เหตุการณ์ทางภาคใต้ ณ ตอนนี้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงพระภิกษุสงฆ์ผู้ที่ทำนุบำรุงศาสนาต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง
กับเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย "สวนดุสิตโพล" สถาบันราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่พักอาศัยในภาคใต้
จำนวนทั้งสิ้น 1,548 คน โดยสำรวจระหว่างวันที่ 25 — 26 มกราคม 2547 สรุปผลได้ดังนี้
1. “คนใต้” คิดอย่างไร? กรณี การฆ่าและทำร้ายพระสงฆ์ในภาคใต้
อันดับที่ 1 เป็นการสร้างสถานการณ์ให้ดูรุนแรงขึ้น/ต้องการให้เกิดความแตกแยก 28.51%
อันดับที่ 2 รู้สึกหวาดกลัว/ไม่มั่นใจต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 24.30%
อันดับที่ 3 เศร้า เสียใจ/ไม่น่ามีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น โดยเฉพาะกับพระสงฆ์ 20.56%
อันดับที่ 4 เป็นการกระทำที่โหดเหี้ยม ป่าเถื่อน/ดูหมิ่นศาสนา 16.82%
อันดับที่ 5 หน่วยงานภาครัฐควรเข้ามาดูแลและเร่งดำเนินการจับกุมโดยเร็ว 9.81%
2. สาเหตุที่ “คนใต้” คิดว่าทำให้เกิดเหตุการณ์นี้คือ
อันดับที่ 1 กลุ่มแบ่งแยกทางศาสนา/เกิดความขัดแย้งทางศาสนา 24.27%
อันดับที่ 2 กลุ่มผู้ก่อการร้ายต้องการแสดงอำนาจและสร้างความวุ่นวายให้กับเจ้าหน้าที่ 23.53%
อันดับที่ 3 อาจมาจากความไม่เข้าใจกัน/ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์และเรื่องส่วนตัว 22.06%
อันดับที่ 4 เป็นการสร้างสถานการณ์ของผู้ที่ไม่หวังดีต่อประเทศชาติ 18.38%
อันดับที่ 5 ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุของปัญหาได้ 11.76%
3. แนวทางป้องกันหรือแก้ไขเหตุการณ์นี้คือ
อันดับที่ 1 เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลอย่างเข้มงวดมากขึ้น 31.25%
อันดับที่ 2 ชาวบ้านในพื้นที่ควรให้ความร่วมมือ/แจ้งเบาะแสให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ 22.73%
อันดับที่ 3 เร่งจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินการหรือลงโทษขั้นเด็ดขาดให้เร็วที่สุด 20.45%
อันดับที่ 4 แก้ไขได้ยาก/เป็นเหตุการณ์รุนแรงที่สะสมมานานและมากขึ้นทุกวัน 16.48%
อันดับที่ 5 ประชาชนเองควรมีความระมัดระวังตัวเพิ่มขึ้นเพื่อลดภาระให้กับเจ้าหน้าที่ 9.09%
4. ผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ต่อ “การเมือง” คือ
อันดับที่ 1 ความเชื่อมั่นในด้านการปกครองและบริหารประเทศลดลง 44.95%
อันดับที่ 2 สะท้อนให้เห็นถึงการทำงานของรัฐบาลที่ล้มเหลว 20.22%
อันดับที่ 3 มีผลต่อการหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่อไป 17.98%
อันดับที่ 4 ทำให้นักการเมืองบางคนอาจไม่กล้าลงมาสมัครเลือกตั้งในเขตภาคใต้ 11.23%
อันดับที่ 5 ผู้ที่เกี่ยวข้องทางการเมืองในภาคใต้เกิดความไม่มั่นใจต่อความปลอดภัยของตนเอง 5.62%
5. ผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ต่อ “เศรษฐกิจ” คือ
อันดับที่ 1 การท่องเที่ยวซบเซา/นักท่องเที่ยวไม่กล้าเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในภาคใต้ 41.21%
อันดับที่ 2 นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น/ไม่กล้าเข้ามาลงทุน 19.78%
อันดับที่ 3 พ่อค้า-แม่ค้าขายของลำบากมากขึ้น 18.68%
อันดับที่ 4 เศรษฐกิจหยุดชะงัก/ขาดการหมุนเวียนด้านการเงิน 11.54%
อันดับที่ 5 ประชาชนไม่กล้าออกจากบ้าน/ทำให้มีผลกระทบต่อการทำมาหากิน 8.79%
6. ผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ต่อ “สังคม” คือ
อันดับที่ 1 ประชาชนเกิดความหวาดกลัว/ไม่มั่นใจในความปลอดภัยของตัวเอง 56.61%
อันดับที่ 2 อาจเกิดความขัดแย้งทางด้านศาสนา 18.52%
อันดับที่ 3 ภาพพจน์ของคนใต้และประเทศชาติดูแย่ลงในสายตาของชาวต่างชาติ 13.76%
อันดับที่ 4 ทำให้เกิดความเสียหาย เช่น โรงเรียน/ครูนักเรียนต้องได้รับความเดือดร้อน 7.94%
อันดับที่ 5 ประชาชนมีความเห็นแก่ตัวมากขึ้น/ต่างคนต่างเอาตัวรอด/ขาดความสามัคคี 3.17%
--สวนดุสิตโพล--
กับเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย "สวนดุสิตโพล" สถาบันราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่พักอาศัยในภาคใต้
จำนวนทั้งสิ้น 1,548 คน โดยสำรวจระหว่างวันที่ 25 — 26 มกราคม 2547 สรุปผลได้ดังนี้
1. “คนใต้” คิดอย่างไร? กรณี การฆ่าและทำร้ายพระสงฆ์ในภาคใต้
อันดับที่ 1 เป็นการสร้างสถานการณ์ให้ดูรุนแรงขึ้น/ต้องการให้เกิดความแตกแยก 28.51%
อันดับที่ 2 รู้สึกหวาดกลัว/ไม่มั่นใจต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 24.30%
อันดับที่ 3 เศร้า เสียใจ/ไม่น่ามีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น โดยเฉพาะกับพระสงฆ์ 20.56%
อันดับที่ 4 เป็นการกระทำที่โหดเหี้ยม ป่าเถื่อน/ดูหมิ่นศาสนา 16.82%
อันดับที่ 5 หน่วยงานภาครัฐควรเข้ามาดูแลและเร่งดำเนินการจับกุมโดยเร็ว 9.81%
2. สาเหตุที่ “คนใต้” คิดว่าทำให้เกิดเหตุการณ์นี้คือ
อันดับที่ 1 กลุ่มแบ่งแยกทางศาสนา/เกิดความขัดแย้งทางศาสนา 24.27%
อันดับที่ 2 กลุ่มผู้ก่อการร้ายต้องการแสดงอำนาจและสร้างความวุ่นวายให้กับเจ้าหน้าที่ 23.53%
อันดับที่ 3 อาจมาจากความไม่เข้าใจกัน/ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์และเรื่องส่วนตัว 22.06%
อันดับที่ 4 เป็นการสร้างสถานการณ์ของผู้ที่ไม่หวังดีต่อประเทศชาติ 18.38%
อันดับที่ 5 ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุของปัญหาได้ 11.76%
3. แนวทางป้องกันหรือแก้ไขเหตุการณ์นี้คือ
อันดับที่ 1 เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลอย่างเข้มงวดมากขึ้น 31.25%
อันดับที่ 2 ชาวบ้านในพื้นที่ควรให้ความร่วมมือ/แจ้งเบาะแสให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ 22.73%
อันดับที่ 3 เร่งจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินการหรือลงโทษขั้นเด็ดขาดให้เร็วที่สุด 20.45%
อันดับที่ 4 แก้ไขได้ยาก/เป็นเหตุการณ์รุนแรงที่สะสมมานานและมากขึ้นทุกวัน 16.48%
อันดับที่ 5 ประชาชนเองควรมีความระมัดระวังตัวเพิ่มขึ้นเพื่อลดภาระให้กับเจ้าหน้าที่ 9.09%
4. ผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ต่อ “การเมือง” คือ
อันดับที่ 1 ความเชื่อมั่นในด้านการปกครองและบริหารประเทศลดลง 44.95%
อันดับที่ 2 สะท้อนให้เห็นถึงการทำงานของรัฐบาลที่ล้มเหลว 20.22%
อันดับที่ 3 มีผลต่อการหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่อไป 17.98%
อันดับที่ 4 ทำให้นักการเมืองบางคนอาจไม่กล้าลงมาสมัครเลือกตั้งในเขตภาคใต้ 11.23%
อันดับที่ 5 ผู้ที่เกี่ยวข้องทางการเมืองในภาคใต้เกิดความไม่มั่นใจต่อความปลอดภัยของตนเอง 5.62%
5. ผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ต่อ “เศรษฐกิจ” คือ
อันดับที่ 1 การท่องเที่ยวซบเซา/นักท่องเที่ยวไม่กล้าเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในภาคใต้ 41.21%
อันดับที่ 2 นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น/ไม่กล้าเข้ามาลงทุน 19.78%
อันดับที่ 3 พ่อค้า-แม่ค้าขายของลำบากมากขึ้น 18.68%
อันดับที่ 4 เศรษฐกิจหยุดชะงัก/ขาดการหมุนเวียนด้านการเงิน 11.54%
อันดับที่ 5 ประชาชนไม่กล้าออกจากบ้าน/ทำให้มีผลกระทบต่อการทำมาหากิน 8.79%
6. ผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ต่อ “สังคม” คือ
อันดับที่ 1 ประชาชนเกิดความหวาดกลัว/ไม่มั่นใจในความปลอดภัยของตัวเอง 56.61%
อันดับที่ 2 อาจเกิดความขัดแย้งทางด้านศาสนา 18.52%
อันดับที่ 3 ภาพพจน์ของคนใต้และประเทศชาติดูแย่ลงในสายตาของชาวต่างชาติ 13.76%
อันดับที่ 4 ทำให้เกิดความเสียหาย เช่น โรงเรียน/ครูนักเรียนต้องได้รับความเดือดร้อน 7.94%
อันดับที่ 5 ประชาชนมีความเห็นแก่ตัวมากขึ้น/ต่างคนต่างเอาตัวรอด/ขาดความสามัคคี 3.17%
--สวนดุสิตโพล--