มหันตภัยน้ำท่วมร้ายแรงสร้างความลำบากให้กับประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงอย่างมาก ทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องมีการอพยพหนีน้ำไปอาศัยอยู่ที่อื่น บางส่วนก็ได้อพยพครอบครัวไปยังศูนย์พักพิงต่างๆที่ส่วนราชการจัดให้ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระหว่างผู้ที่เข้าพักอาศัยในศูนย์พักพิง และ ผู้ที่ไม่เข้าไปอยู่ในศูนย์พักพิง จำนวน 1,454 คน ระหว่างวันที่ 1-5 พฤศจิกายน 2554 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 บ้านถูกน้ำท่วม ไม่มีที่อยู่อาศัยอื่นให้พักพิง /เป็นบ้านชั้นเดียว 39.18% อันดับ 2 ถูกตัดน้ำ ตัดไฟ /เดินทางออกมาซื้ออาหารลำบาก/เพื่อนบ้านอพยพไปอยู่ที่อื่นกัน 30.42% อันดับ 3 มีบุตรหลาน ผู้สูงอายุต้องดูแล เป็นห่วงความปลอดภัยของคนในครอบครัว 16.66% อันดับ 4 ถูกชักชวน แนะนำให้ไปอยู่ที่ศูนย์พักพิง มีเจ้าหน้าที่ดูแลทั้งในเรื่องอาหาร การกิน ที่นอนและการตรวจสุขภาพ 13.74% 2. “เหตุผล” ของ ผู้ที่ไม่เข้าไปอยู่ในศูนย์พักพิง อันดับ 1 ยังสามารถพักอาศัยอยู่ชั้นบนของบ้านได้ /เป็นห่วงคนที่ยังอยู่ที่บ้าน ห่วงสัตว์เลี้ยง กลัวโจรขโมย 51.16% อันดับ 2 มีที่อื่นให้พักพิง เช่น บ้านญาติ เพื่อนหรือคนรู้จัก บ้านต่างจังหวัด /เช่าบ้าน หอพัก คอนโดมิเนียม โรงแรม เป็นต้น 28.57% อันดับ 3 คนเยอะ แออัด ไม่สะดวกเรื่องที่นอน ห้องน้ำ /ไม่ชินกับการอยู่ร่วมกับคนจำนวนมาก ไม่เป็นส่วนตัว 13.39% อันดับ 4 ที่ทำงานให้ความช่วยเหลือด้านที่พักอาศัยให้แก่พนักงานและครอบครัว 6.88% 3. “ความช่วยเหลือ” ที่อยากได้จากรัฐบาล ผู้ที่เข้าพักอาศัยในศูนย์พักพิง ผู้ที่ไม่เข้าไปอยู่ในศูนย์พักพิง เงินชดเชยสำหรับซ่อมแซมบ้านที่ถูกน้ำท่วม 60.05% เงินชดเชยสำหรับซ่อมแซมบ้านหรือรายได้ที่ขาดไป 57.68% เรื่องการตกงาน ว่างงาน /สถานประกอบการที่ต้องปิดตัวลง 21.24% การควบคุมราคาสินค้า /จัดหาสินค้าที่จำเป็นและขาดแคลนมาจำหน่ายหรือแจกจ่ายอย่างเพียงพอ 24.75% การผ่อนผันหรือเลื่อนชำระหนี้ต่างๆ ออกไป /ให้กู้ยืมเงิน 18.71% การยกเว้นค่าใช้จ่ายต่างๆที่จำเป็น เช่น ค่าน้ำ-ไฟ ค่าเดินทาง 17.57% 4. “การแก้ปัญหาน้ำท่วม” ในภาพรวมของรัฐบาล ผู้ที่เข้าพักอาศัยในศูนย์พักพิง ผู้ที่ไม่เข้าไปอยู่ในศูนย์พักพิง ไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ ขาดการเตรียมพร้อมที่ดี 46.90% การให้ความช่วยเหลือยังไม่ทั่วถึง เกิดการซ้ำซ้อนในบางพื้นที่ 41.53% การสื่อสาร แจ้งข้อมูลไม่ชัดเจน/ชาวบ้านหนีน้ำไม่ทัน 24.39% การแก้ปัญหาน้ำท่วมขาดประสิทธิภาพ ขาดผู้รู้จริง 20.56% น่าพอใจในระดับหนึ่ง มองเป็นภัยธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ 15.63% ข้อมูลสับสน การประชาสัมพันธ์ไม่ชัดเจน 19.85% อยากให้คนที่รู้เรื่องน้ำท่วมมาแก้ไขหรือให้ข้อมูลโดยตรง 13.08% การพิจารณาช่วยเหลือ ฟื้นฟูในระยะยาว 18.06% --สวนดุสิตโพลล์-- -พห-