สวนดุสิตโพลล์: ข่าว “นายกฯ” กับ “น้ำท่วม” ในทัศนะของประชาชน

ข่าวผลสำรวจ Monday November 14, 2011 06:40 —สวนดุสิตโพล

** ข่าวนายกฯ หลั่งน้ำตา!! ประชาชนคิดว่าไม่อ่อนแอแต่บั่นทอนความเชื่อมั่น**

จากมหาอุทกภัยน้ำท่วม ทำให้คนไทยและต่างประเทศต่างเฝ้าติดตามสถานการณ์ข่าวคราวความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ข่าว นายกฯ ร้องไห้ กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความอ่อนแอ ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ การเป็นผู้นำประเทศ "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,357 คน ระหว่างวันที่ 8-12 พฤศจิกายน 2554 สรุปผลได้ดังนี้

1. จากกรณี “น้ำท่วม” มีผลต่อการติดตามข่าวสารของประชาชนอย่างไร?
อันดับ 1          ติดตามข่าวสารมากขึ้น           85.29%
เพราะ   อยากรู้ข่าวคราวความเคลื่อนไหวต่าง ๆ เกี่ยวกับน้ำท่วมทั้งในเขตที่อาศัยอยู่และพื้นที่อื่นๆ ฯลฯ
อันดับ 2          ติดตามข่าวสารเท่าเดิม          10.43%
เพราะ   ติดตามข้อมูลข่าวสารเป็นประจำ จะได้รู้ทันสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นประจำวัน ฯลฯ
อันดับ 3          ติดตามข่าวสารน้อยลง            4.28%
เพราะ   ข่าวน้ำท่วมทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล ,ไม่สะดวกในการติดตามข่าวเนื่องจากที่บ้านถูกตัดไฟ ,อาศัยอยู่กับคนอื่น ฯลฯ

2.  “สื่อ /แหล่งข่าว” ที่ประชาชนเชื่อมั่น หรือ เชื่อถือมากที่สุดในการติดตามข่าว “น้ำท่วม”
อันดับ 1          โทรทัศน์                                                                       78.06%
อันดับ 2          อินเตอร์เน็ต /เว็บไซต์                                                             9.44%
อันดับ 3          หนังสือพิมพ์                                                                      7.40%
*อื่นๆ           ได้แก่ วิทยุ ,สื่อบุคคล เช่น เพื่อน /คนรอบข้าง ,ผู้นำชุมชน ,เจ้าหน้าที่ฯ ,ข้อความทางมือถือ ฯลฯ      5.10%

3. จากกรณี “น้ำท่วม” ณ วันนี้ ประชาชนมีความเชื่อมั่น ต่อ รัฐบาล มากน้อยเพียงใด?
อันดับ 1          เชื่อมั่นลดลง              64.03%
เพราะ   การบริหารจัดการ การประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมยังขาดประสิทธิภาพ ฯลฯ
อันดับ 2          เชื่อมั่นเหมือนเดิม          30.78%
เพราะ   รัฐบาลได้ทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถแล้ว น้ำท่วมครั้งนี้เป็นมหาอุทกภัยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ฯลฯ
อันดับ 3          เชื่อมั่นมากขึ้น              5.19%
เพราะ   สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่เริ่มคลี่คลาย พอที่จะควบคุมได้บ้าง ,การจัดตั้งคณะทำงานที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ฯลฯ

4. จากข่าวที่นำเสนอภาพ นายกฯ “ร้องไห้” ถือว่าเป็นการแสดงถึงความอ่อนแอ หรือไม่?
อันดับ 1          ไม่อ่อนแอ          59.38%
เพราะ   เมื่อเจอสถานการณ์เช่นนี้ไม่ว่าจะเป็นหญิง หรือ ชาย ก็อาจจะแสดงอารมณ์อ่อนไหวออกมาได้เหมือนกัน ,เป็นน้ำตาจากความเห็นอกเห็นใจมากกว่าเกิดจากความอ่อนแอ ฯลฯ
อันดับ 2          อ่อนแอ            40.62%
เพราะ   เป็นธรรมชาติของผู้หญิงที่มีความรู้สึกอ่อนไหว เปราะบาง โดยเฉพาะเมื่อเผชิญกับสถานการณ์หรือภาวะที่กดดัน กระทบกระเทือนต่อจิตใจ ฯลฯ

5. การร้องไห้ของนายกฯ ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ หรือความเป็นผู้นำของประเทศหรือไม่?
อันดับ 1          ส่งผลกระทบ        64.51%
เพราะ   เป็นการบั่นทอนขวัญและกำลังใจของคนไทยโดยเฉพาะผู้ประสบภัย , ทั้งคนไทยและต่างประเทศขาดความเชื่อมั่น , ในฐานะผู้นำประเทศควรควบคุมอารมณ์ให้ดีกว่านี้ ฯลฯ
อันดับ 2          ไม่ส่งผลกระทบ      35.49%
เพราะ   เป็นแค่การแสดงออกทางอารมณ์ คิดว่าคนส่วนใหญ่คงจะเข้าใจว่าสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้เป็นอย่างไร ฯลฯ

6. จากกรณี “น้ำท่วม” ณ วันนี้ ประชาชนมีความเชื่อมั่น ต่อ นายกฯ ยิ่งลักษณ์ มากน้อยเพียงใด?
อันดับ 1          เชื่อมั่นลดลง              53.12%
เพราะ   สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ยังอยู่ในภาวะวิกฤต ไม่สามารถบริหารจัดการหรือแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ ฯลฯ
อันดับ 2          เชื่อมั่นเหมือนเดิม          39.77%
เพราะ   เป็นปัญหาใหญ่ที่ยากต่อการแก้ไขและต้องใช้เวลาพอสมควรที่จะบรรเทาปัญหาให้ดีขึ้นได้ ,ไม่ว่าใครจะมาเป็นนายกฯ ในตอนนี้ก็ต้องประสบปัญหาแบบนี้เช่นเดียวกัน ฯลฯ
อันดับ 3          เชื่อมั่นมากขึ้น              7.11%
เพราะ   ดูจากความตั้งใจและความกระตือรือร้นที่จะแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ,การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและเข้าถึงผู้ประสบภัยอย่างใกล้ชิด ฯลฯ

7. ระหว่าง  “รัฐบาล” กับ “นักวิชาการ” และ “สื่อมวลชน” ท่านเชื่อข้อมูล “น้ำท่วม” ของใคร? มากกว่ากัน
อันดับ 1          เชื่อ “สื่อมวลชน” มากกว่า             33.42%
เพราะ  มีหน้าที่นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ข้อเท็จจริงต่างๆให้กับประชาชนได้รับรู้  การรายงานข่าวแบบเกาะติดสถานการณ์สะท้อนเนื้อหาในแง่มุมที่หลากหลายและลงไปในพื้นที่จริง ฯลฯ
อันดับ 2          เชื่อ “พอๆกัน”                      23.45%
เพราะ  แต่ละฝ่ายน่าจะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในแง่มุมที่แตกต่างกัน ,สถานการณ์เช่นนี้เชื่อว่าทุกฝ่ายน่าจะหาหนทางในการแก้ไขปัญหามากกว่าจะมาขัดแย้งกันเอง ฯลฯ
อันดับ 3          เชื่อ “นักวิชาการ” มากกว่า            22.64%
เพราะ   เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ,ข้อมูลต่างๆที่นำเสนอสามารถอ้างอิงตามหลักวิชาการได้ ฯลฯ
อันดับ 4          ไม่เชื่อใครเลย                      12.67%
เพราะ   ข้อมูลสับสน ไม่ตรงกัน ,ไม่เห็นมีใครจะแก้ปัญหาได้จริง ,เชื่อจากประสบการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองมากกว่า ฯลฯ
อันดับ 5          เชื่อ “รัฐบาล” มากกว่า                7.82%
เพราะ   ข้อมูลต่างๆที่รัฐบาลได้รับล้วนมาจากหน่วยงานสำคัญและเป็นหน่วยงานหลักที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับเรื่องน้ำท่วม ฯลฯ

--สวนดุสิตโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ