึ้นอยู่กับตัวเด็กและการเลี้ยงดูมากกว่า เทคโนโลยีเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมความรู้
เท่านั้น ฯลฯ
3 ไม่แน่ใจ 0.74% 1.20% - 0.50% * ไม่ระบุ 1.36% 1.67% 1.05% 0.98% 2. ข้อดี — ข้อเสีย - ข้อควรระวัง กรณี Tablet ของกระทรวงศึกษาธิการ (2.1) ข้อดี ของการใช้ Tablet อันดับ ความคิดเห็น ภาพรวม ประชาชน ครู ผู้ปกครอง 1 สามารถศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ ที่อยากรู้ได้ตลอดเวลา 47.74% 46.38% 47.42% 50.74% 2 เป็นการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับใช้กับการศึกษา 32.44% 28.18% 33.80% 39.41% 3 สะดวกในการพกพา 15.91% 21.45% 13.15% 7.88% 4 เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการศึกษา เรียนรู้นอกจากหาอ่านจากหนังสือ 2.07% 2.24% 2.98% 0.49% 5 สามารถเปิดอ่านหรือหาข้อมูลย้อนหลังได้ 1.84% 1.75% 2.35% 1.48% (2.2) ข้อเสีย ของการใช้ Tablet อันดับ ความคิดเห็น ภาพรวม ประชาชน ครู ผู้ปกครอง 1 อาจเกิดการใช้งานผิดประเภท เนื่องจากใน Tablet มีเมนูต่างๆ
ให้เล่นมากมาย ทำให้เด็กสนใจที่จะอ่านหนังสือหรือมีสมาธิ
ในการอ่านหนังสือน้อยลง 42.93% 45.52% 40.00% 40.84% 2 เด็กจะให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากกว่าการศึกษาในชั้นเรียน/ เป็นการส่งเสริมให้เด็กยึดติดกับวัตถุนิยม 22.22% 20.73% 23.33% 24.09% 3 ราคาแพง /สิ้นเปลืองงบประมาณ 18.06% 20.20% 15.71% 16.23% 4 ผู้ปกครองไม่สามารถดูแลหรือให้คำแนะนำได้เพราะ Tablet สามารถเปิดใช้งานได้ตลอดเวลา 9.85% 7.67% 12.86% 10.99% 5 ทักษะในการเขียนของเด็กลดลง / เด็กไม่ค่อยได้ฝึกเขียน 6.94% 5.88% 8.10% 7.85% (2.3) ข้อควรระวัง ของการใช้ Tablet อันดับ ความคิดเห็น ภาพรวม ประชาชน ครู ผู้ปกครอง 1 การนำไปใช้ในทางที่ผิดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ 36.60% 38.08% 38.36% 31.88% 2 ควรมีครูหรือผู้ปกครองคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด เพราะมีทั้งประโยชน์และโทษ 32.87% 34.64% 28.30% 33.75% 3 การดูแลรักษา อาจมีการชำรุดหรือสูญหาย 16.04% 13.97% 17.62% 18.74% 4 เด็กจะยึดติดกับเทคโนโลยี อุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกมากเกินไป /ทำให้ไม่อยากเรียน 7.48% 6.19% 10.06% 7.50% 5 อาจส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก เช่น สายตาเสีย ระบบประสาทสัมผัส ทักษะการฟัง เป็นต้น 7.01% 7.12% 5.66% 8.13% 3. ปัจจัยใด ? ที่ส่งผลกระทบต่อการอ่านของเยาวชนและคนไทยในปัจจุบัน อันดับ ความคิดเห็น ภาพรวม ประชาชน ครู ผู้ปกครอง 1 ไม่ได้รับการปลูกฝังให้มีนิสัยรักการอ่านจากครอบครัว เช่น พ่อแม่ไม่มีเวลา ขาดการดูแล เอาใจใส่ ,เด็กไม่มีแบบอย่างที่ดีให้ดู ฯลฯ 22.38% 33.07% 34.03% 35.39% 2 การยึดติดกับค่านิยมแบบผิดๆ /ทำตามแฟชั่น /เลียนแบบพฤติกรรมจากสื่อต่างๆที่นำเสนอ 19.69% 16.54% 24.74% 21.03% 3 สภาพแวดล้อมทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวในปัจจุบันมีเรื่องของเทคโนโลยี เข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น เช่น เกม อินเตอร์เน็ต เป็นต้น 19.18% 22.65% 14.43% 16.92% 4 ตัวเด็กเองขาดความกระตือรือร้น ไม่สนใจที่จะเรียนรู้ ขาดสมาธิในการอ่าน / อ่านแล้วรู้สึกเบื่อ ไม่สนุก ง่วงนอน 15.22% 16.54% 10.82% 16.92% 5 คนไทยยังไม่เห็นถึงประโยชน์หรือความสำคัญ ของการอ่านเท่าที่ควร /ขาดแรงกระตุ้น / หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถรณรงค์หรือประชาสัมพันธ์เรื่องการอ่านมากพอ 12.02% 11.20% 15.98% 9.74% 4. การรับทราบว่า “การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ” (โดยคณะรัฐมนตรีมติให้ ปี 2552-2561 เป็นวาระการอ่านแห่งชาติ) อันดับ การรับทราบ ภาพรวม ประชาชน ครู ผู้ปกครอง 1 ทราบ 62.55% 53.00% 82.11% 63.86%
จากสื่อ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต วิทยุ วารสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
2 ไม่ทราบ 36.71% 46.52% 15.79% 36.14%
เพราะ ไม่ได้ติดตามข่าวสาร ไม่ได้สนใจ ,ไม่เคยได้ยินหรือรับรู้ข่าวสารในเรื่องนี้ ,การประชาสัมพันธ์ หรือสื่อต่างๆ
มุ่งเน้นเรื่องอื่นมากกว่าเรื่องการอ่าน ฯลฯ
* ไม่ระบุ 0.74% 0.48% 2.10% - 5. ประชาชนต้องการให้รัฐบาลผลักดัน “วาระการอ่านแห่งชาติ” ต่อไปหรือไม่? อันดับ ความคิดเห็น ภาพรวม ประชาชน ครู ผู้ปกครอง 1 ต้องการให้รัฐบาลผลักดันต่อไป 95.72% 94.83% 99.42% 94.18%
เพราะ ข่าวสารเกี่ยวกับการอ่านมีน้อย ขาดการประชาสัมพันธ์ที่จริงจังและต่อเนื่อง ,
อยากเห็นเด็กไทยสนใจและรักการอ่านเพิ่มมากขึ้น ,เป็นการปลูกฝังการอ่านที่ดีให้กับเด็กและประชาชน ฯลฯ
2 ไม่ต้องการให้รัฐบาลผลักดันต่อไป 4.28% 5.17% 0.58% 5.82%
เพราะ รัฐบาลมีเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการอยู่หลายเรื่องโดยเฉพาะเรื่องการเมืองที่ยังคงวุ่นวายอยู่ ,
ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่มีการจัดกิจกรรม โครงการต่างๆ เกี่ยวกับการอ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้น ฯลฯ
--สวนดุสิตโพลล์--